RSV ไวรัสร้าย! ช่วงปลายฝน-ต้นหนาว
RSV ไวรัสร้าย! ที่ใกล้ตัวลูกน้อย
เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาวมักจะเป็นช่วงที่มีโรคระบาดเกิดขึ้นมากมาย ผู้คนเป็นไข้หวัดกันได้ง่าย เพราะเป็นการเปลี่ยนจากหน้าฝนสู่หน้าหนาว อากาศในช่วงนี้จึงค่อนข้างแปรปรวนทำให้ร่างกายของเราปรับสภาพตามไม่ทัน
และบางคนอาจภูมิคุ้มกันตกโดยเฉพาะกับเด็กเล็กซึ่งจะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ โดยโรคยอดฮิตที่มักจะทำให้เด็กส่วนใหญ่ป่วย คือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส RSV
RSV คืออะไร?
โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ให้ความหมายว่า ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง
อ่านเพิ่มเติม: เช็กให้ชัวร์ อาการแบบนี้เป็นหวัดหรือภูมิแพ้กันแน่?
สามารถเกิดการติดเชื้อได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากแล้วมักเกิดในเด็กเล็กๆ ที่อายุต่ำกว่า 3 ปี สำหรับในประเทศไทยอาจพบการระบาดได้บ่อยในช่วงฤดูฝนหรือช่วงปลายฝนต้นหนาว
RSV ติดต่อได้อย่างไร?
การติดต่อของเชื้อ RSV สามารถติดต่อผ่านสารคัดหลังภายในร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอ จาม และการสัมผัสโดยตรง หากเด็กได้รับเชื้อ ระยะฟักตัวของโรคจะอยู่ที่ประมาณ 5 วัน โดยในช่วง 2 – 4 วันแรกมักมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล
เมื่อผู้ป่วยมีการดำเนินโรคมีมากขึ้นทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ และโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ ในบางรายเกิดอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงครืดคราด มีเสมหะในลำคอ
อาการของการติดเชื้อ RSV กับ ไข้หวัดธรรมดา
หากได้รับเชื้อ เบื้อต้นผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนไข้หวัดทั่วไป แต่เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง จะพบว่าอาการยังไม่ทุเลาลงแถมยังมีไข้สูงขึ้นเรื่อยๆ หายใจลำบากขึ้น ไอมากขึ้น และบางรายมักจะมีเสมหะที่ข้นเหนียวกว่าปกติ โดยรวมอาการทั่วไปที่พบบ่อยจะมีดังนี้
- อาการไข้ขึ้นสูงขึ้นๆ ลงๆ และมีน้ำมูกใสๆ ไหลตลอด
- ไอมากขึ้น และมีเสมหะปริมาณมาก
- หายใจหอบเหนื่อย หน้าอกบุ๋ม อาจมีเสียงหายใจดังวี้ดๆ
- เบื่ออาหาร
- มีอาการซึมลง หรืออารมณ์ไม่ดีผิดปกติ
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV
- ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- กลุ่มคนที่เป็นโรคหัวใจ หรือคนพิการแต่กำเนิด
- ทารกคลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 3 ปี
การรักษาผู้ป่วย RSV เบื้องต้น
หากพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัส RSV จะต้องแยกตัวออกจากผู้อื่น แยกภาชนะ ของใช้ส่วนตัว และหยุดพักรักษาตัวจนกว่าจะหายดี เพราะปัจจุบันยังไม่มียารักษาเฉพาะโรค เบื้องต้นแพทย์จะให้ยารักษาตามอาการไปก่อน
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง คืออาการเหมือนหวัด ทั่วไปก็จะให้รักษาตัวที่บ้านและทานยาตามการ คือ ให้ยาลดไข้ และเช็ดตัวเพื่อลดไข้ แต่ในบางกรณีที่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมีอาการเหนื่อยหอบและหายใจถี่มากขึ้นก็จะต้องไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาพักฟื้นที่โรงพยาบาล
นอกจากโรค RSV ก็ยังมีโรคอื่นๆ ที่มักจะทำให้เราป่วยบ่อยในช่วงที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายตก นอกจากเราจะต้องดูแลตัวเองมากขึ้นแล้ว ทั้งการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และเสริมด้วยวิตามินสร้างภูมิคุ้มกัน
เราก็ควรจะทำประกันสุขภาพไว้เพื่อคุ้มครองเวลาเจ็บป่วย เพราะประกันสุขภาพนั้นสำคัญมาก
แม้จะไม่ได้ใช้ในทันทีแต่หากอนาคต เกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้นมา ก็เหมือนมีตัวช่วยค่ารักษาพยาบาล ทั้งค่าห้อง ค่ายา
ทำให้เราไม่ต้องเสียค่ารักษาที่แสนแพง จ่ายค่าเบี้ยเบาแต่ได้รับความคุ้มครองที่ดี สามารถทำได้ทันทีไม่ได้รอให้ป่วยก่อน เราทุกคนจึงควรทำประกันสุขภาพกันค่ะ