บทความ | สาระน่ารู้อื่นๆ

7 สัญญาณเตือน! ว่าคุณมีภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า

7 สัญญาณเตือน! ว่าคุณมีภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า
22/09/2023  สาระน่ารู้อื่นๆ

หลายคนคงเคยได้ยินว่าภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นอาการทางระบบประสาทและจะเกิดกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน แต่แท้จริงแล้วการมีภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่าสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ 

แต่ถ้าเกิดกับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานก็เสี่ยงที่จะเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำผิดปกติ  หากควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี  ถ้ามีอาการรุนแรงจะถึงขั้นหมดสติ  ไม่รู้สึกตัวได้

 7 สัญญาณเตือน! ว่าคุณมีภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า | SMILE INSURE


ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำคืออะไร?

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ 3.9 มิลลิโมลต่อลิตรในผู้ป่วยเบาหวาน หรือต่ำกว่า 55 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ 3.1 มิลลิโมลต่อลิตรในคนทั่วไป 

อ่านเพิ่มเติม: ซื้อประกันสุขภาพแบบไหน ถึงจะได้สิทธิลดหย่อนภาษี

เมื่อมีอาการ ควรรีบรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มหวานๆ ทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

อ่านเพิ่มเติม: ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะเบาหวานประเภทที่ 1 แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปได้เช่นกัน เมื่อมีอาการ ควรรีบรับประทานอาหารหวานๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงการ จนเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรง

 7 สัญญาณเตือน! ว่าคุณมีภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า | SMILE INSURE


โรคเบาหวานเกิดจากอะไร?

โรคเบาหวาน คือ โรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 

อ่านเพิ่มเติม: ไอตอนกลางคืนบ่อยๆ อย่าชะล่าใจ อาจอันตรายกว่าที่คิด!

เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ โรคเบาหวานแบ่งเป็น 4 ชนิด ตามสาเหตุของการเกิดโรค  

7 สัญญาณเตือน! ว่าคุณมีภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า | SMILE INSURE

1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus, T1DM)

เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก

2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus, T1DM)

เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนร่วมด้วย   

3. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM)

เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดเมื่อไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์

4. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (specific types of diabetes due to other causes)

มีได้หลายสาเหตุ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด เป็นต้น

7 สัญญาณเตือน! ว่าคุณมีภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า | SMILE INSURE


7 อาการเบื้องต้น สังเกตอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ

สัญญาณและอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่

  • หน้าซีด ปากซีด
  •  เหงื่อออก 
  • ตัวสั่น กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิ
  • คลื่นไส้ เวียนศีรษะ ปวดหัว
  • ไม่มีสมาธิ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ปาก ลิ้น แก้มชา

 อ่านเพิ่มเติม: เลือกให้ถูก ซื้อประกันสุขภาพตอนไหน? คุ้มที่สุด!

การแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

เมื่อเริ่มมีอาการ ควรรีบตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด โดยวิธีการเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว และแก้ไขตามระดับอาการ ดังนี้

อาการไม่มากและรู้สึกตัวดี

ให้กินอาหารทันที ถ้าเวลาที่เกิดใกล้มื้ออาหารหลัก แต่หากอยู่ระหว่างมื้ออาหาร ควรกินอาหารว่าง เช่น นมพร่องมันเนย (240 ซีซี) หรือผลไม้ขนาดกลาง 1 ลูก หรือ แครกเกอร์ 2-3 แผ่น

 7 สัญญาณเตือน! ว่าคุณมีภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า | SMILE INSURE


อาการค่อนข้างมาก แต่รู้สึกตัวดี

ให้กินอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมเร็วอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

  • น้ำผลไม้คั้นสดไม่เติมน้ำตาล ปริมาณ ½ แก้ว
  • ลูกอม 2 เม็ด หรือน้ำตาล 2 ก้อน
  • น้ำหวาน ½ แก้ว (น้ำหวานเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำให้ได้ปริมาณ 120 ซีซี)
  • น้ำตาลทราย 3 ช้อนชา
  • น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา

หลังจากนั้นให้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ขนมปัง ข้าว หรือก๋วยเตี๋ยว ต่อเลยทันที

อาการเป็นมาก

ไม่รู้สึกตัวหรือมีอาการชัก ห้ามให้อาหารทางปากเด็ดขาด เพราะอาจสำลักเข้าปอด ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที

 7 สัญญาณเตือน! ว่าคุณมีภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า | SMILE INSURE


การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • รับประทานอาหารตรงเวลาและมีปริมาณเหมาะสมตามความต้องการพลังงานของร่างกายแต่ละคน
  • ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
  • ฉีดอินซูลินหรือกินยาลดระดับน้ำตาลในเลือดตามแพทย์สั่ง ไม่เพิ่มหรือลดยาเอง (ยกเว้นกรณีแพทย์แนะนำให้ปรับยาเองได้) ออกกำลังกายอย่างสม่ำสมอ ไม่หักโหมจนเกินไป ถ้าออกกำลังกายมากกว่าปกติ ควรกินอาหารว่างก่อนออกกำลังกาย ประมาณ 15-30 นาที เช่น นมพร่องมันเนย 1 แก้ว หรือ ขนมปัง แครกเกอร์ 2-3 แผ่นใหญ่ หรือผลไม้ขนาดกลาง 1 ผล เช่น ส้ม กล้วยน้ำว้า หรือ ผลไม้ใหญ่ ½ ผล เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล สาลี่ กล้วยหอม

อ่านเพิ่มเติม: ตรวจสุขภาพประจําปี ต้องตรวจโรคอะไรบ้าง?

  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  • ปรึกษาแพทย์ในกรณีที่ต้องกินยาสำหรับรักษาโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะยาเหล่านั้นอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • บอกให้ญาติหรือบุคคลใกล้ชิดทราบว่าเป็นเบาหวานและอธิบายการแก้ไขที่ถูกต้องให้รับทราบ
  • ควรมีลูกอม น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ 100% หรือขนมปังแครกเกอร์เก็บไว้ใกล้ตัวตลอดเวลา เผื่อยามฉุกเฉิน
  • ช่วงที่เจ็บป่วย หากทานอาหารไม่ได้ ควรพบแพทย์เพื่อปรับยา

เพิ่มเพื่อน

สอบถามเพิ่มเติม ทักแชทมาได้เลยนะคะ

เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันเพื่อให้เราไม่เสี่ยงมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แนะนำให้ปฎิบัติตามคำแนะนำข้างต้น และที่สำคัญควรหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีในทุกปี 

อ่านเพิ่มเติม: ตรวจสุขภาพประจําปี ต้องตรวจโรคอะไรบ้าง?


เพราะเป็นการตรวจเพื่อให้ได้รู้ว่าร่างกายของเราแข็งแรงดีหรือมีภาวะเสี่ยงเป็นโรคอื่นๆ อีกหรือไม่ การป้องกันและตรวจสุขภาพเบื้องต้นจะทำให้รู้และป้องกัน หรือรักษาได้ทันเวลากว่า

ขอบคุณข้อมูลจาก

ปรึกษาและซื้อประกันสุขภาพออนไลน์กับ SMILE INSURE คลิก https://smileinsure.co.th/insurance-promotions?q=ประกันสุขภาพ
สอบถามข้อมูลประกันทุกประเภท ได้ที่ INBOX: 
m.me/smileinsure  LINE ไอดี @smileinsure หรือคลิ https://lin.ee/QePEnIL หรือโทร Call Center 02-233-9999

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ