รถเกิดอุบัติเหตุ แต่ พ.ร.บ. หาย! แบบนี้เคลมประกันได้ไหม?
“พ.ร.บ.รถยนต์” ถือเป็นสิ่งสำคัญโดยกฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จำเป็นต้องทำ เพราะการทำ พ.ร.บ. รถยนต์นี้ช่วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ
พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นประกันภัยภาคบังคับที่ กฎหมายกำหนดให้รถทุกคัน ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องทำ โดยไม่คำนึงถึงประเภทของรถ
แต่หลายคนคงยังสงสัยอยู่ว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุ แต่ พ.ร.บ. หาย แบบนี้จะเคลมประกันได้ไหม เมื่อ พ.ร.บ. หายจะต้องทำอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
ความสําคัญของ พ.ร.บ.
- คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินถนน
- เยียวยาผู้ประสบภัย โดยไม่คำนึงว่าใครเป็นฝ่ายผิดหรือถูก
- ช่วยให้ผู้ประสบภัยได้รับค่ารักษาพยาบาล และค่าสินไหมทดแทนอย่างทันท่วงที
อ่านเพิ่มเติม: ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี จําเป็นต้องทําประกันรถยนต์เพิ่มไหม?
ความสำคัญของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
- เป็นหน้าที่ของเจ้าของรถที่ต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด
- กฎหมายได้กำหนดให้มีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันต่อสังคม
- เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ที่ขับขี่หรือเจ้าของรถหากต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
- เป็นมาตรการการลดปัญหาทางสังคมด้านหนึ่งซึ่งไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด
- เป็นมาตรการบรรเทาผลร้ายต่อผู้เสียหายหากเกิดการรับผิดชอบ
- เป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐด้านการักษาทรัพยากรมนุษย์
อ่านเพิ่มเติม: รู้ก่อนตัดสินใจ ต่อประกันรถยนต์ที่ไหนดี?
ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. แบ่งออกเป็น 2 กรณี
คุ้มครองความเสียหายต่อชีวิต
- กรณีเสียชีวิต
- กรณีทุพพลภาพ
- กรณีสูญเสียอวัยวะ
คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล
- ค่ารักษาพยาบาล
- ค่าทำศพ
- จำนวนเงินคุ้มครอง ของ พ.ร.บ. จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของรถ
ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. เบื้องต้น (ยังไม่พิสูจน์ความผิด)
- ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
- ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
- การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาทต่อคน
**หากเสียหายรวมกันทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2 ต้องไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. (กรณีเป็นฝ่ายถูก)
การจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งผู้เคลมประกัน จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดตามกฎหมาย โดยมีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
- การเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน
- กรณีสูญเสียอวัยวะตามเกณฑ์ จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน
- ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน หรือไม่เกิน 4,000 บาท
- จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท
- วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5,000,000 ต่อครั้ง
- วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10,000,000 ต่อครั้ง
อ่านเพิ่มเติม: ต่อประกันรถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
พ.ร.บ. หาย เคลมประกันได้ไหม?
สำหรับกรณีที่ พ.ร.บ. หาย เมื่อเกิดอุบัติเหตุแต่ไม่มีคู่กรณีหรือผู้ประสบภัย จะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ และยังจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ เองทั้งหมดแต่หากรถไม่มีพรบ ประสบอุบัติเหตุ
และมีบุคคลภายนอกหรือคู่กรณีบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ทางคู่กรณีสามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
โดยทางกองทุนฯ จะทำการชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้ประสบภัยก่อน และจะไปไล่เก็บเบี้ยคืนกับทางเจ้าของรถ ซึ่งจะบวกเงินเพิ่มจากเดิมอีก 20% รวมกับค่าปรับที่ไม่ทำหรือต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และค่าปรับที่นำรถไม่มีพรบ มาใช้งานเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท
พ.ร.บ. หาย แต่มีประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ในส่วนของตัวรถถ้ารถเกิดอุบัติเหตุแต่เจ้าของได้ทำประกันรถยนต์ไว้แน่นอนว่าจะได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้ ซึ่งความคุ้มครองจะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่ซื้อและทุนประกัน
เพราะประกันภัยรถยนต์มีไว้เพื่อช่วยซ่อมรถและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่บานปลายเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ซึ่งสามารถเคลมประกันภัยรถยนต์ได้
สามารถต่ออายุ พ.ร.บ. ที่ไหนได้บ้าง?
ปัจจุบันการต่อ พ.ร.บ. ไม่จำเป็นที่จะต้องเดินทางไปกรมขนส่งหรือที่ทำการไปรษณีย์เท่านั้นแต่สามารถต่อที่อื่นได้ดังนี้
- บริษัทประกันภัย
- ธนาคาร
- ตัวแทนประกันภัย
- เว็บไซต์ของบริษัทประกันภัย
และถ้าหากคุณมีประกันรถยนต์ภาคสมัครใจอยู่แล้วก็สามารถเลือกต่อ พ.ร.บ. กับบริษัทประกันที่ทำประกันรถยนต์ไว้ได้เลย
จะเป็นอย่างไรหากไม่ต่อ หรือ ขาดต่อ พ.ร.บ.
- มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้
กรณี พ.ร.บ. หาย จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? และต้องทำอย่างไร?
ตามปกติแล้ว ถ้าพ.ร.บ.หาย สามารถใช้สำเนาที่เคยถ่ายเอกสารไว้ ประกอบการต่อภาษีได้เลย แต่ถ้าพ.ร.บ.หายและไม่มีสำเนาเก็บไว้ จะไม่สามารถต่อภาษีได้
แต่เจ้าของรถไม่ต้องตกใจหรือเครียดจนเกินไป เพราะปัญหานี้แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการรีบไปขอพ.ร.บ.รถยนต์ใหม่ให้เร็วที่สุด ด้วย 3 ขั้นตอนง่ายๆ ตามนี้
- ไปสถานีตำรวจเพื่อแจ้งความ พ.ร.บ. หาย ป้องกันบุคคลอื่นที่เก็บได้นำไปแอบอ้าง แล้วขอสำเนาใบแจ้งความ หรือสำเนาบันทึกประจำวันกลับมา
- เตรียมเอกสารสำคัญเอกสารประกอบการขอ พ.ร.บ. รถยนต์ใหม่ อาทิ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสมุดคู่มือทะเบียนรถหรือรายการจดทะเบียนรถ (ตัวจริงและสำเนา)
- ไปติดต่อขอ พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่ที่กรมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด
สำหรับใครที่จำข้อมูลของพ.ร.บ. รถตัวเองไม่ได้ แต่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในส่วนนี้ ให้โทรสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 ตลอด 24 ชั่วโมง
สรุป
พ.ร.บ เป็นสิ่งสำคัญที่รถทุกคันต้องทำตามที่กฎหมายบังคับ ส่วนประกันภัยภาคสมัครใจก็สำคัญไม่แพ้กันทุกคนที่เป็นเจ้าของรถยนต์คงไม่อยากประสบอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
แต่ถ้าเกิดขึ้นจริง การมีประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองดีก็จะช่วยให้คุณมีหลักประกันและได้รับการชดเชยความเสียหาย เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองในกรณีเกิดอุบัติเหตุแนะนำว่าควรรีบทำประกันภัยรถยนต์ไว้นะคะ