ตรวจสุขภาพประจําปี ต้องตรวจโรคอะไรบ้าง?
การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเป็นประจำ เป็นสิ่งที่เราทุกคนควรทำเพื่อให้ห่างไกลจากโรคภัย และปัญหาสุขภาพในอนาคตที่จะตามมา แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การตรวจสุขภาพประจำปี
เพราะจะช่วยให้เราสำรวจร่างกายตนเองว่าสุขภาพแข็งแรงแค่ไหน หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไร
เนื่องจากบางโรคจะไม่แสดงอาการในตอนแรก แต่หากปล่อยไว้ อาจลุกลามกลายเป็นโรคเรื้อรัง รักษายากในที่สุดซึ่งการตรวจสุขภาพประจำปี จะต้องตรวจทั้งหมด 10 โรคดังนี้
10 โรคที่ต้องตรวจ เมื่อตรวจสุขภาพ
- โรคเบาหวาน
- ภาวะโลหิตจาง
- ภาวะทุพโภชนาการ
- เอชไอวี / เอดส์
- โรคหัวใจขาดเลือด
- โรคหลอดเลือดสมอง
- มะเร็งตับ
- มะเร็งปากมดลูก
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งลำไส้ใหญ่
เพราะความเสี่ยงของโรคแต่ละช่วงอายุไม่เหมือนกัน การตรวจสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราจึงต้องตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังโรคเบื้องต้น
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี?
- ตรวจเช็กโรคที่เป็นอยู่และโรคที่ยังไม่แสดงอาการ
- ประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่างๆ
- รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคประจำปี
- ประเมินพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อรับแนวทางปรับเปลี่ยนให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น
- สร้างแรงผลักดันในการดูแลสุขภาพ
อ่านเพิ่มเติม: มีสวัสดิการแล้ว ต้องทำประกันสุขภาพอีกไหม?
ข้อดีของการตรวจสุขภาพประจำปี
การตรวจสุขเป็นประจําทุกปีทําให้ตรวจพบโรคต่างๆ ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ทำให้เราได้รับการรักษาที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปมากที่เป็น และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
เพราะบางโรคมักไม่แสดงอาการในตอนแรก แต่หากปล่อยไว้ อาจลุกลามกลายเป็นโรคเรื้อรัง รักษายากในที่สุด
ใครบ้างที่ควรตรวจสุขภาพ
การตรวจสุขภาพประจำปีสามารตรวจได้ทุกวัย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุ โดยรายการตรวจจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ เพศกรรมพันธุ์ และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของแต่ละบุคคล สามารถแบ่งการตรวจสุขภาพประจำปีเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
วัยเด็ก
สำหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มเด็กจะเป็นการตรวจร่างกาย เพื่อดูการเจริญเติบโตและพัฒนาการเป็นหลัก ซึ่งจะประเมินโดยกุมารแพทย์ และยังรวมไปถึงการฉีดวัคซีนตามช่วงอายุ เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆอีกด้วย
วัยทำงานหรือวัยผู้ใหญ่
การตรวจสุขภาพประจำปีในกลุ่มวัยทำงาน คือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 60 ปี จะเป็นการตรวจสภาพของร่างกาย เพื่อค้นหาโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในร่างกาย
โดยขั้นตอนการตรวจสุขภาพนั้น ประกอบด้วย การวัดความดันโลหิต การวัดชีพจร การวัดอัตราการหายใจ วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก การตรวจเลือด
(ได้แก่ระดับน้ำตาล ระดับไขมัน การทำงานของไต การทำงานของตับ เป็นต้น) การตรวจเอ็กซเรย์ทรวงอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจอัลตร้าซาวน์ช่องท้อง การตรวจปัสสาวะ การตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษอื่นๆ
อ่านเพิ่มเติม: 6 ข้อเสีย ของการนอนไม่พอที่คุณอาจไม่รู้!
ประกันสุขภาพดียังไง?
ประกันสุขภาพ คือ ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยจากโรคภัยต่างๆ และมีเงินชดเชยรายวันกรณีประสบอุบัติเหตุต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลายวัน
ซึ่งประกันสุขภาพสามารถเลือกทําตามแผนความต้องการได้เลยไม่ว่าจะเป็นการเลือกความคุ้มครองแบบ OPD และ IPD
3 เหตุผลดีๆ ที่ควรทำประกันสุขภาพ
1. ประกันสุขภาพช่วย Save ค่าใช้จ่ายสูงสุด 5 แสนบาท!
อย่างที่บอกไปแล้วว่าประกันสุขภาพเป็นประกันภัยที่ช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายจากการบาดเจ็บและอาการเจ็บป่วยต่างๆ
ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บ ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล และต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล
โดยเฉพาะกับในสถานพยาบาลเอกชนที่เครื่องมือและบุคลากรทางการแพทย์ครบครัน เข้ารักษาได้ทันทีไม่ต้องรอคิวนานเหมือนฝั่งรัฐบาล ประกันสุขภาพจ
ข้ามาซัพพอร์ตตรงนี้ ช่วยให้ผู้มีประกันสามารถทำการรักษาได้อย่างสบายใจมากขึ้น เพราะไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับค่ารักษาที่อาจมากเกินกำลังของตัวเอง
อ่านเพิ่มเติม: เบอร์โทรแจ้งเคลม - วิธีเคลม "ประกันสุขภาพ และอุบัติเหตุ" ของบริษัทประกันภัยต่างๆ
2. ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้
เคยมีคำพูดที่ว่า ประกันสุขภาพคือเงินทิ้งเปล่า ถ้าไม่เจ็บป่วยก็เท่ากับขาดทุน แต่ความจริงแล้ว ประกันสุขภาพ
รวมถึงประกันโควิด-19 ที่หลายคนทำไว้ มีประโยชน์ด้านการเงินมากกว่าที่คิด เพราะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้สูงสุดถึง 25,000 บาทต่อปี เพียงแค่
ทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันในประเทศไทย
เมื่อรวมเบี้ยประกันสุขภาพเข้ากับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป และเงินฝากแบบมีประกันชีวิต จะต้องมียอดรวมไม่เกิน 100,000 บาท
นอกจากนี้ ประกันสุขภาพที่ซื้อให้พ่อแม่ หรือคู่สมรส ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปี ได้ตามเงื่อนไข ดังนี้
- พ่อแม่ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
- ผู้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนต้องเป็นลูกแท้ ๆ ตามกฎหมายเท่านั้น ลูกบุญธรรมใช้สิทธิ์ไม่ได้
- ผู้ใช้สิทธิ์ลดหย่อน หรือพ่อแม่ คนใดคนหนึ่งต้องอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันต่อปีนั้นๆ ที่จะใช้สิทธิ์ฯ
- เมื่อแบ่งจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ กับพี่น้องตัวเอง จะสามารถลดหย่อนได้สูงสุดตามจำนวนยอดเงินหารเฉลี่ยด้วยจำนวนพี่น้องที่ร่วมจ่าย (เช่น จ่ายยอดรวม 30,000 ร่วมกับพี่น้องทั้งหมด 3 คน จะลดหย่อนต่อคนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท)
- ประกันสุขภาพของคู่สมรสจะนำมาลดหย่อยภาษีได้ก็ต่อเมื่อคู่สมรสไม่มีรายได้
- ไม่ว่าจะใช้สิทธิ์ลดหย่อนจากประกันสุขภาพของพ่อแม่หรือคู่สมรส ผู้ใช้สิทธิ์จะต้องกรอกแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์ตามที่แต่ละบริษัทกำหนดก่อน เพื่อยินยอมให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลต่อสรรพากร
3. ประกันสุขภาพช่วยให้พร้อมรับมือ
ตอนนี้ประกันสุขภาพหลายแพ็คเกจได้รวมการตรวจสุขภาพประจำปีแบบฟรีๆ เข้าไปด้วย ถือเป็นโอกาสดีของผู้มีประกันที่จะสามารถตรวจเช็กสุขภาพได้อย่างละเอียด ครบถ้วน
รวมถึงเตรียมการรักษาได้ทันเวลา เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกาย หรือมีโรคร้ายๆ มาเยือนก่อนวัยอันควร
อ่านเพิ่มเติม: ซื้อประกันประเภทไหน? ลดหย่อนภาษีได้คุ้มค่าที่สุด!
ทั้ง 3 ข้อนี้คือเหตุผลสำคัญว่าทำไมคนเราควรทำประกันสุขภาพเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบรายละเอียดและเงื่อนไขแต่ละกรมธรรม์ให้ละเอียดอีกครั้งก่อนตัดสินใจทำประกันสุขภาพ
ประกันสุขภาพที่ไหนดี?
ประกันสุขภาพที่ดีที่สุด ก็คงไม่พ้นประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ผู้ทำประกันมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยประกัน เงื่อนไขกรมธรรม์ หรือชื่อเสียงของบริษัทประกันภัย
แต่ที่สำคัญควรดูข้อมูลดังกล่าวควบคู่ไปกับข้อมูลจากลูกค้าเดิม เช่น รีวิวจากผู้ใช้จริง การติดต่อตัวแทนที่ทำได้ง่าย เคลมง่าย ไม่ยุ่งยาก
และเงื่อนไขเป็นไปตามที่แจ้งในเอกสารกรมธรรม์จริง เป็นต้น เพื่อเลือกสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์สูงสุด