เปรียบเทียบก่อนซื้อ รถไฟฟ้า vs รถน้ำมัน เลือกอะไรดี?
เมื่อเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้ามาแรง จนทำให้ใครหลายคนเริ่มลังเลในการซื้อรถ เพราะตัดสินใจไม่ได้สักทีว่ารถคันแรกในชีวิตจะซื้อรถอะไรดี? ควรก้าวตามเทรนด์ใหม่ไป หรือต้อง Back to Basic?
ในเวลาที่หลายคนลังเลแบบนี้ SMILE INSURE อยากชวนมาอ่านบทความนี้ไปพร้อมกัน รับรองว่าจะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้น
1. เปรียบเทียบความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ถ้าพูดถึงประเด็นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าทุกคนคงเทใจให้ “รถไฟฟ้า” หรือ รถ EV มากกว่า เพราะรถยนต์ประเภทนี้ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าทั้ง 100% ไม่มีการเผาไหม้น้ำมัน
และไม่ปล่อยมลพิษ จึงช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นสาเหตุของวิกฤติโลกร้อนได้เป็นอย่างดี
นอกจากนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ชาร์จรถ ยังสามารถใช้ได้จากทั้งกระบวนการผลิตไฟฟ้าแบบทั่วไป และไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟฟ้าจากพลังงานลม เป็นต้น
สอบถามเพิ่มเติม ทักแชทมาได้เลยนะคะ
ขณะที่รถน้ำมัน ขับเคลื่อนด้วยการเผาไหม้พลังงานน้ำมัน ซึ่งเป็นพลังงานสิ้นเปลือง ที่ใช้แล้วหมดไป และมักจะปล่อย เขม่า ควัน คาร์บอน ฯลฯ ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดมลพิษมากมายตามมา
อ่านเพิ่มเติม: แนะนํา 4 รุ่น รถ EV ยอดนิยมในประเทศไทยปี 2023
แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรถน้ำมันได้ถูกพัฒนาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว ในรูปแบบของรถไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) และปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Vehicle: PHEV) ที่ผสมผสานการทำงานระหว่างระบบไฟฟ้า
และน้ำมันเข้าด้วยกัน จึงช่วยลดปริมาณการปล่อยมลพิษได้มากกว่าเดิม
2. เปรียบเทียบความประหยัด
รถไฟฟ้า หรือ รถ EV ใช้พลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว จึงทำให้ผู้ขับขี่ประหยัดค่าพลังงานได้มากกว่าการใช้รถน้ำมัน เพราะเมื่อเปรียบเทียบการขับขี่ในระยะทางที่เท่ากันแล้ว ค่าชาร์จไฟถูกกว่าค่าน้ำมัน
โดยรถไฟฟ้าจะเสียค่าใช้จ่ายไม่เกิน 1 บาทต่อกิโลเมตร แต่รถน้ำมันทั่วไปเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 4 บาทต่อกิโลเมตร
แต่ตอนนี้การชาร์จไฟฟ้ายังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง คือ ถ้าต้องการชาร์จรถที่บ้าน เจ้าของรถจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องชาร์จเพิ่มก่อน โดยจะมีค่าติดตั้งอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาทขึ้นไป
อ่านเพิ่มเติม: ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม? แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?
และถ้าจะชาร์จไฟที่สถานีชาร์จนอกบ้าน ก็จำเป็นต้องหาข้อมูล และวางแผนไว้ล่วงหน้า เพราะสถานีชาร์จยังมีน้อย ไม่ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เสี่ยงที่รถจะแบตหมด และดับกลางทาง
สอบถามเพิ่มเติม ทักแชทมาได้เลยนะคะ
นอกจากนั้น การชาร์จไฟฟ้าให้เต็มในแต่ละครั้ง ยังใช้เวลานานประมาณ 7-8 ชั่วโมง สำหรับการชาร์จไฟบ้าน และ 1-2 ชั่วโมง สำหรับสถานีชาร์จ
ขณะที่รถน้ำมัน สามารถเติมน้ำมันได้ทุกที่ ทุกเวลา เพราะมีปั๊มน้ำมันให้เลือกใช้บริการได้มากมาย อีกทั้งไม่ต้องรอนาน ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที ก็พร้อมขับต่อได้แล้ว
3. เปรียบเทียบสมรรถนะการขับขี่
ด้านสมรรถนะการขับขี่ รถไฟฟ้ามีข้อได้เปรียบในเรื่องของเครื่องยนต์เงียบ และสามารถใช้อัตราเร่งได้เต็มกำลัง ไม่มีสะดุด ซึ่งคนใช้รถไฟฟ้าหลายคนคอนเฟิร์มว่า เร่งแซงได้ง่ายกว่ารถน้ำมันมากทีเดียว
เพราะไม่ต้องรอรอบ ไม่ต้องรอกระบวนการสันดาปภายในเหมือนรถน้ำมัน แค่เหยียบคันเร่ง ก็เคลื่อนที่ได้เร็วดั่งใจ
4. เปรียบเทียบการบำรุงรักษา
แต่ถ้าพูดถึงการบำรุงรักษา ก็ต้องบอกว่า งานนี้รถน้ำมันได้เปรียบกว่า เพราะหาอะไหล่ง่าย ราคาไม่แพง มีอู่ซ่อมอยู่ในทุกพื้นที่ ทั้งอู่ของแบรนด์รถยนต์เองและอู่นอกที่ได้มาตรฐาน
และด้วยความที่รถน้ำมันมีอะไหล่หลายชิ้น ทำให้เมื่อรถเสีย หรือเกิดอุบัติเหตุ จะสามารถซ่อมแซมเฉพาะจุดได้ ไม่จำเป็นต้องยกเครื่องใหม่เสมอไป
อ่านเพิ่มเติม: ฝนตกหนักแบบนี้ รถ EV ขับลุยน้ำได้ไหม?
ต่างจากรถไฟฟ้า หรือ รถ EV ที่หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา แม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ยกชุด ซึ่งค่าแบตเตอรี่ของรถไฟฟ้าสูงถึงหลักแสนบาท
อ่านเพิ่มเติม: รถเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วน! เรียกประกันได้หรือไม่?
แต่ความที่มีอะไหล่น้อยชิ้นกว่ารถน้ำมัน ทำให้รถไฟฟ้ามีข้อได้เปรียบในเรื่องของระยะเวลาในการบำรุงรักษา
เพราะไม่ต้องใช้เวลาในการตรวจเช็ก และถอดประกอบเครื่อง นานเกินไป
5. เปรียบเทียบความหลากหลายของประเภทรถ
ความหลากหลาย ทั้งในเรื่องของประเภทรถ และอะไหล่ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใครหลายคนนำมาใช้ตัดสินใจเลือกซื้อรถ
สำหรับประเด็นนี้ รถน้ำมันดูเหมือนจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจกว่า เพราะอย่างที่เห็นในทุกวันนี้ รถน้ำมันมีรถให้เลือกใช้ได้หลายประเภท เช่น รถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ รถอเนกประสงค์ เป็นต้น และมีอะไหล่ให้ตกแต่ง หรือปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของรถได้มากกว่า
อ่านเพิ่มเติม: รถ EV ชาร์จไฟแบบ AC หรือ DC แบบไหนดีกว่ากัน
ส่วนรถไฟฟ้า ยังมีวางขายไม่ครบทุกประเภท และยังมีข้อจำกัดในเรื่องของอะไหล่ ทำให้ขาดความหลากหลาย ไม่สามารถปรับแต่งอะไรได้มากนัก
6. เปรียบเทียบราคา
“ราคา” เป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่ทำให้หลายคนลังเลในการเลือกซื้อรถไฟฟ้า และรถน้ำมัน เนื่องจากปัจจุบัน ราคาขายรถไฟฟ้าถือว่าค่อนข้างสูง
และรถไฟฟ้ายังมีตัวเลือกที่ไม่เยอะมากนัก เมื่อเทียบกับรถน้ำมัน ทั้งในเรื่องของประเภทรถ และแบรนด์รถ
อ่านเพิ่มเติม: เปรียบเทียบประกันรถยนต์แต่ละชั้น คุ้มต่างกันยังไง?
7. เปรียบเทียบประกันรถ EV กับประกันรถยนต์
การจะซื้อรถสักคัน ไม่ควรมองข้ามเรื่องประกันรถ ตัวช่วยดีๆ ที่จะเพิ่มความคุ้มครองให้รถ ผู้โดยสาร และคู่กรณี
ประกันรถยนต์น้ำมัน มีให้เลือกซื้อได้หลายราคา และหลายประเภท คือ ประกันชั้น 1, 2+, 2, 3+ และ 3 ซึ่งเงื่อนไขความคุ้มครองจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับค่าเบี้ยประกัน และประเภทของประกัน
ส่วนประกันรถ EV ปัจจุบันยังมีให้เลือกซื้อได้ แค่ประกันชั้น 1 และ 2+ เท่านั้น เนื่องจากค่าซ่อมแซมรถประเภทนี้ค่อนข้างสูง และยังมีอู่ซ่อมเฉพาะทางอยู่น้อยมากๆ อีกทั้งค่าเบี้ยประกันรถ EV ยังแพงกว่าประกันรถยนต์น้ำมันถึง 20-30%
อ่านเพิ่มเติม: เปรียบเทียบประกันรถยนต์แต่ละชั้น คุ้มต่างกันยังไง?
ทั้งนี้ ประกันรถยนต์น้ำมัน และ ประกันรถ EV ถือเป็นประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่เจ้าของรถสามารถเลือกซื้อได้อย่างอิสระ ทั้งทำกับบริษัทประกันโดยตรง ตัวแทนประกัน รวมถึงซื้อประกันออนไลน์กับโบรเกอร์ชั้นนำ
8. เปรียบเทียบเรื่องไลฟ์สไตล์
ถ้าถามว่า สรุปแล้วควรเลือกรถไฟฟ้าหรือรถน้ำมัน? ก็คงบอกได้ว่าไม่มีคำตอบที่ตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับการใช้งาน และไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน ผู้ที่ต้องการซื้อรถ ควรถามตัวเองก่อนว่า ชอบใช้ชีวิตแบบไหน?
และมีความต้องการอะไรเป็นพิเศษบ้าง? แล้วจึงค่อยคัดเลือกรถที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด
เช่น ถ้าเป็นคนสมบุกสมบัน ขับรถทางไกลบ่อย รถน้ำมันอาจจะเหมาะกว่า เพราะจะสะดวกในเรื่องการจอดเติมน้ำมัน ไม่ต้องเสียเวลานานเท่าการจอดรถชาร์จแบต หรือถ้าใช้รถแค่ในกรุงเทพ มีจุดชาร์จรถใกล้ที่พัก
การขับรถไฟฟ้าก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ หรือถ้าเป็นคนชื่นชอบเทคโนโลยี และความสะดวกสบาย รถไฟฟ้าก็ตอบโจทย์ได้แน่นอน เพราะสามารถอัปเดตซอฟต์แวร์ได้เรื่อยๆ และสั่งการทุกอย่างได้ผ่านแอปพลิเคชัน
เป็นยังไงกันบ้าง กับข้อมูลดีๆ ที่นำมาฝากกันในครั้งนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ และช่วยให้ทุกคนเปรียบเทียบข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อรถได้ง่ายขึ้น