มีสวัสดิการแล้ว ต้องทำประกันสุขภาพอีกไหม?
มีสวัสดิการแล้ว ต้องทำประกันสุขภาพอีกไหม?
ชีวิตมนุษย์เงินเดือนที่บริษัททำประกันสังคมให้ตามกฎหมายแล้ว หรืออาจพ่วงประกันกลุ่มพนักงานแบบประกันสุขภาพมาให้เป็นส่วนหนึ่งในสวัสดิการด้วย ทำให้มักจะคิดว่ามันเพียงพอแล้ว ไม่ต้องทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมอีกก็ได้
ซึ่งความคิดนี้ก็ไม่ได้ผิดสักทีเดียว เพราะหากพิจารณาเงื่อนไขของทั้งประกันสังคม และประกันสุขภาพแบบกลุ่มแล้ว จะเห็นว่าวงเงินที่คุ้มครองกรณีประสบอุบัติเหตุเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ไม่ได้สูงมาก รวมถึงมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างยุ่งยาก และบางครั้งอาจไม่ครอบคลุมหลายโรคร้าย เช่น
- ประกันสังคม: เมื่อจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่นอกเหนือสิทธิ์แบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยหรือญาติจะต้องแจ้งให้โรงพยาบาลตามสิทธิ์ทราบทันที และสำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน แล้วค่อยเบิกคืนจากประกันสังคมภายหลัง โดยเบิกได้ตามยอดใช้จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 1,000 บาท ยกเว้นต้องให้เลือด ฉีดสารต้านพิษจากเชื้อบาดทะยัก อัลตร้าซาวน์ การขูดมดลูก ค่าฟื้นคืนชีพ และกรณีที่ต้องสังเกตอาการในห้องอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป
- ประกันสังคม: เมื่อจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่นอกเหนือสิทธิ์แบบผู้ป่วยใน ผู้ป่วยหรือญาติจะต้องแจ้งให้โรงพยาบาลในสิทธิ์ทราบทันที และสำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน แล้วค่อยเบิกคืนภายหลัง โดยเบิกค่ารักษาพยาบาลทั่วไปได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท และหากต้องผ่าตัดใหญ่ จะเบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท
- ประกันสุขภาพกลุ่ม: บางแผนระบุว่าไม่คุ้มครองโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง ฯลฯ บางแผนจะคุ้มครองโรคร้ายแรงก็ต่อเมื่อซื้อแพ็คเกจเพิ่มเติม เป็นต้น
- ประกันสุขภาพกลุ่ม: ส่วนใหญ่คุ้มครองค่าผ่าตัดสูงกว่าประกันสังคม คือตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักแสน (จ่ายตามจริง) และมีโอกาสเลือกโรงพยาบาลได้มากกว่า แต่เมื่อไหร่ที่จะใช้สิทธิ์จะต้องติดต่อฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ก่อนเสมอ เพื่อทำเอกสารส่งตัว
อย่างไรก็ตาม เมื่อมนุษย์เงินเดือนที่รายได้เดือนชนเดือนหรือไม่ได้มีเงินเก็บมากนัก เกิดสุขภาพทรุดขึ้นมา แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายจากสวัสดิการบริษัทเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะการเจ็บป่วยหนึ่งครั้ง จะตามมาด้วยค่าใช้จ่ายแฝงมากมาย
ตั้งแต่ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล ค่าดูแลช่วงพักฟื้น ตลอดจนค่าเสียโอกาสในการหาเงินสำหรับบางตำแหน่งงานที่ต้องทำยอด
ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามการทำประกันสุขภาพส่วนบุคคลเพิ่มเติมอีก เพราะจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ ที่ช่วยลดความกังวลใจยามเจ็บป่วยได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ประกันหลายกรมธรรม์ ก็เบิกได้ครอบคลุมมากกว่า
เรื่องที่หลายคนอาจไม่รู้คือ หากวงเงินจากกรมธรรม์เดียวไม่พอ คนมีกรมธรรม์หลายฉบับสามารถเบิกจากทุกฉบับเพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายตามจริงได้ แค่เพียงเก็บใบเสร็จตัวจริงไว้ใช้ในทุกครั้งที่เบิก การมีกรมธรรม์ทําให้ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องจ่ายส่วนต่างที่เกินวงเงินประกัน
หรือหากเกิดกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือค่าชดเชยรายวัน ผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องได้จากทุกบริษัทที่ได้ทำประกันไว้ได้ โดยไม่ต้องใช้เงื่อนไขเดียวกับค่ารักษาพยาบาล
อ่านเพิ่มเติม: 3 เหตุผลสำคัญ! ทำไมถึงควรทำประกันสุขภาพ?
ประกันสุขภาพคือ ความคุ้มค่า
วงเงินประกันสุขภาพส่วนบุคคลที่คุ้มครองกรณีประสบอุบัติ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิตนั้น เกินเบี้ยประกันไปหลายเท่าตัว และส่วนใหญ่วงเงินจะสูงกว่าสวัสดิการบริษัท เงื่อนไขการใช้งานก็สะดวกกว่า
เพียงติดต่อผ่านตัวแทนหรือบริษัทโดยตรง หรือประกันสังคมก่อน และไม่ต้องสำรองจ่าย จะมองมุมไหนก็คุ้มค่า
ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้
สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องยื่นภาษีเป็นประจำทุกปี รู้หรือไม่ว่าประกันสุขภาพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย หมดปัญหาการจ่ายเงินทิ้งเปล่าเมื่อไม่ได้เบิกตามความคิดของใครหลายคน ดังนี้
- สมัครประกันสุขภาพกับบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
- จะต้องเป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บปวดและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ หรือประกันอุบัติเหตุ เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูก หรือประกันภัยโรคร้ายแรง หรือประกันภัยการดูแลระยะยาว หรือค่าธรรมเนียมการคุ้มครองสุขภาพจากประกันสุขภาพที่ซื้อพ่วงกับประกันชีวิต
- เมื่อรวมเบี้ยประกันสุขภาพเข้ากับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป และเงินฝากแบบมีประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพที่ทำให้ตัวเอง สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี
- สามารถนำค่าใช้จ่ายที่จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้พ่อแม่มาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปี โดยต้องเป็นลูกแท้ ๆ เท่านั้น หรือถ้าคู่สมรสตามกฎหมายไม่มีรายได้ เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่คู่สมรสก็นำไปใช้ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปีเช่นกัน
- ถ้าแบ่งจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่กับพี่น้องตัวเอง จะสามารถลดหย่อนได้สูงสุดตามจำนวนยอดเงินหารเฉลี่ยด้วยจำนวนพี่น้องที่ร่วมจ่าย เช่น ยอดจ่ายรวม 30,000 บาท หารกับพี่น้อง 3 คน จะลดหย่อนได้ต่อคนสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เป็นต้น
ประกันที่ลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ ประกันชีวิต ประกันชีวิตแบบบำนาญ และประกันสุขภาพ เพราะภาครัฐต้องการกระตุ้นให้คนไทยเห็นความสำคัญของชีวิต ไม่ละเลยสุขภาพ และไม่ใช้ชีวิตประมาท
เพราะการเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ หรือเสียชีวิตของคนๆ หนึ่งเพียงครั้งเดียว สามารถส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ และสังคมได้มากกว่าที่คิด
ส่วนประกันที่ใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้ทุกกรณี คือ ประกันรถยนต์ เพราะภาครัฐกำหนดขอบเขตให้รถยนต์เป็นสิ่งของฟุ่มเฟือย ไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่
ผู้ที่ซื้อประกันชีวิตสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเบี้ยประกันที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และจะได้รับยกเว้นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท
โดยมีเงื่อนไขอยู่ว่า กรมธรรม์เล่มนั้นต้องมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป และต้องเป็นกรมธรรม์ที่ซื้อกับบริษัทประกันภัยที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้น
ขณะที่ผู้ซื้อประกัน ต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตไปแล้วจริงๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้าง หรือทำผิดเงื่อนไขของกรมสรรพากร ซึ่งจะเสี่ยงต่อการโดนปรับภาษีย้อนหลัง ที่อาจมาพร้อมดอกเบี้ย
อ่านเพิ่มเติม: ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?
ประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่
ผู้ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ จะยกเว้นภาษีเงินได้ได้เท่าที่จ่ายเบี้ยประกันไปแล้ว ในอัตราร้อยละ 15 ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีในแต่ละปี (รายได้พึงประเมิน) แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
แต่ถ้ารวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
หรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
อ่านเพิ่มเติม: ซื้อประกันสุขภาพแบบไหน ถึงจะได้สิทธิลดหย่อนภาษี
ทั้งนี้ ประกันชีวิตแบบบำนาญต้องมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ต้องซื้อกับบริษัทประกันภัยที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้น รวมถึงต้องมีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์ตั้งแต่ 55-85 ปี (หรือมากกว่า)
และผู้ซื้อประกันต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าได้จ่ายเบี้ยประกันอย่างครบถ้วนตามเงื่อนไขแล้ว
ข้อควรรู้ ประกันชีวิต และประกันชีวิตแบบบำนาญที่ซื้อให้พ่อแม่ หรือลูก ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้
เพราะกฎหมายมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 กำหนดให้ผู้ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต และประกันชีวิตแบบบำนาญ จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเบี้ยประกันด้วยตนเอง
ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่
ในส่วนของมูลค่าการลดหย่อนภาษีจากประกันสุขภาพ ผู้ซื้อประกันสามารถใช้สิทธิได้สูงสุดถึง 100,000 บาท/ปี โดยแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้
1. ประกันสุขภาพตนเอง
ผู้ที่ซื้อประกันสุขภาพให้ตนเอง สามารถนำมูลค่าเบี้ยประกันมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท/ปี แต่ถ้าซื้อประกันสุขภาพควบคู่กับประกันชีวิตที่มีกำหนดตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป เมื่อคิดมูลค่ารวมแล้ว จะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
(ข้อกำหนดสำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป)
2. ประกันสุขภาพพ่อแม่
สำหรับใครที่ต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งไปซื้อประกันสุขภาพให้กับพ่อแม่ ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะข่าวดีคือ สามารถนำค่าใช้จ่ายตรงนั้นมาลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า พ่อแม่จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี เท่านั้น
โดยลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกินคนละ 15,000 บาท หรืออธิบายง่ายๆ ได้ว่า ประกันของพ่อลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท และประกันของแม่ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท
ส่วนกรณีที่พ่อแม่มีลูกหลายคน ลูกทุกคนจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ แต่ต้องคำนวณแบบหารเฉลี่ย เช่น เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อ 10,000 บาท และในครอบครัวมีลูก 2 คน นั่นหมายความว่า พี่น้องแต่ละคนจะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้คนละ 5,000 บาท เป็นต้น
3. ประกันสุขภาพคู่สมรส
ประกันสุขภาพที่ซื้อให้คู่สมรสนั้น จะนำมาลดหย่อนภาษีได้ก็ต่อเมื่อ คู่สมรสไม่มีรายได้เท่านั้น โดยลดหย่อนได้ตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท/ปี
ทั้งหมดนี้คือข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าประกันสุขภาพนั้นสำคัญกว่าที่คิด จากที่เคยคิดว่าสวัสดิการสุขภาพเพียงพอแล้ว มาเป็นเริ่มต้นทำประกันสุขภาพส่วนบุคคลตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อความคุ้มครองสุขภาพที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น