รู้ทันโรคฝีดาษลิง ภัยร้ายใกล้ตัวที่ต้องระวัง!
ในช่วงเวลานี้ คงไม่มีใครไม่รู้จัก โรคฝีดาษลิง เพราะนับตั้งแต่เจอผู้ติดเชื้อคนแรกในไทยเมื่อกลางปี ‘65 จนถึงวันที่ 31 ส.ค. 66
ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยสะสมไปแล้วถึง 316 คน และเสียชีวิตแล้ว 1 คน จึงเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่กำลังแพร่กระจายในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ามีหลายคนอาจจะยังไม่รู้จักโรคนี้มากนัก วันนี้เราเลยอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับฝีดาษลิง เพื่อให้รู้ทันโรคร้ายที่อาจอยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด และสามารถรับมือได้อย่างเหมาะสม
รู้จักฝีดาษลิง
คนส่วนใหญ่อาจมีความเข้าใจว่า “โรคฝีดาษ” เป็นโรคโบราณที่หายจากโลกนี้ไปนานแล้ว ตามประกาศขององค์กรอนามัยโลกเมื่อ พ.ศ. 2523 ดังนั้น เมื่อมีการแพร่ระบาดของ “โรคฝีดาษลิง” ในประเทศไทย
หลายคนจึงเกิดความสับสนปนสงสัยขึ้นมาว่า ทำไมโรคโบราณจึงกลับมาแพร่ระบาดได้อีก? หรือจริงๆ แล้ว โรคนี้ยังคงมีอยู่ ไม่เคยหายไป?
อ่านเพิ่มเติม: เลือกให้ถูก ซื้อประกันสุขภาพตอนไหน? คุ้มที่สุด!
ความจริงแล้ว โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ที่กำลังระบาดอยู่ในตอนนี้ แม้จะเกิดจากไวรัสกลุ่มเดียวกัน แต่ถือว่าไม่ใช่โรคเดียวกันกับ โรคฝีดาษ (Smallpox) เพราะฝีดาษลิง ติดต่อจากลิงและสัตว์ฟันแทะมาสู่คน
แล้วจึงติดต่อจากคนสู่คนอีกทีหนึ่ง ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น ไอ จาม การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน เป็นต้น ส่วนโรคฝีดาษนั้น ติดต่อจากคนสู่คนเท่านั้น
นอกจากนั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมา ฝีดาษลิง ยังคงมีการแพร่กระจายอยู่ตลอด เพราะเป็นโรคประจำถิ่นในทวีปแอฟริกา และมีถึง 2 สายพันธุ์ ได้แก่
สายพันธุ์ Congo Basin พบอัตราการเสียชีวิต 10%
สายพันธุ์ West African พบอัตราการเสียชีวิต 1%
ซึ่งการระบาดเคยสงบไปในช่วงปี 2546 แต่ก็กลับระบาดอีกครั้งในปี 2565 โดยเริ่มจากทวีปยุโรป และกระจายไปสู่หลายประเทศทั่วโลก โดยหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย
การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงในไทย
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงในบ้านเรา ถือว่ารวดเร็ว และเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรคบอกไว้ว่า
เดือนพฤษภาคม 2566 พบผู้ป่วย 22 คน
เดือนมิถุนายน 2566 พบผู้ป่วย 48 คน หรือคิดเป็น 2.3 เท่าจากเดือนก่อนหน้า
เดือนกรกฎาคม 2566 พบผู้ป่วย 80 คน
เดือนสิงหาคม 2566 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 145 คน และพบผู้เสียชีวิตรายแรกของประเทศไทยแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 3 ก.ย. 66)
อ่านเพิ่มเติม: ตรวจสุขภาพประจําปี ต้องตรวจโรคอะไรบ้าง?
หากนับจำนวนผู้ป่วยตั้งแต่วันแรกที่พบการแพร่ระบาดเมื่อกลางปี 2565 จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2566 พบว่า มีผู้ป่วยสะสมมากถึง 316 คน และมีผู้เสียชีวิต 1 คน
อัตราการพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง
โดยผู้ป่วยที่พบ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 198 คน ชลบุรี 22 คน นนทบุรี 17 คน และสมุทรปราการ 12 คน โดยส่วนใหญ่มีอายุ 30-39 ปี (152 คน)
รองลงมาคือช่วงอายุ 20-29 ปี (85 คน) และเยาวชนอายุ15-24 ปี (28 คน) ส่วนผู้เสียชีวิต อายุ 34 ปี อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี พบว่ามีการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และซิฟิลิสร่วมด้วย
ใครเสี่ยงเป็นฝีดาษลิงได้มากที่สุด?
ทุกคนสามารถเป็นโรคฝีดาษลิงได้ ถ้าสัมผัสกับเชื้อไวรัสโดยตรง แต่สำหรับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคได้ง่าย และหากเป็นโรคแล้ว จะเสี่ยงพบอาการแทรกซ้อนรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ มีดังนี้
กลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน เป็นต้น
ผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
เด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี
หญิงตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร
อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าเป็นฝีดาษลิง?
อาการหลักๆ ที่พบได้ในคนเป็นฝีดาษลิง มีดังนี้
มีไข้ หนาวสั่น
ปวดศีรษะ
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
มีอาการบวมแดงบริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบ
มีผื่นหรือตุ่มขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ผื่นหรือตุ่มที่ขึ้นตามร่างกาย กลายเป็นตุ่มน้ำหรือตุ่มหนอง
หากพบอาการเหล่านี้ ให้รีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด
สาระน่ารู้: อาการป่วยจะพบได้หลังจากที่บุคคลนั้นมีการสัมผัสใกล้ชิด หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้สงสัยเป็นฝีดาษลิง ภายใน 21 วัน
วิธีป้องกันฝีดาษลิง
แม้ว่าโรคฝีดาษลิงจะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และมีอาการค่อนข้างรุนแรง แต่ทุกคนสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีง่ายๆ เหล่านี้
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย โดยเฉพาะสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคอย่างลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก เป็นต้น
หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และการสัมผัสบุคคลแปลกหน้า
ล้างมือบ่อยๆ ด้วย หรือแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70% ขึ้นไป โดยเฉพาะหลังสัมผัสตัวสัตว์ หรือสัมผัสกับสิ่งของสาธารณะ เช่น ราวบันไดเลื่อน ปุ่มกดลิฟต์ เป็นต้น
ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงมีการแพร่ระบาด
ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
ดูแลรักษาฝีดาษลิงให้ถูกวิธี
ส่วนใครที่ไม่สามารถป้องกันได้ทัน รู้ตัวอีกทีก็ไปสัมผัสกับคนที่เสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิงมาแล้ว ให้รีบพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย และทำการรักษา
ซึ่งถ้าแพทย์ตรวจพบเชื้อไวรัสฝีดาษลิง จะให้ผู้ป่วยเข้าแอดมิท และแยกรักษาตัวในห้องผู้ป่วยติดเชื้อ และถ้าผู้ป่วยเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง จะมีการให้ยาต้านไวรัสด้วย หากรักษาไปได้สักระยะแล้วผู้ป่วยอาการดีขึ้น จะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้
อ่านเพิ่มเติม: 9 สัญญาณเตือน โรคไข้เลือดออก ภัยร้ายหน้าฝน!
ทั้งนี้ หากกลับมาอยู่บ้านแล้ว ผู้ป่วยสามารถลดการแพร่ระบาดไปสู่ผู้อื่น และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการติดเชื้อเพิ่มเติมได้ด้วยเหล่านี้ จนกว่าจะหายดี
สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น
ไม่ใช้สิ่งของร่วมกันกับคนในครอบครัว
สวมเสื้อผ้ายาวปกปิดตุ่มตามร่างกาย ไม่ให้ตุ่มสัมผัสกับความสกปรกจากภายนอก และลดความเสี่ยงที่สารคัดหลั่งจากตุ่ม แพร่กระจายสู่ผู้อื่น
ประกันสุขภาพคุ้มครองฝีดาษลิง
สุดท้ายนี้ สิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ หากใครเป็นโรคฝีดาษลิง จำเป็นต้องรักษาตัวนานถึง 2-4 สัปดาห์ กว่าเชื้อไวรัสจะหายไป และร่างกายจะกลับมาแข็งแรงดีอีกครั้ง ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลายคน
โดยเฉพาะคนวัยทำงาน เพราะต้องเสียทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต เวลา และค่าใช้จ่ายอีกมากมาย
เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่ทำการรักษา ผู้ป่วยจะไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวัน หรือออกไปทำงานตามปกติได้ ซึ่งนั่นอาจทำให้สภาพคล่องทางการเงินเกิดปัญหา ต้องใช้เงินเก็บจนหมด หรืออาจเกิดการกู้หนี้ยืมสินตามมาได้
อ่านเพิ่มเติม: "อาหารเป็นพิษ" ท้องเสียแบบไหนที่ควรพบแพทย์?
ดังนั้น นอกจากจะป้องกันตัวตามคำแนะนำที่เรานำมาฝากแล้ว อย่าลืมทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมโรคฝีดาษลิงไว้ด้วย เพื่อเป็นตัวช่วยดีๆ ในการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล ให้คุณได้รับการบริการที่ดีที่สุด ในราคาที่คุ้มค่า
ตลอดจนช่วยจ่ายค่าชดเชยในวันที่ต้องหยุดงาน การบรรเทาความทุกข์ให้ครอบครัว ในกรณีที่เกิดการเสียชีวิตจากโรคฝีดาษลิง* รวมถึงใช้เป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีประจำปี ได้อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม: ซื้อประกันประเภทไหน? ลดหย่อนภาษีได้คุ้มค่าที่สุด!
โดยถ้ายิ่งทำประกันสุขภาพเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งคุ้มครองสุขภาพได้มากขึ้นเท่านั้น เพราะอย่างที่บอกไปในตอนต้นว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปี รองลงมาคือช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทประกันกำหนด ผู้ต้องการทำประกันสุขภาพควรสอบถามข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจทำประกัน
“โรคฝีดาษลิง” จะไม่ใช่ภัยร้ายที่น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าทุกคนเข้าใจ และสามารถรับมือได้อย่างถูกวิธี รวมทั้งทำประกันสุขภาพเพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้ตัวเอง และคนใกล้ชิด