ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี จําเป็นต้องทําประกันรถยนต์เพิ่มไหม?
เชื่อว่าคนมีรถทุกคนคงรู้กันอยู่แล้วว่า รถทุกคันจะต้องมี พ.ร.บ. และต่ออายุเป็นประจำทุกปี
แต่สิ่งที่หลายคนอาจจะไม่รู้คือ ถ้าต่อ พ.ร.บ. แล้ว ยังต้องทําประกันรถยนต์เพิ่มอีกไหม? เพราะทั้ง 2 อย่างนี้ เป็นสิ่งที่ให้ความคุ้มครองขณะใช้รถใช้ถนนเหมือนกัน ถ้าทำแล้วจะซ้ำซ้อนกันหรือไม่?
วันนี้ SMILE INSURE เลยจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเรื่องนี้กันให้มากขึ้น เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองมากที่สุด
พ.ร.บ. คืออะไร ทำไมต้องต่อทุกปี?
พ.ร.บ. คือ สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมี และต้องทำต่อเนื่องทุกปี อย่าให้ขาด อ้างอิงจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ระบุไว้ว่า เจ้าของรถทุกคัน ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย
(ยกเว้นรถยนต์บางประเภท เช่น รถสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ เครือญาติ ผู้สำเร็จราชการแทน รถของสำนักพระราชวัง รถของกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล เป็นต้น)
อ่านเพิ่มเติม: 4 วิธี ช่วยลดค่าเบี้ยประกันรถได้จริง!
โดยเมื่อต่อ พ.ร.บ. แล้ว เจ้าของรถจะต้องเก็บหลักฐานไว้อย่างดี และนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่เรียกตรวจได้ทุกครั้ง หากฝ่าฝืน ไม่ต่อ พ.ร.บ. ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากไม่มีหลักฐานแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับอีกไม่เกิน 10,000 บาท
ประโยชน์ของการต่อ พ.ร.บ.
นอกจากประโยชน์ในด้านกฎหมาย การทำ พ.ร.บ. ต่อเนื่องทุกปี ยังมีประโยชน์ในเรื่องของการมอบความคุ้มครองให้ผู้ประสบภัยจากรถทุกคน และเป็นหลักประกันในการสร้างความมั่นใจว่า ผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ และเยียวยา ไม่ถูกคู่กรณีเพิกเฉย
หรือทอดทิ้ง รวมถึงเป็นตัวช่วยในการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในยามเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันให้กับเจ้าของรถยนต์ได้ด้วย
พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง?
สำหรับความคุ้มครองของ พ.ร.บ. นั้น จะครอบคลุมสิทธิต่างๆ ของผู้ประสบภัย ซึ่งหมายความถึงผู้ขับขี่รถยนต์คันนั้นๆ ผู้โดยสาร และคู่กรณี ใน 2 ส่วน คือ
ค่าเสียหายเบื้องต้น คือ ค่าเสียหายที่สามารถรับได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องรอพิสูจน์ความถูก-ผิด ตามกฎหมาย
กรณีบาดเจ็บ จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
กรณีสูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพถาวร ได้แก่ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว เสียอวัยวะอื่นๆ และจิตพิการ จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 35,000 บาท
กรณีเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท
กรณีเสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาล จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพอีกจำนวน 35,000 บาท หรือรวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
อ่านเพิ่มเติม: ประกันรถยนต์ชั้น 1 คุ้มครองอะไรบ้าง?
ค่าสินไหมทดแทน คือ เงินชดเชยที่ผู้ประสบภัยฝ่ายถูกจะได้รับหลังมีการพิสูจน์ความถูก-ผิดแล้ว
ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร ชดเชย 200,000 - 500,000 บาท (กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)
กรณีเสียชีวิต ชดเชย 500,000 บาท
ค่าชดเชยกรณีเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน ต่อเนื่องไม่เกิน 20 วัน
ต่อ พ.ร.บ. แล้ว จำเป็นต้องทําประกันรถยนต์เพิ่มไหม?
ข้อควรรู้คือ พ.ร.บ. และประกันรถยนต์ ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถเช่นเดียวกัน เพียงแต่ พ.ร.บ. เป็นประกันภัยรถภาคบังคับตามกฎหมาย (Compulsory Third Party Insurance) ส่วนสิ่งที่เราเรียกกันติดปากว่าประกันรถยนต์
เป็นประกันภัยรถภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance) ที่เจ้าของรถยนต์สามารถเลือกทำได้ตามความต้องการ
อ่านเพิ่มเติม: ต่อประกันรถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
แต่ถ้าถามว่า ต่อ พ.ร.บ. แล้ว ยังจำเป็นต้องทําประกันรถยนต์เพิ่มอีกไหม? ก็ต้องบอกว่า “จำเป็น” เพราะประกันรถยนต์จะช่วยเพิ่มความคุ้มครองผู้ประสบภัยให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นด้วย
อ่านเพิ่มเติม: รู้ก่อนตัดสินใจ ต่อประกันรถยนต์ที่ไหนดี?
เพราะผู้ประสบภัยจะสามารถเบิกเคลมค่าเสียหายได้จากทั้ง พ.ร.บ. และประกันรถยนต์ อีกทั้งส่วนใหญ่แล้ว ทุนประกันที่จะได้รับจากประกันรถยนต์ก็มักจะสูงกว่าที่ได้รับจาก พ.ร.บ. ด้วย (ทุนประกันขึ้นอยู่กับแผนประกันที่เลือก และเงื่อนไขของบริษัทประกัน)
ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงมักจะต่อ พ.ร.บ. ควบคู่กับการทำประกันรถยนต์ เป็นประจำทุกปี เพื่อเพิ่มความมั่นใจตลอดการใช้รถ
ประกันรถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง?
ความคุ้มครองของประกันรถยนต์ แตกต่างกันไปตามประเภทของประกัน ดังนี้
1. ประกันรถยนต์ชั้น 1
คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย
คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ อุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ แต่ไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้
คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ คือ ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ ที่ถูกไฟไหม้ หรือสูญหาย เพราะถูกลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือเป็นผลมาจากการพยายามกระทำดังกล่าว
2. ประกันรถยนต์ชั้น 2+
คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย
คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีรถชนแบบมีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก (รถชนรถ) เท่านั้น
คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
3. ประกันรถยนต์ชั้น 2
คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย
คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
4. ประกันรถยนต์ชั้น 3+
คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย
คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีรถชนแบบมีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก (รถชนรถ) เท่านั้น
5. ประกันรถยนต์ชั้น 3
คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย
คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
ผู้สนใจทำประกันรถยนต์ควบคู่กับ พ.ร.บ. สามารถเลือกประเภทประกันได้ตามความต้องการ โดยอาจพิจารณาจากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น พฤติกรรมการขับขี่ เส้นทางที่ใช้ อายุของรถ ความชำนาญในกับขับรถ เป็นต้น
แต่ถ้าอยากเพิ่มความมั่นใจในการขับขี่ให้ได้มากที่สุดก็ต้องเป็นประกันชั้น1 ที่มีความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด
ต่อ พ.ร.บ พร้อมทำประกันรถยนต์ที่ไหนดี?
สำหรับใครที่สนใจต่อ พ.ร.บ. และทำประกันรถยนต์ด้วย สามารถทำทั้ง 2 อย่างให้ครบจบในที่เดียวได้ง่ายๆ และสะดวกสบายมาก ที่ SMILE INSURE
เพียงซื้อประกันรถยนต์ที่ถูกใจผ่านเว็บไซต์ แล้วระบุว่าต้องการทำ พ.ร.บ. ด้วย ในขั้นตอนสุดท้าย แค่เท่านี้ ทั้งเอกสาร พ.ร.บ. และกรมธรรม์ประกันฯ ก็จะส่งตรงถึงมือคุณ