รถเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วน! เรียกประกันได้หรือไม่?
รู้หรือไม่! ถึงแม้อุบัติเหตุรถชน หรือรถเสียบนทางด่วน จะไม่ได้มีข่าวให้เห็นบ่อยเหมือนกับอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วไป
แต่ความจริงแล้ว จำนวนเคสอุบัติเหตุบนทางด่วนนั้นมีมากกว่าที่คิด ยืนยันโดยข้อมูลย้อนหลัง ใน 3 ปีงบประมาณ จากการทางพิเศษแห่งประเทศ (กพท.)
ปีงบประมาณ 2565 (ต.ค. 64 - พ.ค. 65) มีอุบัติเหตุบนทางพิเศษเกิดขึ้น 667 ครั้ง
ปีงบประมาณ 2564 (ต.ค. 63 - ก.ย. 64) มีอุบัติเหตุบนทางพิเศษเกิดขึ้น 752 ครั้ง
ปีงบประมาณ 2563 (ต.ค. 62 - ก.ย. 63) มีอุบัติเหตุบนทางพิเศษเกิดขึ้น 809 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนทางด่วน ไม่ได้มีแค่ตัวเลขเหล่านี้เท่านั้น แต่ยังมีเรื่องการเคลมประกันรถยนต์ด้วย เพราะมีเงื่อนไขบางอย่างที่ต่างจากการเคลมประกันรถยนต์บนท้องถนนทั่วไป ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน
สาเหตุของอุบัติเหตุบนทางด่วน
จากสถิติย้อนหลัง 3 ปี พบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนทางด่วนมีหลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่คือ การทำผิดกฎหมายจราจร เช่น ขับรถเร็วเกินกำหนด เปลี่ยนเลนกะทันหัน เปลี่ยนเลนโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว ถอยหลังเมื่อขับเลยทางแยก ใช้โทรศัพท์มือถือขณะรถ เป็นต้น
นอกจากนั้นจะเป็นสาเหตุจากการหลับใน ก้มเก็บของขณะขับรถ ถนนลื่นเพราะฝนตก ไม่ชินเส้นทาง รวมถึงสภาพรถไม่พร้อมใช้งาน เช่น รถเสีย ยางแตก ยางระเบิด เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าอยากขับขี่ให้ปลอดภัย ห่างไกลอุบัติเหตุ ควรทำตามคำแนะนำดังนี้
1. ใช้ความเร็วไม่เกินกฎหมายกำหนด
ความเร็วสำหรับทางยกระดับ
รถยนต์ 4 ล้อ ไม่เกิน 100 กม./ชม.
รถบรรทุกมากกวา 2.2 ตัน และรถโดยสารมากกว่า 15 คน ไม่เกิน 80 กม./ชม.
รถรับส่งนักเรียน ไม่เกิน 80 กม./ชม.
ความเร็วสำหรับทางราบระดับพื้นดิน
รถยนต์ 4 ล้อ ไม่เกิน 110 กม./ชม.
รถบรรทุกมากกวา 2.2 ตัน และรถโดยสารมากกว่า 15 คน ไม่เกิน 90 กม./ชม.
รถรับส่งนักเรียน ไม่เกิน 90 กม./ชม.
อ่านเพิ่มเติม: เปรียบเทียบประกันรถยนต์แต่ละชั้น คุ้มต่างกันยังไง?
2. ขับรถเว้นระยะห่างจากคันข้างหน้าอย่างเหมาะสม
3. ก่อนเปลี่ยนเลน ควรเปิดไฟเลี้ยวเพื่อส่งสัญญาณให้รถคันอื่นในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
4. หากขับรถเลยทางแยกไปแล้ว ให้ขับรถต่อไป จนกว่าจะพ้นเขตทางด่วน แล้วค่อยหาเส้นทางอื่นไปต่อ ห้ามถอยหลังบนทางด่วนเด็ดขาด
5. ตรวจสอบสภาพรถให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
6. พักผ่อนให้เพียงพอก่อนขับรถทุกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม: เดินข้างถนนแล้วรถชนเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม?
7. ศึกษาเส้นทางก่อนเดินทาง และติดตามข่าวสารการจราจรจากช่องทางต่างๆ สวพ. FM 91 จส.100
8. งดใช้โทรศัพท์มือถือ ก้มเก็บของ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่จะรบกวนสมาธิขณะขับรถ
9. หากขณะขับรถ พบว่าเครื่องยนต์เกิดความผิดปกติ ให้ตั้งสติ และค่อยๆ ประครองรถเข้าจอดไหล่ทาง หรือเลนซ้ายสุด แล้วเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน
ถ้าเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วนจะเคลมประกันรถยนต์ได้ไหม?
ถ้าทำตามคำแนะนำทั้งหมดแล้ว แต่ยังเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้จากความไม่ตั้งใจ หรือความประมาทของผู้อื่น ถ้าคุณหรือคู่กรณีมีประกันรถยนต์ ก็สามารถเรียกเจ้าหน้าที่มาเคลมประกันรถยนต์ได้
แต่สิ่งที่ควรรู้คือ เจ้าหน้าที่ประกันจะไม่สามารถไปตรวจสอบเหตุการณ์ และทำเรื่องเคลมในพื้นที่ของทางด่วนได้ เพราะพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 139 ในระเบียบเกี่ยวกับการจราจรในทางพิเศษ พ.ศ. 2524
และกฎของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ประกันรถยนต์ขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่บนทางด่วน ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย และเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน
เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า รถที่ขับบนทางด่วนจะใช้ความเร็วสูงมาก อีกทั้งเจ้าหน้าที่ประกันเองก็มักจะใช้รถมอเตอร์ไซค์ในการทำงาน ซึ่งเป็นประเภทรถที่ห้ามขับขี่บนทางด่วนอยู่แล้ว
วิธีเคลมประกันรถยนต์เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วน
แม้ว่าเจ้าหน้าที่ประกันรถยนต์จะไม่สามารถขึ้นไป ณ จุดเกิดเหตุได้ แต่วิธีการเคลมประกันรถยนต์กรณีเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วน ก็ไม่ได้ยุ่งยาก โดยผู้ประสบเหตุสามารถทำตาม 5 ขั้นตอนง่ายๆ นี้ได้เลย
อ่านเพิ่มเติม: จอดรถทับทางม้าลาย อาจถูกปรับไม่รู้ตัว!
1. โทรแจ้งเหตุกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อให้ช่วยระงับเหตุในเบื้องต้น และเคลื่อนย้ายรถไปยังที่ปลอดภัย รวมถึงแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจทางหลวง โรงพยาบาล หน่วยกู้ชีพ เป็นต้น
เบอร์ฉุกเฉินที่ควรรู้
สายด่วนการทางพิเศษ โทร 1543 สำหรับแจ้งอุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉินบนทางด่วน
สายด่วนกรมทางหลวง โทร 1586 สำหรับแจ้งอุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉินบนทางหลวงและมอเตอร์เวย์
สายด่วนโทลล์เวย์ โทร 1233 สำหรับแจ้งอุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉินบนทางยกระดับโทลล์เวย์
ตำรวจทางหลวง โทร 1193
สายด่วนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) โทร 1669
สอบถามเพิ่มเติม ทักแชทมาได้เลยนะคะ
2. โทรแจ้งเหตุกับบริษัทประกันรถยนต์
3. ถ่ายรูป หรือวิดีโอ เพื่อบันทึกเหตุการณ์ รวมถึงถ่ายรูปบัตรประชาชนของคู่กรณี เพื่อป้องกันการหลบหนีในภายหลัง
4. ระหว่างรอเจ้าหน้าที่การทางฯ เดินทางมาให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบเหตุควรเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินเพื่อแจ้งเตือนรถด้านหลัง แล้วนั่งรอเจ้าหน้าที่อยู่ภายในรถของตนเอง ไม่ควรออกมายืนรอนอกรถเด็ดขาด เพราะอาจถูกรถชนได้
5. นัดหมายสถานที่กับเจ้าหน้าที่ประกันรถยนต์ และคู่กรณี เพื่อทำเรื่องเคลมประกันรถยนต์ตามขั้นตอนปกติต่อไป
ประกันรถยนต์ตัวช่วยสำคัญเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วน
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าทุกคนคงเห็นแล้วว่า เบอร์โทรฉุกเฉินเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่ SMILE INSURE อยากช่วยเสริมอีกนิดว่า “ประกันรถยนต์” ก็สำคัญไม่ต่างกัน เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุทางด่วน แล้วรถไม่มีประกัน
ผู้ประสบเหตุจะต้องรับผิดชอบค่าลากจูงรถออกนอกเขตทางด่วน ค่าซ่อมรถ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลด้วยตัวเองทั้งหมด แต่ถ้ารถมีประกัน ผู้ประสบเหตุก็จะสามารถเคลมประกันรถยนต์ในส่วนนี้ได้
ทั้งนี้ ความคุ้มครองเรื่องค่าใช้จ่ายในการลากจูงรถ ขึ้นอยู่กับประเภทของประกัน และเงื่อนไขของบริษัทกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วประกันชั้น 1, 2+ และ 3+ จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้ตามจริง แต่ไม่เกิน 20% ของค่าซ่อมรถ
สอบถามเพิ่มเติม ทักแชทมาได้เลยนะคะ
เลือกทำประกันรถยนต์แบบไหนดี?
สำหรับใครที่จำเป็นต้องใช้ทางด่วนเป็นประจำ และกำลังสงสัยว่าจะเลือกทำประกันภัยรถยนต์แบบไหนดี? ถึงจะคุ้มค่ามากที่สุด แน่นอนว่าคำตอบก็คงเป็น “ประกันรถยนต์ชั้น 1” เพราะให้ความคุ้มครองแบบรอบด้านมากที่สุด คือ
คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย
คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ อุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ แต่ไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้
คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ คือ ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ ที่ถูกไฟไหม้ หรือสูญหาย เพราะถูกลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือเป็นผลมาจากการพยายามกระทำดังกล่าว
แต่ถ้ามั่นใจในการขับรถของตัวเอง หรือต้องการประหยัดงบประมาณลงอีกนิด ก็สามารถทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ ได้ เพราะถึงแม้ประกันรถยนต์ ชั้น 2+ ราคาถูกกว่าประกันชั้น 1 แต่ก็ให้ความคุ้มครองที่ค่อนข้างครอบคลุม
ประกันชั้น 2+ คุ้มครองอะไรบ้าง?
1. คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย
2. คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
3. คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีรถชนแบบมีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก (รถชนรถ) เท่านั้น
4. คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย คือ ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ อุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ ที่ถูกไฟไหม้
หรือเกิดการสูญหายจากการกระทำที่ผิดกฎหมายของผู้อื่น เช่น การลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ เป็นต้น
โดยคำว่า “มีคู่กรณี” สำหรับการเคลมประกันชั้น 2+ หมายถึง จะต้องมีคู่กรณีอยู่ในตอนที่ทำเรื่องเคลมประกันด้วย หรือต้องติดตามคู่กรณีมารับผิดชอบในภายหลังได้ หรือถ้าคู่กรณีหลบหนีไปแล้ว
ผู้เอาประกันจะต้องมีหลักฐานชัดเจน ที่สามารถยืนยันได้ว่ามีคู่กรณีจริง แต่คู่กรณีหลบหนีไปแล้ว
สรุปคือ หากรถเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วน จะยังก็สามารถเรียกเคลมประกันรถยนต์ได้ แต่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายรถให้พ้นเขตทางด่วนไปก่อน เพราะข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย ทำให้เจ้าหน้าที่ประกันไม่สามารถทำเรื่องเคลมที่จุดเกิดเหตุได้ทันที