8 กฎหมายควรรู้ เมื่ออยู่บนท้องถนน
8 กฎหมายควรรู้ เมื่ออยู่บนท้องถนน
เรื่องบนถนนเป็นเรื่องที่ต้องการความปลอดภัยอย่างสูง จึงมีกฎหมายมากมายออกมาเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยให้รัดกุมต่อผู้ขับขี่รถที่ฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หลีกเลี่ยง และเพิกเฉยต่อกฎหมายที่บังคับใช้ เพื่อความปลอดภัยต่อบุคคล และทรัพย์สินของทุกคนบนท้องถนน
1. เมาแล้วขับ
กฎหมายที่ทุกคนรู้จักกันดี และรณรงค์ให้ลด ละ เลิกกันอยู่ตลอด ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ.๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ระบุว่า “ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน ๕๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นให้ถือว่าเมาสุรา” ทั้งนี้ หากผู้ขับขี่รถยนต์มีปริมาณแอลกอฮอล์เกินที่กฎหมายกำหนด จะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ และเพิ่มมาตรการยึดรถในชั้นศาล ไม่เกิน 7 วัน
หากเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจโทษจำคุก 1 - 5 ปี ปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตฯ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตฯ เลยทีเดียว !! และในกรณีเมาแล้วขับจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างสาหัส มีโทษจำคุก 2 - 6 ปี ปรับตั้งแต่ 40,000 - 120,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลสามารถสั่งพักใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปีหรือเพิกถอนใบขับขี่ หรือเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุก 3 - 10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลสามารถสั่งเพิกถอนใบขับขี่ได้ทันที
2. ไฟหน้าต้องเป๊ะ
ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๒ ระบุว่า “รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิด อันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือ เอาออกแล้ว”
ลักษณะไฟหน้าที่ถูกต้องคือ ไฟส่องสว่างหน้ารถจะต้องมีสีขาว หรือสีเหลืองเท่านั้น และจะต้องมีกำลังไฟไม่เกิน 10 วัตต์ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกปรับไม่เกิน 500 บาท
3. ห้ามติดตั้งหลังคาซันรูฟ หรือมูนรูฟ
หลายคนอยากติดตั้งหลังคาซันรูฟ หรือมูนรูฟ เพื่อเพิ่มความหรูหรา สวยงาม และเพิ่มบรรยากาศให้กับตัวรถยนต์ แต่หากเราซื้อรถยนต์มาดัดแปลง หรือติดตั้งหลังคาซันรูฟ หรือมูนรูฟ ถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ว่าด้วยพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๔ ระบุว่า “มาตรา ๑๔ รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วน หนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนํารถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อน” หากผู้ใดฝ่าฝืนจะโดนโทษปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท อย่างไรก็ตาม หากรถไม่ได้มีการดัดแปลงเอง หรือติดตั้ง
หมายถึงผลิตตามการออกแบบของโรงงาน ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย
4. ล้อรถห้ามล้น
เพื่อความปลอดภัย ตามกฎหมายกำหนดไว้ว่า ล้อรถด้านท้ายห้ามเกิดออกมาจากบังโคลน 15 เซินติเมตร และขอบยางด้านนอกห้ามยื่นออกมาเกินตัวถังรถ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๔ ระบุว่า “มาตรา ๑๔ รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วน หนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนํารถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อน” หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท เว้นแต่จะมีอุปกรณ์ป้องกันให้ไม่เกิดอันตรายจากการหมุนของล้อ
5. อย่าเปิดไฟตัดหมอกพร่ำเพรื่อ
ไฟตัดหมอกสามารถใช้ได้ในหลายๆโอกาสเช่นกัน เช่น หมอกหนา ฝนตก ถนนที่มีความเปียกชื่น ขับรถผ่านกลุ่มควัน แต่ด้วยลักษณะของไฟตัดหมอกที่เป็นเหมือนสปอร์ตไลท์ย่อส่วน ความสว่างจึงมีมากและส่องได้ไกลกว่า แต่อาจจะรบกวนผู้อื่นในขณะขับได้
ดังนั้น การเปิดไฟตัดหมอกพร่ำเพรื่อ ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยพรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๑ ระบุไว้ว่า “ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็น คน รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของ (๑) ในข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ “รถคันใดจะมีโคมไฟหน้ารถเพื่อใช้ตัดหมอกก็ได้ โดยติดหน้ารถข้างละหนึ่งดวงอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลืองมีกำลังไฟเท่ากัน ไม่เกินดวงละ 55 วัตต์สูงจากพื้นทางราบไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำ ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตรและไม่เฉไปทางขวา”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (๒) ในข้อ๒ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) โคมไฟหยุด ให้ติดท้ายรถอย่างน้อยข้างละหนึ่งดวง โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน และจะติดตรงกึ่งกลางด้านท้ายภายในรถเพิ่มอีกหนึ่งดวงก็ได้ ใช้ไฟแสงแดงมีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 10 วัตต์ และมีแสงสว่างสามารถมองเห็นได้จากระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร เมื่อใช้ห้ามล้อไฟต้องไม่กระพริบ” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๓ ทวิ) ของข้อ ๑๓ แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
6. นั่งหลังต้องรัดเข็ม
เพราะความปลอดภัยบนท้องถนนนั้นสำคัญมาก รวมถึงผู้ขับขี่รถที่ฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หลีกเลี่ยง และเพิกเฉยต่อกฎหมายที่บังคับใช้ รัฐบาลจึงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้มงวด ซึ่งบังคับให้ใช้กับยานพาหนะทุกประเภท ยกเว้น รถไฟ โดยใช้ตามมาตรา ๔๔ ฉบับที่ ๑๔/๒๕๖๐ ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๒๓ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน “ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่รถยนต์ และต้องจัดให้คนโดยสารรถยนต์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัยขณะโดยสารรถยนต์ และคนโดยสารรถยนต์ ดังกล่าวต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะโดยสารรถยนต์ด้วย” หากฝ่าฝืนจะคนขับและผู้โดยสารรถเก๋ง รถแท็กซี่ และรถกระบะ ปรับไม่เกิน 500 บาท ส่วนรถตู้ รถทัวร์ รถบรรทุกสินค้า ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
7. ไฟเบรกต้องสีแดงเท่านั้น
ว่าด้วยพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๒ ระบุว่า “รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิด อันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือ เอาออกแล้ว” ไฟเบรกต้องเป็นสีแดง และห้ามมีการดัดแปลงใดๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดจนเกินอันตราย หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
8. ดัดแปลงท่อไอเสียให้ดัง
ดัดแปลงท่อไอเสียเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๒ ระบุว่า “รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิด อันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือ เอาออกแล้ว” เพราะการดัดแปลงท่อไอเสียรถให้มีความดังเกินกว่า 95 เดซิเบล อาจก่อการรบกวนผู้อื่นในขณะขับได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ข้อห้ามเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อกฎหมาย ซึ่งอาจสร้างความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม การขับรถโดยไม่ประมาท และมีสติจะเพิ่มความปลอดภัยให้กับคุณ และรถที่คุณรัก แต่จะง่ายกว่า ถ้ามี Smile Insure เป็นที่ปรึกษา เพราะเรื่องรถๆ ไว้ใจเรา ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนก็อุ่นใจแน่นอน
ขอบคุณวีดีโอจาก: https://www.youtube.com/watch?v=O_DzOihSO_Q