ระวัง! กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคยอดฮิตของสาวออฟฟิศ
บ่อยครั้งที่หลายๆ โรคมักจะมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเราเอง และสำหรับมนุษย์ออฟฟิศโดยเฉพาะผู้หญิงโรคที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ “โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ”
เป็นอีกหนึ่งโรคที่สร้างความกังวลใจ และเจ็บปวดขณะปัสสาวะเป็นอย่างมาก แล้วโรคนี้มีสามาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง?
และเมื่อเป็นจะมีทางรักษาได้อย่างไร วันนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และวิธีป้องกันโรคนี้ไปพร้อมกัน
รู้จักโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) ส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งพบได้มากถึง 75-95% โดยเจ้าเชื้อโรคเหล่านี้มักจะลักลอบเข้าไปอยู่ในกระเพาะปัสสาวะของเราโดยไม่รู้ตัว
ก่อนจะถูกขับออกโดยการถ่ายปัสสาวะ การกลั้นปัสสาวะไว้นานๆ จึงเป็นการเพิ่มระยะเวลาให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้มากขึ้น และเข้าไปฝังตัวอยู่ในกระเพาะปัสสาวะจนเกิดการอักเสบได้ในที่สุด
ทั้งนี้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบมักพบในเพศหญิงได้ง่าย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่าเพศชาย และพบได้มากขึ้นในผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว (ช่วงอายุ 20-40 ปี) เนื่องจากช่องคลอดอาจเกิดการเสียดสีจากเพศสัมพันธ์
อ่านเพิ่มเติม: 5 โรคร้าย! ที่พบมากในผู้สูงวัย หากไม่ดูแลตัวเองให้ดี
ทำให้มีการอักเสบของท่อปัสสาวะที่อยู่ข้างๆ ได้ง่ายขึ้น จึงนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรียได้ นอกจากนี้ กลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวานและโรคไตก็จัดอยู่ในกลุ่มผู้เสี่ยงสูงต่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเช่นกัน
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีปัจจัยหลักที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้อยู่ 2 อย่างคือ
1. เกิดจากพฤติกรรมการกลั้นปัสสาวะ
เพราะการกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ ส่งผลให้เชื้อโรคมีการเจริญเติบโตมากขึ้น และมีแรงดันในกระเพาะปัสสาวะที่ทำให้เยื่อบุผิวยึดตัว จนเชื้อโรคฝังตัวอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเกิดเป็นการอักเสบ
อ่านเพิ่มเติม: 5 อุบัติเหตุใกล้ตัว ที่ชาวออฟฟิศต้องระวัง!
2. การชำระล้างอวัยวะเพศ(หญิง) ไม่ถูกวิธี
หรือการไม่ระมัดระวัง โดยหลังจากทำธุระเสร็จควรล้างหรือใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
5 สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
1. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบมักจะเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติ และเมื่อปวดในครั้งต่อไปกลับรู้สึกต้องการปลดทุกข์ทันทีที่มีอาการปวด กลั้นไม่อยู่จนปัสสาวะเล็ดหรือราดออกมาบ่อยครั้ง
2. แสบ ขัดที่ปลายหลอดปัสสาวะ
หลังเสร็จสิ้นจากการปัสสาวะมักมีอาการ แสบ ขัด เจ็บบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ หรือรู้สึกปวดปัสสาวะแต่ไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้ตามปกติ เจ็บ ทรมาน
3. ปัสสาวะบ่อยแบบกะปริบกะปรอย
อาการปัสสาวะแบบกะปริบกะปรอย ขับถ่ายต่อครั้งได้ปริมาณน้อย ปวดปัสสาวะบ่อยแทบทุกชั่วโมง และปัสสาวะไม่สุด
4. ปวดท้องน้อย
ขณะปัสสาวะจนสุดจะรู้สึกปวดบริเวณท้องน้อย อาจปวดมากแบบบิดเกร็ง หรือปวดแบบหน่วงๆ ในบางครั้งอาจปวดเป็นระยะแล้วหายไป หรือบางครั้งอาจปวดเกร็งตลอดเวลาก็ได้เช่นกัน
5. ปัสสาวะมีสีขุ่น
เริ่มตั้งแต่สีเหลืองขุ่นไล่ระดับความเข้มขึ้นหากมีอาการมาก และอาจมีเลือดปนมาด้วยในรายที่มีอาการรุนแรง หรืออาจมีกลิ่นเหม็นและมีอาการไข้ร่วมด้วยได้
ปัสสาวะอักเสบเมื่อเป็นแล้วสามารถหายเองได้หรือไม่?
หลายคนอาจจะมีความสงสัยว่าหากเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายเองได้ไหม เบื้องต้นเมื่อหากมีอาการแรกเริ่มของโรคแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับแบคทีเรียออกไปพร้อมปัสสาวะออกมา ซึ่งจะหายได้ภายใน 5-7 วัน
แต่ถ้ามีอาการเจ็บและแสบอย่างรุนแรงเป็นเวลานานควรจะรีบเข้าพบแพทย์ โดยแพทย์จะทำการซักประวัติการเจ็บป่วยและตรวจร่างกายพื้นฐาน
จึงมักบอกได้อย่างชัดเจนแล้วว่าผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อดังกล่าวหรือไม่ และจะจ่ายเป็นยาฆ่าเชื้อกลับมาเพื่อให้ผู้ป่วยทานเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ดูแลตนเองอย่างไรไม่ให้เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ?
1. ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานระหว่างวัน เพื่อขับเชื้อโรคออกจากร่างกาย
2. ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ ดื่มให้เพียงพอ ต่อปริมาณที่ร่างกายต้องกานน้ำใน 1 วัน
3. ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอย่างถูกวิธีทุกครั้งหลังปัสสาวะหรืออุจจาระเสร็จอย่างถูกวิธี
4. ทำความสะอาดร่างกายและอวัยวะเพศทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์
กระเพาะปัสสาวะอักเสบไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องที่ต้องระวัง โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยทำงานที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย แต่ก็มีวิธีที่สามารถป้องกันได้ เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
อ่านเพิ่มเติม: 7 สัญญาณเตือน! ว่าคุณมีภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า
เพราะความจริงแล้วโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถ เกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่ที่พบบ่อยคือกลุ่มสาวออฟฟิศ ที่ทำงานแบบไม่ค่อยลุกออกจากโต๊ะ ชอบอั้นปัสสาวะไว้นานๆ หรือกลุ่มที่ต้องเดินทางไกลแล้วไม่อยากใช้ห้องน้ำสาธารณะ
รวมถึงการดื่มน้ำน้อยไปในแต่ละวัน และเมื่อมีอาการ แต่ในกลุ่มที่มีอาการปวดหรือเจ็บขณะปัสสาวะรุนแรงติดต่อกันเป็นเวลานานหลายอาทิตย์ ไม่ควรปล่อยไว้ไว้
แต่ควรจะรีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะอาจจะเกิดการติดเชื้ออื่นๆ ที่รุนแรง รวมถึงกลายเป็นโรคอื่นได้อีกด้วย
โรคกระเพาะปัสสาวะเมื่อเป็นแล้วถึงแม้จะรักษาจนหายดี หากเราไม่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตมีโอกาสกลับมาเป็นอีกได้เหมือนกัน ดังนั้นไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานและควรดื่มน้ำให้มากขึ้น และเพียงพอต่อวัน