บทความ | สาระประกันภัย

ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง?

ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง?
10/11/2023  สาระประกันภัย

ใครที่กำลังอยู่ในช่วงตัดสินใจจะทำประกันสุขภาพ อย่าพลาดบทความนี้! เพราะ SMILE INSURE มีสาระดีๆ เกี่ยวกับประกันสุขภาพมาฝากกันอีกแล้ว


ครั้งนี้เป็นสาระน่ารู้เกี่ยวกับ ‘กรณีที่ประกันสุขภาพจะไม่จ่าย หรือไม่รับเคลม’ เหตุการณ์อันน่าเศร้าที่คนทำประกันไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ก็มักจะมีให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ

ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง? | SMILE INSURE


รับรองได้ว่าเมื่ออ่านจบแล้ว ทุกคนจะเข้าใจประกันประเภทนี้มากขึ้น และรู้ว่าต้องทำอย่างไรต่อไป เพื่อให้ตัวเองเคลมประกันสุขภาพได้ โดยไม่พลาดในจุดสำคัญ

ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง? | SMILE INSURE


ประกันสุขภาพมีข้อดีมากกว่าที่คิด

เมื่อพูดถึงประกันสุขภาพ บางคนอาจคิดว่าเป็นประกันที่มีข้อดีในเรื่องการให้ความคุ้มครองสุขภาพเพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้ว ประกันประเภทนี้มีข้อดีมากกว่านั้น อาทิ 

อ่านเพิ่มเติม: ซื้อประกันสุขภาพแบบไหน ถึงจะได้สิทธิลดหย่อนภาษี

1. ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งปัญหาสุขภาพ และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งผู้เอาประกันสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลชั้นนำ ได้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง? | SMILE INSURE


2. ช่วยให้ผู้เอาประกันวางแผนชีวิตได้ดีขึ้น เพราะความคุ้มครองของประกันครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลราคาสูง จึงทำให้ผู้เอาประกันได้รับการรักษาที่ดีที่สุดในราคาสบายกระเป๋า 

และยังคงมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี อีกทั้งยังเป็นประกันที่ไม่ได้ผูกมัดในระยะยาว จึงช่วยให้ผู้เอาประกันสามารถปรับเปลี่ยนแผนประกันให้สอดคล้องกับความต้องการได้อย่างยืดหยุ่น

ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง? | SMILE INSURE


3. ประกันสุขภาพเป็นประกันที่ลดหย่อนภาษีได้ เรื่องนี้สำคัญมากกับคนวัยทำงาน ที่จำเป็นต้องเสียภาษีเงินได้เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะกับคนที่รายได้สูง เพราะต้องจ่ายเงินทิ้งเปล่าไปเป็นจำนวนมาก 

ดังนั้นใครที่มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษีแล้ว และไม่อยากจ่ายภาษีทิ้งไปเฉยๆ ก็สามารถนำเงินจำนวนนั้น มาใช้ในประโยชน์ในการซื้อประกันสุขภาพได้     

ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง? | SMILE INSURE


ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่? 

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ประกันสุขภาพนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาท ตามลักษณะของประกัน ดังนี้ 

1. ประกันสุขภาพตนเอง

ผู้ที่ซื้อประกันสุขภาพให้ตนเอง สามารถนำมูลค่าเบี้ยประกันใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท/ปี แต่ถ้าซื้อประกันสุขภาพควบคู่กับประกันชีวิตที่มีกำหนดตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป 

จะนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท (เฉพาะเบี้ยประกันที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป)

ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง? | SMILE INSURE

2. ประกันสุขภาพพ่อแม่

มูลค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่ซื้อให้พ่อแม่ก็นำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน แต่ต้องเป็นพ่อแม่แท้ๆ ที่ผูกพันกันทางสายเลือด และพ่อแม่จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี เท่านั้น

โดยลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกินคนละ 15,000 บาท คือ ใช้สิทธิ์ลดหย่อนจากประกันของพ่อได้ไม่เกิน 15,000 บาท และใช้สิทธิ์ลดหย่อนจากประกันของแม่ได้อีกไม่เกิน 15,000 บาท 

โดยถ้าในครอบครัวมีลูกหลายคน และแต่ละคนต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี จะต้องคิดแบบหารเฉลี่ย

3. ประกันสุขภาพคู่สมรส

นอกจากนี้ ประกันสุขภาพที่ทำให้คู่สมรสตามกฎหมาย ก็ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท/ปี แต่จะใช้สิทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อคู่สมรสไม่มีรายได้เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม: เลือกให้ถูก ซื้อประกันสุขภาพตอนไหน? คุ้มที่สุด!

ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง?

สำหรับกรณีที่ประกันสุขภาพจะไม่จ่าย หรือไม่รับเคลมเลย มีดังนี้

1. เจ็บป่วยด้วยโรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน ทั้งโรคที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด และโรคเรื้อรังที่ยังรักษาไม่หาย เช่น เบาหวาน ความดัน เกาต์ ภูมิแพ้ตัวเอง ไตวาย ฟอกไต ล้างไต 

ตาบอด 2 ข้าง หูหนวก 2 ข้าง โรคหัวใจทุกประเภทที่ยังไม่มีการผ่าตัด เป็นต้น 

ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง? | SMILE INSURE


2. การเข้ารับการรักษาที่เกินจำเป็น หรือไม่มีข้อบ่งชี้จากแพทย์ เช่น ขอนอนโรงพยาบาลเอง โดยที่แพทย์ไม่ได้ลงความเห็นว่าต้องแอดมิด หรือขอตรวจ CT Scan โดยไม่มีข้อบ่งชี้

อ่านเพิ่มเติม: ตรวจสุขภาพประจําปี ต้องตรวจโรคอะไรบ้าง?

3. เจ็บป่วยในช่วงระยะรอคอย หรือ ช่วงที่ประกันสุขภาพยังไม่เริ่มคุ้มครอง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะไม่เกิน 120 วัน หลังจากทำประกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและแผนประกัน

ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง? | SMILE INSURE


4. เจ็บป่วยด้วยโรค หรือสาเหตุที่ระบุไว้ในกรมธรรม์อย่างชัดเจนแล้ว เช่น  

  • การตั้งครรภ์ แท้งบุตร หรือคลอดบุตร

  • โรคที่ระบุว่าไม่ให้ความคุ้มครอง เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางสายตา โรคทางจิตเวช เป็นต้น 

  • การตรวจ รักษา ใช้ยา หรือศัลยกรรม ที่เกี่ยวข้องกับความสวยความงาม และการชะลอความเสื่อมของวัย 

  • การรักษาหรือบำบัดโรคที่เกิดจากการติดยาเสพติด บุหรี่ และสุรา

  • การตรวจ หรือรักษาโรคที่ยังอยู่ในระหว่างทดลอง

  • การตรวจรักษาโดยแพทย์ทางเลือก ที่นอกเหนือแพทย์แผนปัจจุบัน

  • การฆ่าตัวตาย การพยายามฆ่าตัวตาย และการทำร้ายร่างกายตนเอง รวมถึงการที่ผู้รับผลประโยชน์จงใจฆาตกรรมผู้เอาประกันด้วย

อ่านเพิ่มเติม: ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?

  • การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการกระทำภายใต้ฤทธิ์ยายาเสพติด และสุรา (ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)  

  • การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้เอาประกันก่ออาชญากรรมที่มีความผิดสถานหนัก หรือขณะถูกจับกุม หรือหลบหนีการจับกุม

  • การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการแข่งรถหรือแข่งเรือทุกชนิด แข่งม้า แข่งสกีทุกชนิด เจ๊ตสกี สเก็ต ชกมวย โดดร่ม (เว้นแต่การโดดร่มเพื่อรักษาชีวิต) ขณะกำลังขึ้นหรือกำลังลงหรือโดยสารอยู่ในบอลลูน หรือเครื่องร่อน เล่นบันจี้จั๊มพ์ ดำน้ำที่ต้องใช้ถังอากาศและเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำ

  • สงคราม การรุกรานของศัตรูต่างชาติ การก่อการร้าย รวมถึงการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้เอาประกันปฏิบัติหน้าที่เป็นทหาร ตำรวจ หรืออาสาสมัคร ที่เข้าปฏิบัติการในสงคราม หรือปราบปราม

  • การแผ่รังสี หรือการแพร่ของสารกัมมันตภาพรังสี 

ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง? | SMILE INSURE


หากพบว่าผู้เอาประกันปกปิด หรือปลอมแปลงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่มีผลต่อการพิจารณาอนุมัติความคุ้มครอง บริษัทประกันมีสิทธิ์ปฏิเสธการเคลม และยกเลิกกรมธรรม์ในภายหลังได้

ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง? | SMILE INSURE


มายเหตุ: เงื่อนไขการไม่คุ้มครองของแต่ละบริษัทประกันอาจแตกต่างกันไป ควรศึกษาและสอบถามข้อมูลให้ละเอียดก่อนตัดสินใจทำประกันสุขภาพ

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็ควรรีบทำประกันสุขภาพตั้งแต่ที่ยังสุขภาพแข็งแรงอยู่ และหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้บริษัทประกันปฏิเสธความคุ้มครองในภายหลัง 

ต้องรู้! ประกันสุขภาพไม่จ่ายกรณีไหนบ้าง? | SMILE INSURE


เพื่อให้การจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพในแต่ละครั้ง เกิดประโยชน์มากที่สุด ทั้งในเรื่องความคุ้มครองสุขภาพ การวางแผนชีวิต และการลดหย่อนภาษี 

ขอบคุณข้อมูลจาก

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ