อันตรายไหม? ถ้าผอมไป กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน!
ทำไมกินเยอะแต่ไม่อ้วน? ประโยคนี้สำหรับหนุ่ม สาว คนผอมที่กินเยอะหลายคนคงเคยจะเคยได้ยินกันมาบ้างทั้งจากคนรอบตัวที่ทักด้วยประโยคแบบนี้ หรือแม้แต่กระทั่งตัวเราเองที่เกิดความสงสัยเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน
จนทำให้ผู้คนส่วนใหญ่มักจะอิจฉา หนุ่ม สาว ที่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน หุ่นและขนาดตัวเท่าเดิม เพราะไม่ต้องมาคอยกังวลเรื่องรูปร่าง สัดส่วน หรือน้ำหนัก สามารถกินอะไรก็ได้ที่อยากกิน
ซึ่งการที่ร่างกายผอมน้ำหนักไม่ขึ้นนั้นมีหลายปัจจัยมากไม่ใช่แค่เรื่องโภชนาการเพียงอย่างเดียว
และข้อสงสัยที่คนมักนิยมตั้งคำถามกันว่าแท้จริงการที่กินเยอะแต่ไม่อ้วนนั้นเป็นเรื่องที่ดีจริงหรือไม่? วันนี้ SMILE INSUER ได้หาคำตอบมาให้คุณรู้แล้ว! พร้อมวิธีการดูแลสุขภาพร่างการให้เป็นคน รูปร่างดีรวมไปถึงสุขภาพดีอีกด้วย
5 สาเหตุที่ทำให้ผอม กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน
กรรมพันธุ์
บางคนมีกรรมพันธุ์ที่ทำให้เผาผลาญพลังงานได้ดี เพราะพันธุกรรมมีค่าดัชนีมวลกายต่ำตามธรรมชาติ เนื่องจากลักษณะทางกายภาพภายในครอบครัว เมตาบอลิซึมสูง การมีระบบเผาผลาญพลังงานสูงอาจเป็นสาเหตุของความผอม ทำให้กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน
พฤติกรรมการกิน
สำหรับกินน้อย กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือเลือกกินแต่อาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ หรือผู้ที่เลือกกินและมีความกินยาก
กิจกรรมระหว่างวัน
การออกกำลังกายหนัก จะสามารถเผาผลาญพลังงานมากกว่าที่ได้รับ หรือผู้ที่เน้นใช้ร่างกายในการออกกำลังกายมากกว่าสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เลือกใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์
โรคประจำตัว
ซึ่งหลายคนอาจรู้สึกดีที่น้ำหนักลดลง แต่ถ้าหากน้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่องจนผอมเกินไปอาจแปลว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค ซึ่งอีกโรคที่ผู้มีน้ำหนักตัวน้อยเสี่ยงจะเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ฯลฯ ส่งผลต่อระบบเผาผลาญ ทำให้ผอมลง
ความเครียด
ความเครียดเรื้อรัง ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร และฮอร์โมน ทำให้กินไม่อร่อย น้ำหนักลด
ถ้าผอมเกินไปอันตรายไหม?
การผอมเกินไปอันตรายต่อสุขภาพ เพราะว่าร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้
- ภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายได้รับโปรตีนและวิตามินไม่เพียงพอ ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ เจ็บป่วยง่าย
- อ่อนเพลีย ร่างกายได้รับพลังงานไม่เพียงพอ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- กระดูกพรุน ร่างกายได้รับแคลเซียมและวิตามินดีไม่เพียงพอ กระดูกอ่อนแอ
- ภาวะมีบุตรยาก ฮอร์โมนไม่สมดุล ส่งผลต่อภาวะมีบุตร
- โรคทางเดินอาหาร กินน้อย กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร
- โรคเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน
- ภาวะซึมเศร้า รู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง เครียด
อ่านเพิ่มเติม: ไขข้อสงสัย ทําไมประกันสุขภาพต้องมีระยะรอคอย?
วิธีดูแลสุขภาพเมื่อรู้สึกว่ามีภาวะกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน
1. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ผอม
2. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักผลไม้
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ
4. ปรึกษาแพทย์ หากมีอาการผิดปกติ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ภูมิคุ้มกันต่ำ
อ่านเพิ่มเติม: 5 เทคนิคดื่มน้ำอย่างไรให้น้ำหนักลด!
การมีสุขภาพที่ดี ไม่ได้วัดที่น้ำหนักตัว สิ่งสำคัญคือร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน สมดุล และแข็งแรง อีกอย่างสำคัญคือการตรวจสุขภาพประจำปีที่ไม่ควรละเลย
ซึ่งการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเป็นประจำ เป็นสิ่งที่เราทุกคนควรทำเพื่อให้ห่างไกลจากโรคภัย
อ่านเพิ่มเติม: ซื้อประกันสุขภาพแบบไหน ถึงจะได้สิทธิลดหย่อนภาษี
และปัญหาสุขภาพในอนาคตที่จะตามมา แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การตรวจสุขภาพประจำปี เพราะจะช่วยให้เราสำรวจร่างกายตนเองว่าสุขภาพแข็งแรงแค่ไหน หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไร
เนื่องจากบางโรคจะไม่แสดงอาการในตอนแรก แต่หากปล่อยไว้ อาจลุกลามกลายเป็นโรคเรื้อรัง รักษายากในที่สุดซึ่งการตรวจสุขภาพประจำปี จะต้องตรวจทั้งหมด 10 โรคดังนี้
10 โรคที่ต้องตรวจ เมื่อตรวจสุขภาพ
- โรคเบาหวาน
- ภาวะโลหิตจาง
- ภาวะทุพโภชนาการ
- เอชไอวี / เอดส์
- โรคหัวใจขาดเลือด
- โรคหลอดเลือดสมอง
- มะเร็งตับ
- มะเร็งปากมดลูก
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งลำไส้ใหญ่
เพราะความเสี่ยงของโรคแต่ละช่วงอายุไม่เหมือนกัน การตรวจสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราจึงต้องตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังโรคเบื้องต้น
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี?
- ตรวจเช็กโรคที่เป็นอยู่และโรคที่ยังไม่แสดงอาการ
- ประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่างๆ
- รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคประจำปี
- ประเมินพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อรับแนวทางปรับเปลี่ยนให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น
- สร้างแรงผลักดันในการดูแลสุขภาพ
ข้อดีของการตรวจสุขภาพประจำปี
การตรวจสุขเป็นประจําทุกปีทําให้ตรวจพบโรคต่างๆ ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ทำให้เราได้รับการรักษาที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปมากที่เป็น และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
เพราะบางโรคมักไม่แสดงอาการในตอนแรก แต่หากปล่อยไว้ อาจลุกลามกลายเป็นโรคเรื้อรัง รักษายากในที่สุด
อ่านเพิ่มเติม: ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง?
สรุปคือการกินแล้วไม่อ้วนนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่สุขภาพก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยทั้งการดูแลสุขภาพและการทำประกันสุขภาพ
ซึ่งประกันสุขภาพที่ดีที่สุด ก็คงไม่พ้นประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ผู้ทำประกันมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยประกัน เงื่อนไขกรมธรรม์ หรือชื่อเสียงของบริษัทประกันภัย
แต่ที่สำคัญควรดูข้อมูลดังกล่าวควบคู่ไปกับข้อมูลจากลูกค้าเดิม เช่น รีวิวจากผู้ใช้จริง การติดต่อตัวแทนที่ทำได้ง่าย เคลมง่าย ไม่ยุ่งยาก และเงื่อนไขเป็นไปตามที่แจ้งในเอกสารกรมธรรม์จริง
การทำประกันสุขภาพเป็นการบริหารความเสี่ยง ช่วยให้มั่นใจว่าหากเกิดเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ จะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างมีคุณภาพ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เลือกแผนประกันที่เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณ