บทความ | สาระประกันภัย

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม? แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?
03/05/2023  สาระประกันภัย

แม้ว่าฤดูกาลยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีจะเพิ่งผ่านไปหมาดๆ แต่เชื่อว่าหลายคนก็เตรียมหาวิธีลดหย่อนภาษีในปีถัดไปกันแล้ว เพราะอยากนำเงินค่าภาษี ไปใช้จ่ายกับอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง และคนในครอบครัวมากกว่า 

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


โดยหนึ่งในวิธีลดหย่อนภาษียอดฮิตก็คือ “การซื้อประกันภัย” ซึ่งบางคนเลือกซื้อเป็นประกันรถยนต์ บางคนเลือกซื้อประกันสุขภาพ หรือบางคนอาจเลือกซื้อประกันชีวิต แต่รู้ไหมว่า ความจริงแล้ว มีเพียงประกันภัยบางประเภทเท่านั้นที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

อยากรู้ไหม ประกันแบบไหนใช้ลดหย่อนภาษีได้? ถ้าอยากรู้ก็ตามมาอ่านกันเลย  

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


“การลดหย่อนภาษี” คืออะไร?

ก่อนจะไปพูดถึงการใช้ประกันภัยลดหย่อนภาษี อยากพาทุกคนมารู้จักกับนิยามของคำนี้กันก่อน เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าคำนี้หมายถึงอะไร? และทำไมใครๆ ถึงให้ความสำคัญมากขนาดนั้น?

การลดหย่อนภาษี หมายถึง การนำรายจ่ายบางประเภทที่กำหนดไว้ตามกฎระเบียบของสรรพากร ไปหักออกจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว หรือที่เรียกว่าเงินได้สุทธิ เพื่อทำให้จ่ายภาษีเงินได้ ถูกลงกว่าที่กำหนด

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


อธิบายง่ายๆ ด้วยสูตรคำนวณ ดังนี้ 

รายได้ (ต่อปี) - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีเงินได้ที่ต้องจ่าย

จะเห็นได้ว่า ถ้าคุณมีรายจ่ายที่นำมาลดหย่อนได้เยอะ ก็จะทำให้เงินได้สุทธิถูกหักออกไปเยอะ และทำให้ภาษีเงินได้ลดลงตามไปด้วย เพราะเงินได้สุทธิเป็นปัจจัยสำคัญในการคิดคำนวณภาษี ดังนั้น จึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมใครๆ ถึงพยายามมองหาตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีกันทุกปี

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?

หนึ่งในรายจ่ายที่กรมสรรพากรกำหนดให้นำมาลดหย่อนได้ คือประกันภัย แต่ต้องเป็นประกันลดภาษี ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตเท่านั้น กล่าวคือ เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศ

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?

สำหรับใครที่สงสัยว่าประกันรถยนต์ เข้าข่ายประกันที่ลดภาษีได้ไหม? ก็ต้องบอกตามตรงว่า “ไม่ได้” เพราะถึงแม้รถยนต์จะเป็นสิ่งจำเป็นของคนส่วนใหญ่ในยุคนี้ แต่เมื่อพิจารณาตามกฎระเบียบของสรรพากรแล้วพบว่า รถยนต์ก็ไม่นับว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่คนเราขาดไม่ได้ นั่นเลยทำให้ประกันภัยรถยนต์ ถูกจัดให้อยู่ในรายจ่ายที่ไม่จำเป็นด้วยเช่นกัน จึงไม่สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ทุกกรณี 

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีไม่ได้ แต่ยังสำคัญ

แม้ว่าข้อมูลด้านบนจะสรุปได้ว่า ประกันรถยนต์ใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้ แต่คนมีรถก็ควรทำประกันภัยประเภทนี้ต่อเนื่องทุกปี ไม่ให้ขาด เพราะยังถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถใช้คุ้มครองชีวิตและทรัพย์สิน ของทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และคู่กรณี ให้รอดพ้นความเสียหาย จากอุบัติเหตุไม่คาดฝันในอนาคตได้

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ดังนั้น หากใครที่อยากใช้ หรือกำลังมองหาประกันประเภทนี้ เพื่อยื่นขอลดหย่อนค่าภาษีในปีหน้าอยู่ อาจต้องปรับเปลี่ยนจุดประสงค์เพื่อหันมามองที่เรื่องความคุ้มครองเป็นหลัก 

โดยหลักในการเลือกประกันรถยนต์ที่ดีที่สุด คือ

  • เลือกทำตามกำลังทรัพย์ ไม่ฝืนจ่ายเกินกำลัง จนกระทบสภาพคล่องทางการเงิน 
  • เลือกให้ตรงกับความต้องการของตัวเอง เช่น ถ้าอยากเน้นเงื่อนไขความคุ้มครองไปที่การคุ้มครองคู่กรณี เพราะจ่ายค่าซ่อมรถของตัวเองไหว ก็สามารถเลือกทำได้ตั้งแต่ประกันชั้น 1 ไปจนถึงประกันชั้น 3 เป็นต้น

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ถ้าประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีไม่ได้ แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนภาษีได้?

อย่างที่บอกไปแล้วว่า ประกันภัยที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ต้องเกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ดังนั้น ประกันที่ตรงตามเงื่อนไข ประกอบไปด้วย “ประกันสุขภาพ” และ “ประกันชีวิต” 

แต่บทความนี้จะพูดถึงประกันลดหย่อนภาษีอันดับหนึ่งในใจใครหลายคน อย่างประกันสุขภาพเพียงอย่างเดียว เพราะเป็นประกันระยะสั้นที่ทำได้ปีต่อปี ไม่ผูกมัดระยะยาว และมักมีค่าเบี้ยที่ถูกกว่า แต่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมสุขภาพหลายด้าน 

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ซึ่งประกันสุขภาพที่จะนำมาลดหย่อนภาษีได้ ต้องเป็นประกันประเภทบุคคลเดียว ไม่ใช่ประกันแบบกลุ่ม โดยแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ ประกันสุขภาพของผู้ยื่นภาษี ประกันสุขภาพของพ่อแม่ผู้เสียภาษี และประกันสุขภาพของสามีหรือภรรยาตามกฎหมาย

นอกจากนี้ ควรมีเงื่อนไขที่เข้าเกณฑ์ด้านล่างนี้ อย่างน้อย 1 เงื่อนไข

  •  ประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การชดเชยทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ
  • ประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
  • ประกันภัยโรคที่ร้ายแรง 
  • ประกันภัยการดูแลระยะยาว 

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?

ส่วนใครที่สงสัยว่าจะใช้เบี้ยประกันภัยลดหย่อนภาษีได้อย่างไร? SMILE INSURE มีข้อมูลมาฝากกัน ดังนี้

ประกันสุขภาพของผู้ยื่นภาษี

คนที่ซื้อประกันสุขภาพให้ตัวเอง จะสามารถนำค่าเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท/ปี แต่ถ้าซื้อประกันสุขภาพควบคู่กับประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป เมื่อคิดมูลค่ารวมแล้ว จะต้องไม่เกิน 100,000 บาท 

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ประกันสุขภาพของพ่อแม่ผู้เสียภาษี

ถ้ามีการซื้อประกันสุขภาพให้กับพ่อแม่ที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี คุณสามารถนำค่าเบี้ยมาลดหย่อนภาษีตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงได้เช่นกัน แต่จะลดหย่อนของพ่อได้ไม่เกิน 15,000 บาท และลดหย่อนในส่วนของแม่ได้ไม่เกิน 15,000 บาท 

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ทั้งนี้ ถ้าคุณมีพี่น้องหลายคน พี่น้องทุกคนก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนร่วมกันได้ แต่ต้องคิดแบบหารเฉลี่ย เช่น เบี้ยประกันสุขภาพของแม่ 15,000 บาท และในครอบครัวมีลูก 3 คน นั่นหมายความว่า พี่น้องแต่ละคนจะลดหย่อนภาษีได้คนละ 5,000 บาท เท่านั้น ไม่ใช่คนละ 15,000 บาท เป็นต้น

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ประกันสุขภาพของสามีหรือภรรยาตามกฎหมาย

ถ้ามีการซื้อประกันสุขภาพให้คู่สมรส ซึ่งหมายถึงสามี หรือภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสไม่มีรายได้ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท/ปี 

นอกจากนั้น ถ้าจดทะเบียนสมรสระหว่างปีภาษี คู่สมรสตายระหว่างปี หรือคู่สมรสหย่าระหว่างปี จะยังคงหักลดหย่อนได้ตามปกติ

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ข้อควรรู้ก่อนทำประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี

อย่างไรก็ตาม ถึงประกันสุขภาพจะใช้ลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าประโยชน์สำคัญของมัน คือการคุ้มครองสุขภาพ และช่วยลดรายจ่าย ในเวลาที่ผู้ทำประกันเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน เราจึงมี 3 ข้อควรรู้เกี่ยวกับประกันสุขภาพมาฝากกัน เพื่อให้คนที่อยากทำประกันสุขภาพ มีความเข้าใจประกันประเภทนี้มากขึ้น

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ไม่ใช่ทุกคนที่ทำประกันสุขภาพได้

 เรื่องแรกที่ควรรู้ คือ ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถทำประกันสุขภาพได้ เพราะประกันแต่ละแผน จะมีข้อจำกัดเรื่องอายุ และโรคประจำตัวของผู้ทำประกัน เช่น ประกันสุขภาพเด็กอาจให้เริ่มทำได้ตั้งแต่อายุ 30 วัน ประกันสุขภาพทั่วไปเริ่มต้นที่ 1 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี ส่วนประกันสุขภาพเพื่อผู้อาวุโส อาจขยายช่วงอายุไปถึง 99 ปี เป็นต้น 

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ประกันสุขภาพไม่ได้ให้ความคุ้มครองทันทีเหมือนประกันรถยนต์

ประกันสุขภาพไม่ได้ให้ความคุ้มครองหลังได้รับเล่มกรมธรรม์ทันที เพราะต้องรอให้ผ่านระยะรอคอย (Waiting Period) ไปก่อน ถึงจะเคลมได้ ดังนี้ 1. โรคทั่วไปมีระยะรอคอยประมาณ 30 วัน หลังกรมธรรม์มีผลบังคับใช้ และ 2. โรคร้ายแรงมีระยะรอคอย 90-120 วัน หลังกรมธรรม์มีผลบังคับใช้

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ประกันสุขภาพคุ้มครองเฉพาะโรคที่ระบุไว้ในกรมธรรม์เท่านั้น

ประกันสุขภาพแต่ละแผน มีข้อยกเว้นที่จะไม่คุ้มครองโรคบางโรค เช่น ประกันสุขภาพ A คุ้มครองอาการเจ็บป่วยเกือบทุกอย่าง ยกเว้นโรคร้ายแรง ประกันสุขภาพ B คุ้มครองทั้งอาการเจ็บป่วยทั่วไป และโรคร้ายแรง เป็นต้น ดังนั้น ควรอ่านรายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจ

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


ทั้งนี้ ประกันสุขภาพส่วนใหญ่ จะไม่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลที่ไม่ใช่การรักษาโรคตามปกติทั่วไป เช่น การศัลยกรรมความงาม ภาวะแทรกซ้อนจากการทำศัลยกรรม การรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก ฯลฯ 

ประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม?  แล้วประกันแบบไหนลดหย่อนได้บ้าง?


เมื่อรู้แล้วว่าประกันที่ลดหย่อนภาษีได้ คือประกันสุขภาพ ไม่ใช่ประกันรถยนต์ ก็อย่าลืมทำประกันสุขภาพดีๆ ไว้สักฉบับ เพื่อเปลี่ยนเงินเสียภาษี ให้เป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์สูงสุดให้ตัวเอง และคนในครอบครัว

ติดต่อสอบถามข้อมูล และทำประกันสุขภาพ คลิก SMILE INSURE 

ขอคุณข้อมูลจาก

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ