บทความ | สาระน่ารู้อื่นๆ

ไอตอนกลางคืนบ่อยๆ อย่าชะล่าใจ อาจอันตรายกว่าที่คิด!

ไอตอนกลางคืนบ่อยๆ อย่าชะล่าใจ อาจอันตรายกว่าที่คิด!
08/08/2023  สาระน่ารู้อื่นๆ

หลายครั้งการนอนหลับไม่สนิทก็มาจากปัญหารบกวนหลายอย่าง ที่คนส่วนใหญ่มักเจอกันบ่อยๆ อย่างเช่น คัดจมูก หายใจไม่สะดวกตอนนอน รวมถึงอาการไอแห้งไปจนถึงไอมีเสมหะเรื้อรัง 


ซึ่งปัญหาเหล่านี้หลายคนอาจจะไม่ได้วิตกกังวลกันมากแต่อย่างใด และยังคงคิดว่าเป็นเรื่องปกติตื่นเช้ามาอาการคงดีขึ้น 


แต่ที่จริงแล้วการที่เราไอตอนกลางคืนบ่อยๆ นั้นอันตรายกว่าที่คิด เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของร่างกายที่นำมาสู่การเกิดโรคบางอย่างได้!

 ไอตอนกลางคืนบ่อยๆ อย่าชะล่าใจ อาจอันตรายกว่าที่คิด! | SMILE INSURE


อาการไอเกิดจากอะไร?

อาการไอเกิดจากการติดเชื้อไวรัส (Viral Infections)  อาการไอแห้งส่วนใหญ่ มักเป็นผลจากโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ 

โดยมีการระคายเคืองในช่วงทางเดินหายใจส่วนบน อาจต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้นกว่าที่จะหายเป็นปกติ และเนื่องจากระบบทางเดินหายใจมีความบอบบาง ไวต่อการระคายเคืองเป็นอย่างมาก ทำให้ในช่วงกลางคืนที่มีอากาศแห้ง ส่งผลให้อาการไอหนักขึ้นได้


อาการไอแบ่งได้ 3 ชนิดตามระยะเวลา ดังนี้

  • ไอเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์
  • ไอกึ่งเฉียบพลัน คือ อาการไอที่มีระยะเวลาระหว่าง 3-8 สัปดาห์
  • ไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่าหรือเท่ากับ 8 สัปดาห์

 อ่านเพิ่มเติม: เช็กให้ชัวร์ อาการแบบนี้เป็นหวัดหรือภูมิแพ้กันแน่?

ไอตอนกลางคืนเสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

1. โรคหอบหืด 

ทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอักเสบ บวม และตีบ ส่งผลให้มีอาการหายใจลำบาก ไอเรื้อรัง ซึ่งอาการไอในโรคหอบหืดนั้นสามารถเป็นได้ทั้ง การไอแบบมีเสมหะ (Productive Cough) หรือ แบบไอแห้ง ไม่มีเสมหะก็ได้ (Non-Productive Cough) โดยมักจะมีอาการหนักขึ้นในช่วงกลางคืนจนถึงรุ่งสาง  

2. โรคกรดไหลย้อน 

เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง โดยที่กรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับมา บริเวณหลอดอาหาร กล่องเสียง หรือหลอดลม ซึ่งจะเข้าไปกระตุ้นการไอได้เมื่อนอนราบลง  

3. หวัดน้ำมูกไหล

เกิดจากการที่ต่อมผลิตมูกออกมาบริเวณจมูกหรือไซนัสในปริมาณมาก เมื่อเจอเข้ากับสิ่งแปลกปลอม หรือการระคายเคือง ทำให้น้ำมูกบางส่วนไหลลงเข้าไปส่วนหลังคอ โดยเฉพาะเมื่อนอนในลักษณะราบยิ่งกระตุ้นให้ไหลเร็วขึ้น ทำให้รู้สึกคันที่คอ และเกิดอาการไอได้ 

5. ภูมิแพ้ 

เกิดจากการแพ้ไรฝุ่นภูมิแพ้อากาศ ในห้องนอน เช่น หมอน ที่นอน มักจะมีไรฝุ่นอาศัยอยู่ และบางคนมักจะแพ้อากาศเย็นในตอนกลางคืน ยิ่งเปิดแอร์เย็น ๆ ยิ่งกระตุ้นอาการไอมากขึ้น

 ไอตอนกลางคืนบ่อยๆ อย่าชะล่าใจ อาจอันตรายกว่าที่คิด! | SMILE INSURE


นอกจากนี้แล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่พบได้น้อย หรือไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง แต่อาจส่งผลให้เกิดอาการ ไอตอนกลางคืน ได้ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เส้นเลือดปอดอุดตัน (Pulmonary Embolism) 

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด โรคไอกรน (Whooping cough) วัณโรค หรือ มะเร็งปอด เป็นต้น  

 อ่านเพิ่มเติม: "อาหารเป็นพิษ" ท้องเสียแบบไหนที่ควรพบแพทย์?

 

ทำไมห้องนอนมีผลต่อการไอ?

เพราะการนอนในห้องแอร์ที่มีอากาศแห้ง ทำให้เพิ่มการระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจ ส่งผลให้อาการไอแย่ลง รวมไปถึงการมีเชื้อรา ฝุ่น สัตว์เลี้ยง หรือสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ ก็ส่งผลต่ออาการไอเช่นกัน

ไอตอนกลางคืนบ่อยๆ อย่าชะล่าใจ อาจอันตรายกว่าที่คิด! | SMILE INSURE


จะป้องกันอาการไอได้อย่างไร?

การไอที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคหรืออาการป่วยที่ร้ายแรง จะเป็นการกำจัดสิ่งแปลกปลอมและสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ การป้องกันไม่ให้เกิดการไอจึงทำได้โดย

  • ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพื่อรักษาสุขภาพปอดและหัวใจ
  • หลีกเลี่ยงมลภาวะ เช่น ฝุ่นจากการก่อสร้าง ควันบนท้องถนน
  • หากเป็นโรคภูมิแพ้ หรือแพ้ยา แพ้สารใด ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นในชีวิตประจำวัน
  • รับประทานอาหารบำรุงสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ และอาหารที่มีกากใยสูง เนื้อสัตว์ เนื้อปลา นม ธัญพืช อาหารที่มีไขมันต่ำ เพื่อสร้างภูมิต้านทานที่ดี
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ เพื่อสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง

 อ่านเพิ่มเติม: ไขข้อสงสัย ฝนตกทําให้เป็นหวัดจริงหรือไม่?

7 วิธีรักษาอาการไอเบื้องต้นด้วยตนเอง

1. จัดห้องนอนให้โล่งมีอากาศถ่ายเท ไม่รกเพราะจะเป็นที่สะสมของฝุ่น

2. นอนหนุนหมอนสูง เพราะ วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำมูก เสมหะที่กลืนลงคอไประหว่างวันย้อนกลับขึ้นมาตอนนอนได้ 

3. หลีกเลี่ยงอากาศเย็นหรือหากเปิดแอร์ควรตั้งอุณหภูมิอยู่ให้สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการนอนที่โดนแอร์หรือพัดลมเป่าโดยตรง

4. นอนห่มผ้าทุกครั้งเวลานอน โดยให้ผ้าห่มคลุมหน้าอก

5. ดื่มน้ำให้มากๆโดยเฉพาะน้ำอุ่นหรือ น้ำอุณหภูมิห้อง

6. หมั่นทำความสะอาดห้องนอน และเครื่องนอนทุกสัปดาห์ เพื่อป้องกันไรฝุ่น

7. ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เป็นการทำความสะอาดภายในโพรงจมูก ซึ่งจะช่วยให้ทางเดินหายใจของคุณโล่ง สะอาดขึ้น ลดน้ำมูก เสมหะ หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ในโพรงจมูก 

 อ่านเพิ่มเติม: ปักหมุด 8 พิกัด เสริมดวงตลอดปี สุขภาพดี ไม่ป่วยง่าย

สรุปคือการไอตอนกลางคืน มีสาเหตุมาจากโรค หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ที่มีไรฝุ่น หรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ซึ่งจะเป็นหนักขึ้นในช่วงตอนกลางคืนที่มีอากาศแห้ง 

 เพิ่มเพื่อน

แต่ก็สามารถรักษาให้หายได้ด้วยตนเอง โดยพ่นคอ หรืออมยาแก้ไอ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงมากแนะนำให้ควรไปพบแพทย์

ไอตอนกลางคืนบ่อยๆ อย่าชะล่าใจ อาจอันตรายกว่าที่คิด! | SMILE INSURE


การดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองเป็นสิ่งสําคัญ แต่จะมียิ่งกว่าถ้าเสริมความคุ้มรองตัวเราด้วยการทําประกันสุขภาพ และประกันสุขภาพที่ดีที่สุด ก็คงไม่พ้นประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ผู้ทำประกันมากที่สุด 

ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยประกัน เงื่อนไขกรมธรรม์ หรือชื่อเสียงของบริษัทประกันภัย เราขอแนะนําที่ SMILE INSURE เลย เพราะมีประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์กับทุกคนอย่างแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก

 ปรึกษาและซื้อประกันสุขภาพออนไลน์กับ SMILE INSURE คลิก  https://smileinsure.co.th/insurance-promotions?q=ประกันสุขภาพ
สอบถามข้อมูลประกันทุกประเภท ได้ที่ INBOX:
m.me/smileinsure  LINE ไอดี @smileinsure หรือคลิก  https://lin.ee/QePEnIL  หรือโทร Call Center 02-233-9999

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ