บทความ | สาระน่ารู้อื่นๆ

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว
27/10/2023  สาระน่ารู้อื่นๆ

รู้หรือไม่? ฤดูหนาวทำให้คนเราป่วยง่าย ป่วยนาน และป่วยได้หลายโรค


เหตุผลที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่า เชื้อโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา เจริญเติบโตได้ดี และแพร่กระจายได้ง่ายในอากาศเย็น ทำให้เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวทีไร หลายคนก็มักจะเกิดอาการเจ็บป่วย เป็นไข้ ไม่สบายตัว ได้มากกว่าฤดูร้อน 

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากใช้ชีวิตให้สนุก และมีความสุขกับฤดูหนาวแบบเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องอาการป่วย SMILE INSURE แนะนำให้รู้จักกับ 6 โรคยอดฮิตในฤดูหนาว พร้อมวิธีรับมือ ในบทความนี้

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


1. ไข้หวัดธรรมดา (Common cold)

ไข้หวัดธรรมดา เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคยอดฮิตที่พบได้ในทุกฤดูกาล แต่จะพบได้บ่อยขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว 

การติดต่อ

เชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจาย และติดต่อกันได้ทางสารคัดหลั่ง ที่ออกมาจากระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ น้ำมูก เสมหะ และน้ำลาย ผ่านการไอ จามใส่กัน รวมถึงการสัมผัสเชื้อนั้นโดยตรง เช่น ใช้แก้วน้ำร่วมกับผู้ป่วย เป็นต้น 

โรคไข้หวัดธรรมดาจะแสดงอาการป่วยออกมา หลังจากที่ผู้ป่วยรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายไปแล้วประมาณ 1-3 วัน และมักจะหายได้เองภายในวัน 5-7 วัน แต่หากมีอาการป่วยนานกว่านี้ ผู้ป่วยควรรีบพบแทพย์ เพื่อหาทางรักษาต่อไป เพราะอาจทำให้เป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้

อาการ 

  • ไอ จาม

  • มีเสมหะ

  • มีน้ำมูก คัดจมูก

  • ตัวร้อน อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส 

  • ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย

  • อ่อนเพลีย

  • ไม่อยากทานอาหาร

  • ปวดศีรษะ

  • ถ่ายเป็นมูก 

ในผู้ป่วย 1 ราย อาจพบแค่บางอาการ หรือเกิดทุกอาการร่วมกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อไวรัสที่รับเข้าสู่ร่างกาย การดูแลตนเอง และการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น เชื้อแบคทีเรีย ที่ส่งกระทบต่อระบบขับถ่าย 

อ่านเพิ่มเติม: ระวัง! กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคยอดฮิตของสาวออฟฟิศ

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

โรคไข้หวัดธรรมดา ไม่ใช่โรคร้ายแรง สามารถรักษาให้หายเองได้ แต่หากเป็นในกลุ่มของเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ร่างกายไม่แข็งแรง อาจทำให้มีอาการป่วยที่รุนแรงกว่าคนทั่วไป และต้องใช้เวลาฟื้นฟูร่างกายนานกว่าปกติ

นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์ ควรระมัดระวังในเรื่องการทานยามากเป็นพิเศษด้วย เพราะยาลดไข้บางชนิดอาจส่งผลกระทบบางอย่างต่อเด็กในครรภ์ได้ ดังนั้นถ้ารู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ 

หรือกำลังเฝ้าระวังเรื่องการตั้งครรภ์ ควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


วิธีรักษา

ไข้หวัดธรรมดาใช้วิธีรักษาตามอาการ เช่น ถ้าปวดศีรษะ มีไข้ ให้ทานยาพาราเซตามอล และดื่มน้ำอุ่น ถ้าตัวร้อน ให้เช็ดตัวเพื่อลดอุณภูมิร่างกาย ด้วยการเช็ดแบบย้อนขน ถ้าถ่ายเป็นมูกหรือท้องเสีย ใช้ยาปฏิชีวนะที่มีสรรพคุณลดการติดเชื้อ เป็นต้น

วิธีป้องกัน

ดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ด้วยการทานอาหารมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำร้ายระบบทางเดินหายใจ เช่น เขตโรงงาน พื้นที่ที่มี PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน เป็นต้น

เรื่องน่ารู้

ปัจจุบันเชื้อไวรัสก่อโรคไข้หวัดธรรมดา มีมากกว่า 200 ชนิด จึงทำให้ยังไม่มีวัคซีนที่ป้องกันโรคนี้ได้โดยเฉพาะ แต่สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แทนได้ เพื่อป้องกันเฉพาะเชื้อไวรัสที่รุนแรง

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


2. ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ และติดต่อผ่านสารคัดหลั่ง เช่นเดียวกับโรคไข้หวัดธรรมดา แต่มีอาการรุนแรงกว่า และสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

หากไม่ได้รับการรักษาทันเวลา โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ คือ เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A - H1N1

อาการ 

อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดธรรมดา คือ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ มีน้ำมูก ไอ ท้องเสีย ฯลฯ ปกติแล้วผู้ป่วยสามารถหายได้เอง แต่หากเกิดภาวะแทรกซ้อน แล้วรักษาไม่ทันเวลา ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ 

ซึ่งอาการแทรกซ้อนดังกล่าว ได้แก่

  • เจ็บหน้าอก หายใจถี่

  • เวียนศีรษะ

  • ชัก

  • โรคประจำตัวกำเริบรุนแรง 

  • ร่างกายขาดน้ำ

  • ปากเขียว

อ่านเพิ่มเติม: 7 สัญญาณเตือน! ว่าคุณมีภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

เด็กเล็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ตับแข็ง มะเร็ง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ ถุงลมโป่งพอง 

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


วิธีรักษา

หากพบอาการทั่วๆ ไป สามารถทานยาเพื่อรักษาตามอาการ พักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ ควบคู่กันไปได้ 

แต่หากพบอาการแทรกซ้อนรุนแรง ให้รีบพบแพทย์ เพื่อลดโอกาสเกิดการเจ็บป่วยเรื้อรัง และเสียชีวิต

วิธีป้องกัน

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ประจำปี (ป้องกันได้สูงสุด 4 สายพันธุ์) สวมหน้ากากเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่สาธารณะที่มีคนพลุกพล่าน และล้างมือให้สะอาดก่อนทานอาหาร หรือสัมผัสใบหน้า 

เรื่องน่ารู้

ปี 2566 นี้ ไข้หวัดใหญ่มีความรุนแรงมาก เพราะพบผู้ป่วยสะสม 216,600 ราย หรือมากกว่าปี 2565 ถึง 4 เท่า และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 7 คน ซึ่งส่วนใหญ่พบการแพร่ระบาดในกลุ่มเด็กอายุ 5-14 ปี 

รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 0–4 ปี และพบในสถานที่ที่คนอยู่รวมกันมากๆ อย่างโรงเรียน เรือนจำ วัด ค่ายทหาร (ข้อมูล ณ วันที่ 23 กันยายน 2566)

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


3. ปอดบวม (Pneumonitis)

โรคปอดบวม หมายถึง ภาวะปอดอักเสบ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา รวมถึงสารเคมีอันตราย ทำให้มีหนองและสารปนเปื้อนภายในถุงลม 

โดยเชื้อก่อโรคที่พบได้บ่อยที่สุด คือ นิวโมคอคคัส (Pneumococcal) เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในเยื่อบุโพรงจมูก และลำคอของคนเรานั่นเอง 

เพราะเมื่อคนเราเป็นหวัด เยื่อบุจมูกและลำคอถูกทำลาย เชื้อก็จะหลุดเข้าระบบทางเดินหายใจได้อย่างง่ายดาย

อาการ

  • ไอ จาม 

  • คัดจมูก

  • มีเสมหะ 

  • แน่นหน้าอก หายใจลำบาก

  • เหนื่อยง่าย

  • หายใจมีเสียงวี้ด ใต้ชายโครงบุ๋มเวลาหายใจเข้า 

  • หนาวสั่น ปากเขียว 

  • ปวดท้อง ถ่ายเหลว 

อ่านเพิ่มเติม: 5 โรคร้าย! ที่พบมากในผู้สูงวัย หากไม่ดูแลตัวเองให้ดี

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุที่ 65 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง 

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


วิธีรักษา

หากอาการไม่รุนแรง ไม่พบอาการแทรกซ้อน สามารถทานยารักษาตามอาการได้ เช่น ทานยาแก้ท้องเสีย ยาลดน้ำมูก ฯลฯ รวมถึงทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่แออัด คนพลุกพล่าน 

แต่ถ้าอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ควรรีบพบแทพย์ เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมมากขึ้น เช่น ให้ออกซิเจน ใช้เครื่องช่วยหายใจ รับยาฆ่าเชื้อ 

วิธีป้องกัน

หลีกเลี่ยงสถานการณ์ และสถานที่ที่ส่งผลร้ายต่อปอด และระบบทางเดินหายใจส่วนอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ ควันจากการเผาหญ้า พื้นที่แออัด ไม่สะอาด

รวมถึงฉีดวัคซีนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วัคซีนป้องกันหัดและไอกรนในเด็ก วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัส และวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฮิบ (Hib) 

เรื่องน่ารู้

ปอดบวมเป็นโรคแทรกซ้อนที่มักจะพบหลังจากการเป็นไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ หอบหืด และโรคหัด สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้ามีการติดเชื้อในกระแสเลือด และได้รับการรักษาช้า ผู้ป่วยก็อาจเสียชีวิต

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


4. ท้องเสียจากติดเชื้อไวรัสโรตา (Rotavirus infection)

 ท้องเสียสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยในฤดูหนาว คือ ท้องเสียจากการติดเชื้อไวรัสโรตา เพราะเป็นเชื้อที่แพร่กระจายได้ดีในอากาศเย็น 

ต่างจากเชื้อชนิดอื่นที่มักจะแพร่ได้ดีในอากาศร้อน ติดต่อได้จากการสัมผัสเชื้อโดยตรง และสามารถแพร่ไปสู่คนอื่นได้ทางอุจจาระ

อาการ

  • ถ่ายอุจจาระมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายเหลวเป็นน้ำ หรือเป็นมูก จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน

  • อ่อนเพลีย

  • คลื่นไส้ อาเจียน

  • มีไข้ต่ำ อาการคล้ายหวัด

ปกติแล้ว อาการไม่รุนแรง และหายได้เองใน 3-5 วัน แต่บางครั้งก็อาจรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตอาการของตนเอง และคนใกล้ตัว ถ้าพบว่าอาการถ่ายเหลวไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น หรือมีอาการอื่นแทรกซ้อนมา ควรรีบพบแพทย์

อ่านเพิ่มเติม: รู้ทันโรคฝีดาษลิง ภัยร้ายใกล้ตัวที่ต้องระวัง!

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

กลุ่มเด็กเล็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี 

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


วิธีรักษา

ทานยาแก้ท้องเสียตามการวินิจฉัยของแพทย์ เพราะการถ่ายเหลวเป็นน้ำ และถ่ายเหลวเป็นมูก ต้องได้รับยาที่ต่างกัน รวมถึงงดทานนม กาแฟ ผัก ผลไม้ และอาหารที่มีสรรพคุณกระตุ้นการขับถ่าย

นอกจากนั้น แพทย์อาจจ่ายยาประเภทอื่นให้ด้วย เช่น ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดดำ (กรณีถ่ายหรืออาเจียนหนัก) ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้อาเจียน เป็นต้น

วิธีป้องกัน

ล้างมือให้สะอาดก่อนทานอาหาร หรือนำมาสัมผัสบริเวณใบหน้า เลือกทานอาหารปรุงสุก งดการทานของดิบ และของดอง หมั่นทำความสะอาดของเล่นและของใช้ของลูก โดยเฉพาะของที่ใช้พกพาไปนอกบ้าน รวมถึงควรพาเด็กอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป เข้ารับวัคซีนป้องกันเชื้อโรตาด้วย

เรื่องน่ารู้

โรคท้องเสียจากติดเชื้อไวรัสโรตา พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กเล็กอายุไม่เกิน 5 ปี โดยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แทบทุกคนต้องเคยติดเชื้อไวรัสโรต้าอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


5. อหิวาตกโรค (Cholera)

อหิวาตกโรค เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย วิบริโอ คอเลอรี (Vibrio cholerae) ที่ลำไส้เล็ก ผ่านการทานอาหารและน้ำไม่สะอาด ซึ่งเมื่อติดเชื้อแล้ว อาการจะรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้  

ทั้งนี้ เป็นโรคที่พบการระบาดในไทยมาตั้งแต่ปี 2516 ปัจจุบันก็ยังพบได้อยู่ แต่พบน้อยลงมากเมื่อเทียบกับอดีต

อาการ

อาการเบื้องต้นคล้ายโรคท้องเสียทั่วไป แต่มีอาการที่รุนแรงกว่า เช่น

  • ถ่ายอุจจาระเหลวต่อเนื่อง

  • ถ่ายเหลวคล้ายน้ำซาวข้าว

  • ร่างกายขาดน้ำ 

  • อ่อนเพลีย ความดันต่ำ 

  • ช็อก จนเสียชีวิต

อ่านเพิ่มเติม: ตรวจสุขภาพประจําปี ต้องตรวจโรคอะไรบ้าง?

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

ทุกเพศทุกวัยมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ไม่ต่างกัน แต่ผู้ที่รับการรักษาช้า จะมีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าผู้ที่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ 

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


วิธีรักษา

ดื่มน้ำและเกลือแร่ชดเชยปริมาณน้ำในร่างกายที่สูญเสียไปด้วยวิธีการต่างๆ คือ ดื่มทางปาก หรือให้ทางหลอดเลือดดำ (ขึ้นอยู่กับอาการขาดน้ำ) นอกจากนั้น อาจมีการทานยาปฏิชีวนะอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น azithromycin doxycycline erythromycin เป็นต้น

วิธีป้องกัน

    เลือกทานอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด มีบรรจุภัณฑ์และผ่านกรรมวิธีที่ถูกสุขอนามัย ล้างมือก่อนทานอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง 

เรื่องน่ารู้

    ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคให้เลือกใช้ได้ทั้งแบบชนิดฉีดและทาน

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


6. อีสุกอีใส (Chickenpox)

หนึ่งในโรคยอดฮิตในวัยเด็กของใครหลายคน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella virus) ส่วนมากจะพบในเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-12 ปี และมีระยะฟักตัวประมาณ 10 – 20 วัน จึงจะแสดงอาการ 

อาการ

  • มีไข้ต่ำ 

  • เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย 

  • ปวดเมื่อยตามตัว 

  • มีตุ่มนูนทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณลำตัว ใบหน้า และอาจมีอาการคันร่วมด้วย

    หากเป็นในผู้ใหญ่ มักจะมีอาการหนักกว่า และหายได้ช้ากว่าเด็ก 

อ่านเพิ่มเติม: ซื้อประกันประเภทไหน? ลดหย่อนภาษีได้คุ้มค่าที่สุด!

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะเมื่อตุ่มนูนปริแตก อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ง่าย

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


วิธีรักษา

ทานยาลดไข้เมื่อมีอาการ และใช้ยาแก้คันเพื่อลดอาการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง

วิธีป้องกัน

พักผ่อนให้เพียงพอ และล้างมือบ่อยๆ 

เรื่องน่ารู้

ความเชื่อที่ว่า ทุกคนต้องเป็นอีสุกอีใสสักครั้งในชีวิตนั้นไม่เป็นความจริง แต่งานวิจัยพบว่า 90% ของคนทั่วไปอาจเป็นโรคอีสุกอีใสได้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต และหากเคยเป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว มักจะไม่เป็นซ้ำอีก

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าฤดูหนาวที่ใกล้ถึงนี้ คุณหรือคนใกล้ตัวจะเป็นโรคยอดฮิตที่มีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน แต่การรักษาแต่ละครั้งก็จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลย 

6 โรคติดต่อควรระวัง! เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว │Smile Insure


ทางที่ดีอย่าลืมทำประกันสุขภาพเอาไว้ตั้งแต่วันนี้ เพื่อเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในอนาคต 

ขอบคุณข้อมูลจาก

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ