"อาหารเป็นพิษ" ท้องเสียแบบไหนที่ควรพบแพทย์?
เข้าสู่ฤดูฝนเป็นช่วงแห่งการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ ที่มักจะมาพร้อมหน้าฝน และโรคที่คนส่วนใหญ่แทบทุกวัยจะเป็นการมากที่สุดในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร จำพวก “โรคอาหารเป็นพิษ”
โรคนี้จะมีอาการอย่างไรบ้าง และอาการแบบไหนที่เป็นสัญญาณอันตราย ที่เตือนว่าควรรีบไปพบแพทย์ มาดูไปพร้อมกันเลย
ภาวะอาหารเป็นพิษ ท้องเสียแบบไหนที่ควรพบแพทย์?
เข้าสู่ฤดูฝนเป็นช่วงแห่งการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ ที่มักจะมาพร้อมหน้าฝน และโรคที่คนส่วนใหญ่แทบทุกวัยจะเป็นการมากที่สุดในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร จำพวก “โรคอาหารเป็นพิษ”
จะมีอาการอย่างไรบ้าง และอาการแบบไหนที่เป็นสัญญาณอันตราย ที่เตือนว่าควรรีบไปพบแพทย์ มาดูไปพร้อมกันเลย
อาหารเป็นพิษคืออะไร?
อาหารเป็นพิษ (food poisoning) เป็นภาวะที่เกิดจากรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน มีอาการปวดท้องและท้องเสียถ่ายเหลวตามมา
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคจำพวก S.aureus หรือ B. cereus หรือ C. perfringens ที่มีการปนเปื้อนในอาหาร อาทิเช่น ข้าวผัด ขนมจีน อาหารกระป๋อง เป็นต้น โดยเชื้อโรคเหล่านี้จะมีการผลิตสารพิษ (enterotoxin) ที่ทนต่อความร้อนได้ดี
เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มี enterotoxin เข้าไปก็จะเกิดอาการของอาหารเป็นพิษตามมา
เมื่อเรารับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษดังกล่าว ก็จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน สารพิษหลายชนิดทนต่อความร้อน ถึงแม้จะปรุงอาหารให้สุกแล้ว สารพิษก็ยังคงอยู่และก่อให้เกิดโรคได้
โดยระยะฟักตัวขึ้นกับชนิดของเชื้อโรค บางชนิดมีระยะฟักตัว 1-8 ชั่วโมง บางชนิด 8-16 ชั่วโมง จนถึง 8-48 ชั่วโมง
อาหารเป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยทั่วไปอาหารเป็นพิษเป็นภาวะไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง แต่หากเกิดอาการรุนแรงก็อาจทำให้งเกิดการสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่ได้
อ่านเพิ่มเติม: ไขข้อสงสัย ฝนตกทําให้เป็นหวัดจริงหรือไม่?
อาการของโรคอาหารเป็นพิษ
ผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษเจือปนในอาหารส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนนำมาก่อนและเด่นกว่าอาการท้องเสีย อาการคลื่นไส้มีได้ทั้งรุนแรงไม่มากจนถึงรุนแรงมากจนไม่สามารถทานอาหารได้ ส่วนใหญ่มักมีอาการหลังรับประทานอาหารที่สงสัยประมาณ 2-16 ชั่วโมง
อ่านเพิ่มเติม: 5 เทคนิคดื่มน้ำอย่างไรให้น้ำหนักลด!
หลังจากนั้นก็จะมีอาการปวดท้อง มีอาการองเสียถ่ายเหลวเป็นน้ำตามมา โดยหากรับประทานอะไรเข้าไปในช่วงนี้ก็จะทำให้ถ่ายเหลวออกมาทั้งหมดเช่นกัน เนื่องจากลำไส้ติดเชื้อ นอกจากนี้ยังอาจพบผู้ที่รับประทานทานอาหารร่วมกับผู้ป่วยก็อาจจะมีอาการได้เช่นเดียวกันในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน
สาเหตุของอาการท้องเสียมาจากปัจจัยอะไรบ้าง?
- การติดเชื้อแบคทีเรียจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดตามสุขอนามัย หรืออาหารที่ไม่ปรุงสุก
- การติดเชื้อไวรัสและมีพยาธิในลำไส้
- การไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนทำการปรุงหรือรับประทานอาหาร
- การใช้ภาชนะที่มีเชื้อโรคหรือสารปนเปื้อน
- ลำไส้มีการอักเสบ
ท้องเสียแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์?
อาการท้องเสียเป็นการที่พบบ่อยได้ทั่วไป โดยปกติแล้วถ้าอาการไม่รุนแรงมากหรือแค่ท้องสียอย่างเดียวไม่มีอาการ้านแรงอย่างอื่นปนด้วย ก็มักจะหายได้เองภายใน 1-2 วัน
แต่ก็มีลักษณะอาการบางอย่างที่เป็นสัญญาณอันตราย เตือนภัยให้เราทราบว่า อาการท้องเสียของเราอาจไม่ธรรมดา ควรพบแพทย์ด่วน โดยจะมีอาการดังต่อไปนี้
1. ทานอาหารไม่ได้ ทานไม่ลง ทานแล้วอาเจียนออกมาตลอด
2. ทานยาลดอาการอาเจียน แล้วยังอาเจียนมาก หรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง (อาจจะต้องให้ยาลดอาการอาเจียนแบบฉีดที่โรงพยาบาล)
3. มีอาการขาดน้ำ จากการสูญเสียน้ำในร่างกายมากเกินไป ตาโหล ปัสสาวะสีเข้มมาก และมีปริมาณน้อย
4. อ่อนเพลียมาก ไม่มีแรงลุกขึ้นเดินไปไหน นอนซมตลอด
5. ถ่ายเหลวในปริมาณมาก หรือบ่อยมากเกินไป จนดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไปจากร่างกายไม่ทัน (อาจจะต้องนอนให้น้ำเกลือ และอยู่ในการดูแลของแพทย์ที่โรงพยาบาล)
6. อาเจียน ถ่ายเหลว และมีไข้สูงประกอบด้วย
อ่านเพิ่มเติม: 3 เหตุผลสำคัญ! ทำไมถึงควรทำประกันสุขภาพ?
ดังนั้น หากใครที่มีอาการดังกล่าว นานเกิน 3 วัน และมีไข้สูงมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ร่างการอ่อนเพลียมีอาการขาดน้ำ ถ่ายมีเลือดปนร่วมกับอาการปวดท้องเกร็ง ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
โดยแพทย์จะทำการตรวจเบื้องต้น เช่น ตรวจอุจจาระเพื่อหาเชื้อ, ตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุ, การส่องกล้องเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่
รักษาอาการท้องเสียเบื้องต้นด้วยตนเอง
ปกติแล้วสำหรับใครที่มีอาการท้องเสีย จะสามารถหายได้เองและส่วนใหญ่จะมีอาการที่ไม่รุนแรง โดยพบว่าผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงขึ้นเสียชีวิตได้ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสียสามารถดูแลตัวเองในเบื้องต้นได้ดังนี้
1. ดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) บ่อยๆ เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่
2. รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด
3. งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดองต่างๆ
4. หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ เน้นการรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ถูกสุขลักษณะ
5. ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำก่อนรับประทานอาหาร
6. หากสงสัยว่ามีอาจติดเชื้อ ควรรีบพบแพทย์ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
อ่านเพิ่มเติม: 5 วิธี เตรียมความพร้อม ดูแลสุขภาพช่วงหน้าฝน
หน้าฝนมักจะเกิดโรคระบาดและโรคติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย เพราะอากาศชื้นจะส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียเติบโตได้เร็วขึ้น จึงต้องคอยดูแลอาหารการกิน ไม่ควรทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ควรเน้นทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ไม่ค้างคืน
เพราะถ้าหากเผลอรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนแหล่งเชื้อโรค นอกจากทำให้เกิดโรคท้องร่วง โรคท้องเสียแล้ว ยังส่งผลให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาด้วยดังนั้นการจะรับประทานอาหารแต่ละอย่างควรระมัดระวัง และหมั่นล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
หมั่นหันมาดูและสุขภาพตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ ระมัดระวังเวลาจะรับประทานอาหารและที่สำคัญนอกจากดูแลสุขภาพตนเองสิ่งที่ไม่ควรละเลยก็คือการทำประกันสุขภาพ จะเป็นตัวช่วยที่ดี ที่จะคอยคุ้มครองยามเจ็บป่วยฉุกเฉินจากโรคต่างๆ
เลือกทำประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนนี้เพราะคุณสามารถเลือกทำประกันก่อนป่วยได้ ถ้าอยากได้แผนประกันที่ชอความคุ้มครองที่ใช้ทักหา SMILE INSURE คลิกเลย
ขอบคุณข้อมูลจาก
- โรงพยาบาลราชวิถี https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=3728
- โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน https://www.tropmedhospital.com/knowledge/food_poisoning.html
- โรงพยาบาลศิครินทร์
- Sanook https://www.sanook.com/health/9337/