ไขข้อสงสัย ทําไมประกันสุขภาพต้องมีระยะรอคอย?
ปกติแล้วการทำประกันในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ หรือประกันบ้าน สิ่งที่ทุกคนจะได้รับหลังจากจ่ายค่าเบี้ยไปแล้วก็คือ ความคุ้มครองแบบทันทีทันใด ทันใช้งาน โดยไม่ต้องรอนาน
แต่ประกันสุขภาพนั้นแตกต่างออกไป เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า “ระยะรอคอย” ที่ทำให้ผู้ทำประกันจะยังไม่ได้รับความคุ้มครองในทันที แม้ว่าจะได้รับเล่มกรมธรรม์มาแล้ว ก็ยังต้องรอให้ถึงกำหนดเวลาก่อน ถึงจะใช้สิทธิ์เคลมได้
อ่านเพิ่มเติม: ซื้อประกันสุขภาพแบบไหน ถึงจะได้สิทธิลดหย่อนภาษี
ที่ผ่านมา มีหลายครั้งที่ใครหลายคนมักจะพลาดเรื่องนี้ และทำให้ไม่สามารถเบิกเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ จากที่คาดหวังว่าจะพึ่งพาประกันในยามฉุกเฉิน ก็กลายเป็นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทุกอย่างด้วยตัวเอง ทั้งๆ ที่จ่ายค่าเบี้ยไปแล้ว
อ่านเพิ่มเติม: เลือกให้ถูก ซื้อประกันสุขภาพตอนไหน? คุ้มที่สุด!
ดังนั้น ถ้าใครที่กำลังคิดจะทำประกันสุขภาพ แต่ไม่อยากพลาดในจุดสำคัญแบบนี้ SMILE INSURE อาสาพาคุณไปทำความรู้จักกับระยะรอคอยให้มากขึ้น เพื่อไขข้อสงสัย สร้างความเข้าใจ และช่วยให้คุณใช้สิทธิ์เบิกเคลมได้อย่างถูกต้อง
ระยะรอคอยของประกันสุขภาพคืออะไร?
ระยะรอคอย (Waiting period) หมายถึง ช่วงเวลาที่กำหนดให้ผู้ทำประกันสุขภาพ รอคอยบริษัทประกันอนุมัติความคุ้มครอง โดยตลอดระยะรอคอยนี้ ถ้าผู้ทำประกันเกิดการเจ็บป่วย หรือได้รับอุบัติเหตุใดๆ ก็ตาม จะไม่สามารถเบิกเคลมค่ารักษาได้เลย
แต่ถ้าเลยช่วงระยะรอคอยไปแล้ว ผู้ทำประกันสุขภาพ จะสามารถใช้ทุกสิทธิ์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้ตามปกติ
ประกันสุขภาพมีระยะรอคอยนานแค่ไหน?
ระยะรอคอยของประกันสุขภาพ จะแตกต่างกันไปตามประเภทของประกัน เช่น ประกันสุขภาพทั่วไป ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง ฯลฯ ความรุนแรงของโรคที่คุ้มครอง ระยะฟักตัวของเชื้อก่อโรค รวมถึงข้อกำหนดของแต่ละบริษัท แต่ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ประมาณ 30-120 วัน
ทำไมประกันสุขภาพต้องมีระยะคอย?
สำหรับเหตุผลที่ประกันสุขภาพต้องมีระยะรอคอย ก็เพื่อเป็นการตรวจสอบให้แน่ชัดว่า ผู้ทำประกันมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีโรคหรืออาการเจ็บป่วยใดๆ มาก่อนที่จะทำประกัน เพราะบางครั้งการตรวจสุขภาพก่อนทำประกัน ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าบุคคลนั้นๆ ร่างกายแข็งแรงจริงไหม?
เช่น บางคนอาจเป็นโรคบางอย่างมาก่อนที่จะทำประกันสุขภาพ แต่ไม่รู้ตัวหรือตรวจไม่เจอ แล้วไปแสดงอาการหลังจากทำประกันเพียงไม่กี่วัน หรือบางคนอาจตั้งใจปกปิดปัญหาสุขภาพ เพื่อหวังค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม: ตรวจสุขภาพประจําปี ต้องตรวจโรคอะไรบ้าง?
ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ ทำให้บริษัทประกันไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของประกันสุขภาพ ในเรื่องของการให้คุ้มครองอาการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุฉุกเฉิน ที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ดังนั้นบริษัทประกันจึงต้องมีระยะรอคอย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะคอยนี้ ถ้าบริษัทประกันตรวจพบว่าผู้ทำประกันสุขภาพ มีอาการป่วยมาตั้งแต่ก่อนทำประกัน ไม่ว่าจะด้วยการตั้งใจปกปิดอาการป่วย หรือไม่เคยรู้ว่าตัวเองป่วยมาก่อน บริษัทประกันจะยกเลิกกรมธรรม์ทันที
อ่านเพิ่มเติม: ปักหมุด 8 พิกัด เสริมดวงตลอดปี สุขภาพดี ไม่ป่วยง่าย
ส่วนกรณีที่ผู้ทำประกันสุขภาพเสียชีวิตในช่วงระยะเวลารอคอย และบริษัทประกันตรวจสอบประวัติแล้วว่าผู้ทำประกันไม่เคยมีอาการเจ็บป่วย หรือเป็นโรคร้ายแรงใดๆ มาก่อน บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้รับผลประโยชน์*
*เงื่อนไขเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละกรมธรรม์
ข้อดีของการทำประกันสุขภาพ
ถึงแม้ประกันสุขภาพจะมีระยะรอคอย ที่อาจทำให้ใครบางคนอาจไม่ได้รับความสะดวกสบายเท่าไหร่นัก แต่ประกันสุขภาพก็มีข้อดีมากมาย ที่จะทำให้ผู้ทำประกันรู้สึกคุ้มค่า เช่น
ประกันสุขภาพให้ความคุ้มครองชีวิตจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ เพราะนอกจากจะคุ้มครองเรื่องปัญหาสุขภาพแล้ว ประกันประเภทนี้ยังให้ความคุ้มครองการบาดเจ็บจากอุบัติต่างๆ ด้วย
ประกันสุขภาพช่วยให้ผู้ทำประกันเข้าถึงการรักษาได้ทันเวลา และได้รับบริการคุณภาพพรีเมียม เพราะอย่างที่รู้กันดีว่า พาร์ทเนอร์ของบริษัทประกันส่วนใหญ่คือโรงพยาบาลเอกชน ที่มีพร้อมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ การบริการ และบุคลากร
ประกันสุขภาพช่วยให้ผู้ทำประกันวาวแผนการใช้เงินได้เป็นอย่างดี และมีเงินเก็บออม เพราะไม่ต้องนำเงินเก็บ หรือกู้เงินมาดูแลรักษาอาการเจ็บป่วย
ประกันสุขภาพใช้ลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า ประกันประเภทนี้เป็นประกันที่ลดหย่อนภาษีได้ และลดหย่อนได้มากพอสมควรด้วย ดังนี้
อ่านเพิ่มเติม: รู้ยัง? ประกันแบบไหนลดหย่อนภาษีคุ้มที่สุด!
ประกันสุขภาพตนเอง
ผู้ที่ทำประกันสุขภาพให้ตนเอง ใช้มูลค่าเบี้ยประกันลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท/ปี แต่ถ้าทำประกันสุขภาพควบคู่กับประกันชีวิตที่มีกำหนดตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามมูลค่าของเบี้ยประกันที่จ่ายไปตามจริง แต่มูลค่ารวมจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท (สำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไปเท่านั้น)
ประกันสุขภาพพ่อแม่
ผู้ที่ทำประกันสุขภาพให้พ่อแม่ ใช้มูลค่าเบี้ยประกันลดหย่อนภาษีได้ตามจริง ไม่เกิน 15,000 บาท/คน/ปี คือ ใช้สิทธิ์ลดหย่อนส่วนของพ่อได้ไม่เกิน 15,000 บาท และส่วนของแม่อีกไม่เกิน 15,000 บาท
ถ้าพ่อแม่มีลูกหลายคน ลูกสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ทุกคน แต่ต้องเป็นลูกแท้ๆ ที่ผูกพันกันทางสายเลือดเท่านั้น และต้องคำนวณแบบหารเฉลี่ย
ประกันสุขภาพคู่สมรส
ผู้ที่ทำประกันสุขภาพให้คู่สมรส (จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย) ถ้าคู่สมรสไม่มีรายได้ ก็สามารถนำมูลค่าเบี้ยประกันมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง ไม่เกิน 15,000 บาท/ปี
สรุป ระยะรอคอย คือ ช่วงเวลาที่บริษัทประกันกำหนดให้ผู้ทำประกันรอคอยความคุ้มครอง เพื่อทำการตรวจสอบ และยืนยันสภาพร่างกายของผู้ทำประกัน โดยที่ผู้ทำประกันจะไม่สามารถเบิกเคลมค่ารักษาพยาบาลได้
แต่ถ้าผ่านระยะรอคอยไปแล้ว และบริษัทยืนยันได้ว่าผู้ทำประกันมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงดี ผูู้ทำประกันก็สามารถเบิกเคลมได้ตามปกติ
แต่ถึงแม้ประกันสุขภาพจะมีระยะรอคอย ที่ทำให้คนทำประกันต้องรอกันสักระยะ แต่เมื่อเทียบกับความคุ้มครองที่จะได้รับจากกรมธรรม์แล้ว ก็นับว่าเป็นการรอคอยที่คุ้มค่า เพราะความคุ้มครองต่างๆ มักจะสูงเกินค่าเบี้ยไปหลายเท่าตัว