รู้ไว้ก่อนตัดสินใจซื้อ! บ้านน็อคดาวน์ทําประกันได้ไหม?

ถ้าให้พูดถึงเทรนด์บ้านที่มาแรงสุดๆ ในช่วง 2-3 ปีมานี้ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “บ้านน็อคดาวน์”
เพราะมีความโดดเด่นทั้งในเรื่องของดีไซน์ ขนาดที่กะทัดรัด ไม่เปลืองเนื้อที่ และงบประมาณในการติดตั้งที่ถูกกว่า
เมื่อเทียบกับการสร้างบ้านแบบก่ออิฐฉาบปูนทั่วๆ ไป จึงทำให้ได้รับความสนใจจากคนจำนวนมาก โดยเฉพาะคนอยากมีบ้าน ที่มีงบและพื้นที่จำกัด
อย่างไรก็ตาม บ้านน็อคดาวน์ถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทย ช่วงที่ผ่านมาเราจึงมักจะเห็นคอนเทนต์เกี่ยวกับบ้านน็อคดาวน์เยอะมากๆ ทั้งการให้ความรู้เรื่องข้อดี-ข้อด้อย คำแนะนำในการเลือกซื้อบ้าน การติดตั้ง รวมถึงไอเดียการออกแบบและแต่งบ้าน
แต่ที่น่าแปลกใจคือ แทบไม่มีใครพูดถึงการทำประกันบ้านน็อคดาวน์เลย ทำให้คนที่กำลังสนใจบ้านประเภทนี้สงสัยกันไม่น้อยว่า ความจริงแล้วบ้านน็อคดาวน์นั้นสามารถทำประกันบ้านได้ไหม?
และมีเรื่องอะไรอีกบ้างที่คนอยากมีบ้านน็อคดาวน์ควรรู้? วันนี้ SMILE INSURE จึงอยากจะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยนี้ไปด้วยกัน
บ้านน็อคดาวน์คืออะไร?
บ้านน็อคดาวน์ คือ บ้านสำเร็จรูปที่ไม่มีเสาและคาน แต่ใช้ผนังเบาเป็นตัวรับน้ำหนักแทน ซึ่งภายในจะมีการตกแต่งมาเรียบร้อยแล้ว รวมถึงมีการวางระบบประปา และไฟฟ้ามาแบบพร้อมใช้งานแล้วด้วย
ดังนั้นการติดตั้งบ้านน็อคดาวน์จึงเป็นเรื่องง่ายมาก เมื่อเทียบกับการสร้างบ้านทั่วไป เพราะแค่เพียงยกบ้านทั้งหลังมายังที่พื้นที่ว่าง ตอกเสาเข็มทำฐานรากเพิ่มเติม แล้วนำพื้นสำเร็จรูป ผนังสำเร็จรูป และข้อต่อต่างๆ มาประกอบกันตามแบบ ก็สามารถลากกระเป๋าเข้าอยู่ได้เลย

ข้อดีของบ้านน็อคดาวน์
นอกจากจุดเด่นที่เราพูดถึงไปในตอนต้นแล้ว บ้านน็อคดาวน์ยังมีข้อดีมากมายที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งเราได้รวบรวมข้อมูลมาฝากกันดังนี้
1. มีแบบบ้านให้เลือกได้มากกว่า
เพราะการซื้อบ้านเป็นหลังจากโครงการต่างๆ จึงช่วยลดระยะเวลาในการออกแบบบ้าน และลดปัญหาที่อาจเกิดจากความไม่เข้าใจกันระหว่างเจ้าของบ้านและนักออกแบบได้เป็นอย่างดี
2. บ้านน็อกดาวน์เคลื่อนย้ายได้ง่าย
ดังนั้นถ้าก่อนติดตั้งมีการปรับเปลี่ยนแผน เช่น เปลี่ยนมุม เปลี่ยนบริเวณ หรือต้องการย้ายไปยังที่ดินแปลงใหม่ ก็สามารถยกบ้านทั้งหลังขึ้นรถบรรทุก หรือแยกชิ้นส่วนเพื่อไปประกอบใหม่ก็ได้เช่นกัน
3. บ้านน็อกดาวน์ใช้เวลาติดตั้ง/ก่อสร้างรวดเร็ว
ด้วยความที่บ้านน็อคดาวน์มีขนาดไม่ใหญ่มากจึงสามารถใช้เวลาในการติดตั้ง/ก่อสร้าง ไม่เกิน 1 เดือน
4. ติดตั้งบ้านน็อคดาวน์ไม่เสียเวลา
นอกจากลงเสาเข็มแล้ว การติดตั้งน็อคบ้านน็อคดาวน์ แทบจะไม่ต้องก่อสร้างหน้างานเพิ่มเติมอีกเลย จึงช่วยลดปัญหาเรื่องฝุ่นละอองได้เป็นอย่างดี
5. ตัวบ้านน็อคดาวน์สามารถนำมาใช้งานได้หลายรูปแบบ
เช่น เป็นบ้านเพื่ออยู่อาศัยถาวร บ้านเพื่ออยู่อาศัยชั่วคราว บ้านพักตากอากาศ เป็นส่วนต่อเติมภายในตัวบ้าน ออฟฟิศ ทำธุรกิจที่พัก คาเฟ่ ร้านอาหาร สตูดิโอถ่ายภาพ เป็นต้น
6. ช่วยลดปัญหาช่างทิ้งงานได้
เพราะบ้านจะประกอบเสร็จตามแบบที่ตั้งไว้แล้ว
7. มีวิธีการซื้อหลายแบบ
วิธีการซื้อบ้านน็อคดาวน์ทำได้ทั้งแบบจ่ายเงินสดในครั้งเดียว และผ่อนผ่านบัตรเครดิต (เงื่อนไขเป็นตามที่บริษัทกำหนด)
ข้อด้อยของบ้านน็อคดาวน์
เมื่อพูดถึงข้อดีแล้ว ก็ต้องพูดถึงข้อด้อยด้วย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้คนที่อยากมีบ้านน็อคดาวน์ โดยจากการค้นคว้าข้อมูล ประกอบกับสอบถามจากผู้มีประสบการณ์ตรง SMILE INSURE พบว่า
1. มีโอกาสทรุดตัวง่ายกว่าบ้านที่ฝังเสาเข็ม
ถ้าปรับหน้าดินไม่ดี ดินไม่แน่น หรือใช้เสาเข็มไม่ยาวพอ อาจทำให้ดินทรุดตัวได้
2. หลังคาบ้านมักสร้างจากเมทัลชีท
ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่ากระเบื้องหลังคาทั่วไป จึงไม่เหมาะสำหรับการติดตั้งแผงโซ่ลาเซลล์ หรือสิ่งของที่มีน้ำหนักมากไว้ด้านบน
3. ลักษณะตัวบ้าน
ด้วยลักษณะของการนำชิ้นส่วนต่างๆ มาต่อกัน อาจทำให้ตัวบ้านมีรอยรั่วซึมได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเลือกวัสดุที่แข็งแรงทนทาน และใช้บริการออกแบบ ติดตั้งบ้านน็อคดาวน์กับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญสูง
4. ไม่สามารถต่อเติมหรือดัดแปลงได้
บ้านน็อคดาวน์ไม่สามารถต่อเติมหรือดัดแปลงส่วนประกอบของบ้านได้ เพราะอาจทำให้โครงสร้างบ้านเสียหาย และพังถล่มลงมา
5. ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนชื้น
อาจทำให้บ้านเป็นสนิมได้ง่าย เพราะโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นเหล็ก
6. ราคาไม่ถูกเสมอไป
ราคาบ้านน็อคดาวน์อาจไม่ได้ถูกกว่าการสร้างบ้านเองเสมอไป เพราะปัจจัยการกำหนดราคามีหลายอย่าง เช่น วัสดุของตัวบ้าน พื้นที่ ค่าแรงช่าง เป็นต้น
7. การกู้สินเชื่อเพื่อมาซื้อบ้านน็อคดาวน์
- จะมีขั้นตอนที่ต้องทำเยอะกว่าการกู้ซื้อบ้านแบบทั่วไป ดังนี้
- ต้องมีการลงเสาเข็มบ้าน เพื่อแสดงให้ธนาคารเห็นว่าตัวบ้านมีฐานที่มั่นคง
- นำเอกสาร Bill of Quantities (BOQ) ที่เซ็นรับรองโดยวิศวกร ไปยื่นกับสำนักงานเขตในพื้นที่ เพื่อขอใบอนุญาตก่อสร้าง (อ.1)
- นำ BOQ และใบ อ.1 ไปยื่นขอสินเชื่อกับธนาคาร และเมื่อสินเชื่ออนุมัติแล้ว ก็เริ่มติดตั้งหรือก่อสร้างได้เลย แต่ทั้งนี้ เจ้าของบ้านควรมีเงินสำรองไว้บ้าง เพราะเงื่อนไขการให้สินเชื่อของแต่ละธนาคารไม่เหมือนกัน บางที่อาจให้กู้ได้ 100% บางที่อาจกู้ได้แค่บางส่วน หรือบางที่อาจให้ทยออเบิกได้เป็นรายงวดเท่านั้น
บ้านน็อคดาวน์ทำประกันบ้านได้ไหม?
บ้านน็อคดาวน์จะสามารถทําประกันได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่งเพราะอาจมีข้อกำหนดเฉพาะเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ก่อสร้างและความมั่นคงของโครงสร้าง ควรติดต่อที่ปรึกษาประกันภัยเพื่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับประกันบ้านเพิ่มเติม
สนใจสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับประกันอัคคีภัยเพิ่มเติมทัก SMILE INSURE ได้เลย