บทความ | สาระประกันภัย

อุปกรณ์เสริมรถแบบไหน? ที่ประกันไม่คุ้มครอง!

อุปกรณ์เสริมรถแบบไหน? ที่ประกันไม่คุ้มครอง!
08/11/2023  สาระประกันภัย

การติดตั้งอุปกรณ์เสริมรถยนต์ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “แต่งรถ” เป็นเรื่องของความชอบส่วนบุคคล ที่ทำให้เจ้าของรถมีความสุขกับการใช้รถในระยะยาว เพราะการแต่งรถช่วยให้รถคันโปรด โดดเด่นไม่ซ้ำใคร อีกทั้งยังบ่งบอกไลฟ์สไตล์ และรสนิยมของผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 


แต่สิ่งที่คนชอบแต่งรถอาจจะไม่รู้ คือ การแต่งรถที่มากเกินพอดี อาจเป็นสาเหตุให้ประกันรถยนต์ปฏิเสธความคุ้มครองได้ นั่นเท่ากับว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถ ต้องรับผิดชอบความเสียหายเองทั้งหมด

อุปกรณ์เสริมรถแบบไหน? ที่ประกันไม่คุ้มครอง! | SMILE INSURE


ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่อยากเจอเหตุการณ์แบบนี้ ก็อย่าเพิ่งติดตั้งอุปกรณ์เสริมรถใดๆ กับตัวรถ จนกว่าจะได้อ่านบทความนี้! 

อุปกรณ์เสริมรถแบบไหน? ที่ประกันไม่คุ้มครอง! | SMILE INSURE


อุปกรณ์เสริมรถมีกี่ประเภท?

อุปกรณ์เสริมรถที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

1. อุปกรณ์เสริมรถเพื่อความสวยงาม หมายถึง อุปกรณ์เสริมรถใดๆ ก็ตาม ที่ติดตั้งเพื่อจุดประสงค์ในด้านความสวยงาม เช่น สติกเกอร์ อุปกรณ์ตกแต่งเบาะ สปอยเลอร์ สเกิร์ต เป็นต้น 

2. อุปกรณ์เสริมรถเพื่อการใช้งาน หมายถึง อุปกรณ์เสริมรถ ที่ติดตั้ง เพื่อจุดประสงค์ในการดัดแปลง หรือปรับเปลี่ยนสมรรถนะของรถ ให้ทำงานแตกต่างไปจากมาตรฐานเดิมของศูนย์รถยนต์ เช่น เครื่องยนต์ ล้อแม็กซ์ ยางรถ ซุ้มล้อ ชุดเบรก เป็นต้น

อุปกรณ์เสริมรถแบบไหน? ที่ประกันไม่คุ้มครอง! | SMILE INSURE


ติดตั้งอุปกรณ์เสริมรถ ประกันรถยนต์จะคุ้มครองไหม? 

การติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่ตัวรถ แม้จะแค่นิดเดียว ก็สามารถทำให้รูปลักษณ์ของรถยนต์แตกต่างไปจากเดิมได้ จึงทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า ถ้าติดตั้งอุปกรณ์เสริมรถแล้ว ประกันรถยนต์จะให้ความคุ้มครองไหม? แล้วจะคุ้มครองอุปกรณ์เสริมด้วยหรือไม่? 

อุปกรณ์เสริมรถแบบไหน? ที่ประกันไม่คุ้มครอง! | SMILE INSURE


สำหรับคำตอบนั้น เชื่อว่าคงถูกใจคนชอบแต่งรถแน่ๆ เพราะประกันรถยนต์จะให้ความคุ้มครองรถยนต์ที่ติดตั้งอุปกรณ์เสริมรถด้วย แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขเหล่านี้ด้วย 

1. มีการแจ้งกับบริษัทประกันก่อนทำประกันอย่างละเอียดว่า ติดตั้งอุปกรณ์เสริมรถอย่างไร และติดตั้งตรงไหนบ้าง

2. อุปกรณ์เสริมรถยนต์นั้นไม่ผิดเงื่อนไขของกรมธรรม์ คือ ไม่ได้เป็นการดัดแปลงเครื่องยนต์ ไม่เป็นการดัดแปลงเพื่อใช้รถผิดประเภท ไม่ใช่การรถแบบผิดกฎหมาย หรือไม่เป็นอันตรายต่อบุคคลอื่นบนท้องถนน

อ่านเพิ่มเติม: รู้ก่อนซื้อ รถ Hybrid มีข้อดี-ข้อเสีย อะไรบ้าง?

โดยประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองรถยนต์ที่ติดตั้งอุปกรณ์เสริมรถได้ คือ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันรถยนต์ชั้น 2+ และประกันรถยนต์ชั้น 3+ เพราะเป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกัน 

เพิ่มเพื่อน

สอบถามเพิ่มเติม ทักแชทมาได้เลยนะคะ

แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ว่า ราคาอุปกรณ์เสริมต้องไม่เกิน 20,000 บาท และ ต้องติดจากจากศูนย์ที่ได้มาตรฐาน ส่วนความคุ้มครองหากแจ้งประกันเรื่องอุปกรณ์เสริมแล้ว เมื่อเกิดเหตุก็จะได้รับการประกัน 

รวมไม่เกินทุนประกันที่เลือกทำไว้ หากพบว่ามีการปกปิด หรือ แจ้งรายละเอียดของอุปกรณ์เสริมไม่ครบ บริษัทประกันมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการรับประกัน และ ไม่รับผิดชอบค่าเสียหาย

อุปกรณ์เสริมรถแบบไหน? ที่ประกันไม่คุ้มครอง! | SMILE INSURE


ตัวอย่างอุปกรณ์เสริมรถที่ประกันรถยนต์คุ้มครอง

ถ้าอยากให้การติดตั้งอุปกรณ์เสริมรถในแต่ละครั้ง ได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันรถยนต์ ควรเลือกใช้อุปกรณ์เสริมที่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมรรถนะของรถ และไม่ทำให้บุคคลอื่นๆ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น 

อ่านเพิ่มเติม: เปรียบเทียบก่อนซื้อ รถไฟฟ้า vs รถน้ำมัน เลือกอะไรดี?

อุปกรณ์เสริมรถเพื่อความสวยงาม 

  • สปอยเลอร์ หรือสเกิร์ต ที่ไม่ยื่นออกจากตัวรถมากเกินไป ที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้รถคันอื่น หรือคนเดินริมถนน 

  • ทำสีรถใหม่ไม่เกิน 30% ของตัวรถ

  • ติดตั้งเครื่องเสียงภายในรถ

อุปกรณ์เสริมรถเพื่อการใช้งาน 

  • เปลี่ยนขนาดยางรถยนต์

  • ล้อแมกซ์ 

  • อุปกรณ์ก๊าซ LPG/NGV 

อ่านเพิ่มเติม: รถเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วน! เรียกประกันได้หรือไม่?

ตัวอย่างอุปกรณ์เสริมรถที่ประกันรถยนต์ไม่คุ้มครอง

นอกจากประกันจะไม่ให้ความคุ้มครองแล้ว เจ้าของรถยังมีสิทธิ์ถูกปรับตามกฎหมายด้วย เช่น 

อุปกรณ์เสริมรถแบบไหน? ที่ประกันไม่คุ้มครอง! | SMILE INSURE


อุปกรณ์เสริมรถเพื่อความสวยงาม 

  • การถอดเบาะออก หรือติดตั้งเบาะเพิ่ม (อ้างอิงตามข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์)

ถือว่าเป็นการใช้อุปกรณ์เสริมรถที่มีความผิดตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ที่ระบุว่า “รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 

อุปกรณ์เสริมรถแบบไหน? ที่ประกันไม่คุ้มครอง! | SMILE INSURE


หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกแล้ว” มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม: จะเกิดอะไรขึ้น? ถ้าต่อประกันรถไม่ทันวันหมดอายุ!

  • อุปกรณ์เสริมรถอื่นๆ ที่ทำให้รูปลักษณ์ของรถเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง หรือมีการยื่นออกมานอกตัวรถมากเกินไป จนเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ เช่น ติดสติกเกอร์รอบคันจนไม่เห็นสีเดิมของรถ โดยไม่มีการแจ้งต่อกรมการขนส่งทางบกและบริษัทประกัน สปอยเลอร์ท้ายรถที่ยื่นออกมาจากตัวรถมากผิดปกติ เป็นต้น 

อุปกรณ์เสริมรถแบบไหน? ที่ประกันไม่คุ้มครอง! | SMILE INSURE


อุปกรณ์เสริมรถเพื่อการใช้งาน

  • ท่อไอเสียที่มีความดังเกิน 100 เดซิเบล 

    กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้รถยนต์ทุกประเภทที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 1 ม.ค. 57 ต้องมีท่อไอเสียที่ดังไม่เกิน 100 เดซิเบลเอ ส่วนรถยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 1 ม.ค. 57 เป็นต้นไป หากมีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,200 กก. 

ต้องมีเสียงดังไม่เกิน 99 เดซิเบลเอ และรถน้ำหนักน้อยกว่า 2,200 กก. ต้องมีเสียงดังไม่เกิน 95 เดซิเบลเอ หากฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

เพิ่มเพื่อน

สอบถามเพิ่มเติม ทักแชทมาได้เลยนะคะ

  • ดัดแปลงเครื่องยนต์ให้แรงกว่าเดิม เพื่อนำรถยนต์ส่วนบุคคลไปใช้แข่งขัน 

    ถือว่าเป็นการใช้รถผิดประเภท มีความผิดตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ต้องโดนโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท

  • ป้ายทะเบียนรถยนต์ที่ดัดแปลงเอง เช่น เพ้นท์เอง ติดสติกเกอร์ ทำป้ายเลียนแบบป้ายทะเบียนรถพิเศษ ฯลฯ 

    มีความผิดตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11 ที่ระบุว่า ห้ามใช้แผ่นป้ายทะเบียนที่มีลักษณะไม่ถูกต้อง ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือนำวัสดุหรือสิ่งอื่นใดมาปิดบัง หรือติดไว้ในบริเวณใกล้เคียงกับแผ่นป้ายทะเบียนรถ ต้องโดนโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม: จะต่ออายุประกันรถทั้งที ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? มาดูกัน!

  • ไฟหน้ารถหลากสี (ไฟไอติม) 

การใช้ไฟหลากสี และสว่างกว่ามาตรฐานของศูนย์รถยนต์ อาจทำให้ผู้ใช้รถคันอื่นๆ เกิดอุบัติเหตุได้ จึงถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 

ในมาตรา 38 ที่กำหนดให้ไฟเลี้ยวต้องเป็นสัญญาณกะพริบสีอำพัน และไฟเบรกเป็นสีแดงเท่านั้น หากฝ่าฝืนต้องโดนโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท

อุปกรณ์เสริมรถแบบไหน? ที่ประกันไม่คุ้มครอง! | SMILE INSURE

ถ้าคุณติดตั้งอุปกรณ์เสริมรถไปแล้ว หรือมีแผนจะติดตั้งในเร็วๆ นี้ ก็อย่าลืมตรวจสอบให้ชัดเจนว่า อุปกรณ์เสริมเหล่านั้น  อยู่ในกลุ่มที่ประกันรถยนต์ไม่คุ้มครองหรือไม่? 

เพราะอุปกรณ์เสริมบางอย่างนั้น นอกจากประกันจะไม่ให้ความคุ้มครองแล้ว เจ้าของรถยังมีสิทธิ์ถูกปรับตามกฎหมายด้วย 

อุปกรณ์เสริมรถแบบไหน? ที่ประกันไม่คุ้มครอง! | SMILE INSURE


เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อว่าหลายคนที่ชอบแต่งรถ คงจะได้ไอเดียในการเลือกซื้ออุปกรณ์เสริมรถกันมากขึ้น ว่าควรซื้อแบบไหน? และแต่งแบบไหน? ถึงจะดีที่สุด 

เพิ่มเพื่อน

สอบถามเพิ่มเติม ทักแชทมาได้เลยนะคะ

แต่ไม่ว่าคุณจะชอบแต่งรถแบบสายเท่ สายหวาน หรือสายซิ่ง ก็อยากเน้นย้ำว่า อย่าลืมทำประกันรถยนต์เอาไว้ด้วย เพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้คุณและรถ 

โดยแนะนำเป็นประกันชั้น1 เพราะให้ความคุ้มครองรอบด้านมากที่สุด และมีทุนประกันในด้านต่างๆ สูงที่สุดด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก

ปรึกษาและซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์กับ คลิก SMILE INSURE
สอบถามข้อมูลประกันทุกประเภท ได้ที่ INBOX:
 m.me/smileinsure  LINE ไอดี @smileinsure หรือคลิก https://lin.ee/v4icShM หรือโทร Call Center 02-233-9999

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ