รถเกิดอุบัติเหตุแต่ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิกพ.ร.บ. ได้ไหม?
“อุบัติเหตุรถชน” ถ้าเกิดขึ้นกับรถของคุณเอง ก็คงจะจัดการได้ไม่ยากขนาดนั้น เพราะมีเบอร์โทรประกัน และรู้เงื่อนไขความคุ้มครอง
แต่ถ้าวันหนึ่ง รถชนในตอนที่คุณกำลังใช้รถของคนอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นรถเพื่อน รถแฟน รถพ่อแม่ หรือรถของที่ทำงาน คุณคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? และต้องทำอย่างไรต่อไป?
เชื่อว่าความสงสัยมากมายคงเกิดขึ้นกับคุณ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิในการเบิกเคลมพ.ร.บ. และประกันรถยนต์ เพราะอย่างที่รู้ๆ กันว่า คุณไม่ใช่เจ้าของรถ ไม่ใช่คนจ่ายค่าพ.ร.บ. และประกันรถยนต์ จึงอาจจะไม่ได้เข้าใจเงื่อนไขอะไรหลายๆ อย่าง ได้เท่ากับเจ้าของรถตัวจริง
SMILE INSURE อยากชวนคุณมาไขข้อข้องใจในประเด็นนี้กัน
ทบทวนข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับพ.ร.บ.
พ.ร.บ. หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) ที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ และรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ไฟฟ้า
หรือพลังงานรูปแบบอื่น ทุกคัน ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องมี และต้องต่ออายุต่อเนื่องทุกปี ห้ามขาด จนกว่าจะเลิกใช้รถคันนั้นไป เพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้ผู้ที่ได้รับการที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต
อ่านเพิ่มเติม: จะเกิดอะไรขึ้น? ถ้าต่อประกันรถไม่ทันวันหมดอายุ!
เพราะอุบัติเหตุจากรถ โดยจะให้ความคุ้มครองกับทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ตามเงื่อนไขดังนี้
ค่าเสียหายเบื้องต้น
ค่ารักษาพยาบาลสูงสุดรายละไม่เกิน 30,000 บาท
ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร เสียชีวิต รายละไม่เกิน 35,000 บาท
ได้รับบาดเจ็บ ต่อมาเสียชีวิต รายละไม่เกิน 65,000 บาท
ความคุ้มครองตามกรมธรรม์พ.ร.บ.
ค่ารักษาพยาบาลสูงสุดรายละไม่เกิน 80,000 บาท
ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพถาวร เสียชีวิต 300,000 บาท
สูญเสียอวัยวะ 200,000 – 300,000 บาท *ตามเงื่อนไขกรมธรรม์
ค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท *จ่ายตามจริง ไม่เกิน 20 วัน
โดยค่าเบี้ยพ.ร.บ. จะแตกต่างกันไปตามประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ราคา 600 บาท/ปี รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุุคล เกิน 125 ซี.ซี. ไม่เกิน 150 ซี.ซี. ราคา 400 บาท/ปี เป็นต้น ก็ถือว่าคุ้มค่า เมื่อเทียบกับสิทธิที่จะได้รับ
อ่านเพิ่มเติม: รู้ไหม? ใบขับขี่หมดอายุ ก็ต่ออายุประกันรถได้!
ไม่ใช่เจ้าของรถ จะเบิกพ.ร.บ. ได้ไหม?
เชื่อหรือไม่ว่า ถ้าหากคุณใช้รถของคนอื่นอยู่ และเกิดอุบัติเหตุรถชน คุณสามารถเบิก พ.ร.บ. “ได้” ไม่ต่างจากเจ้าของรถ แม้จะไม่มีใบขับขี่ หรือใบขับขี่หมดอายุก็ตาม เพราะพ.ร.บ. เป็นประกันภัยภาคบังคับที่ตั้งใจมอบความคุ้มครองต่อร่างกายให้ทุกคน แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้
รถคันนั้นต้องมีพ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุ
เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้คุณ หรือคู่กรณีได้รับบาดเจ็บทางด้านร่างกาย หรือเสียชีวิต เพราะพ.ร.บ จะให้ความคุ้มครองแค่กับคน ไม่ใช่ตัวรถ
ถ้าพิสูจน์แล้วว่าคุณเป็นฝ่ายผิด จะเบิกได้แค่ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
อ่านเพิ่มเติม: ขับรถทางไกล ประกันรถยนต์แบบไหนที่ควรมี?
ดังนั้น ก่อนจะยืมรถของใครมาใช้ และไม่อยากเจอกับเหตุการณ์เจ็บฟรี หรือต้องรับผิดชอบคู่กรณีจนแทบจะจ่ายไม่ไหว อย่าลืมสอบถามเรื่องพ.ร.บ. จากเจ้าของรถก่อน หากรถไม่มีพ.ร.บ. ควรหลีกเลี่ยงที่จะใช้งาน
และแนะนำให้เจ้าของรถไปต่อพ.ร.บ. เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบ เจ้าของรถมีสิทธิ์โดนโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนผู้ใช้รถก็จะโดนโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทด้วย
ไม่ใช่เจ้าของรถ จะเบิกพ.ร.บ. ต้องทำยังไง?
เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน หลังจากโทรเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแล้ว กรณีได้รับบาดเจ็บ และต้องการเบิกพ.ร.บ. ให้นำเอกสารค่ารักษาพยาบาล กรมธรรม์ประกันภัย
และสำเนาบัตรประชาชนของผู้บาดเจ็บให้เรียบร้อย ไปยื่นเรื่องกับทางบริษัทประกันพ.ร.บ. หรือกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
อ่านเพิ่มเติม: 5 ข้อดีของการทำประกันรถยนต์ออนไลน์
แต่ถ้ากรณีเสียชีวิต ทายาทโดยชอบธรรมจะต้องเตรียมเอกสารอื่นเพิ่มเติมอีก ได้แก่ บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใบมรณบัตร และสำเนาบัตรประชาชนของทายาท แล้วค่อยนำไปยื่นเรื่องกับทางบริษัทประกันพ.ร.บ. หรือกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
โดยค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจะจ่ายตามจริงไม่เกิน 30,000 บาท มีสิทธิ์รับได้ภายใน 7 วัน นับจากวันร้องขอจากบริษัทประกันภัย โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด และระยะเวลาในการขอใช้สิทธิเบิก พ.ร.บ. คือ ภายใน 180 วันหลังจากวันที่เกิดเหตุ
ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิกได้ทั้งพ.ร.บ. และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ
นอกจากนั้น ถ้ารถมีทั้งพ.ร.บ. และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ นอกจากจะเบิกพ.ร.บ. แล้ว ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถยังสามารถเรียกเคลมประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ แทนเจ้าของรถได้อีกด้วย แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขนี้
ต้องมีใบขับขี่ (หมดอายุได้)
กรณีเป็นฝ่ายถูก สามารถเรียกร้องจากคู่กรณีได้ตามปกติ
กรณีเป็นฝ่ายผิด จะสามารถเคลมประกันรถยนต์ได้ตามขั้นตอนปกติ ถ้ารถคันนั้นทำประกันแบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ แต่ถ้าประกันระบุชื่อผู้ขับขี่เอาไว้ ผู้ขับขี่ที่ยืมรถคนอื่นมา จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกเองทั้งหมด
ต่อพ.ร.บ.พร้อมซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์คือทางเลือกที่ดีที่สุด
อย่างไรก็ตาม ถ้าสังเกตเงื่อนไขความคุ้มครอง และทุนประกันพ.ร.บ. จะเห็นว่าไม่สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของเจ้าของรถ หรือผู้ขับขี่คนอื่นๆ ได้ครอบคลุมทั้งหมด
ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุดในการเพิ่มความคุ้มครองให้กับผู้ขับขี่ และคู่กรณี คือต่อพ.ร.บ. และซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ ไปพร้อมๆ กันทุกปี ไม่ปล่อยให้อะไรอย่างใดอย่างหนึ่งหมดอายุ
โดยแนะนำให้ซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ ผ่านโบรกเกอร์ประกันภัยชั้นนำอย่าง SMILE INSURE เพราะจะมีตัวเลือกให้เจ้าของรถสามารถต่อพ.ร.บ. และซื้อประกันออนไลน์จากบริษัทประกันชั้นนำไปพร้อมกันได้เลย
นอกจากนี้ ยังมีความพิเศษอยู่ที่โปรโมชั่นประกันรถยนต์ผ่อนได้ ดอกเบี้ย 0% นานสูงสุด 10 เดือน ทั้งแบบใช้บัตรเครดิต และไม่ใช้บัตรเครดิต
ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจแบบไหนคุ้มครองคนและรถได้มากที่สุด?
สำหรับประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่จะช่วยเสริมความคุ้มครองเพิ่มเติมจากพ.ร.บ. ได้มากที่สุด ได้แก่ ประกันชั้น1 และ ประกันชั้น2+
ประกันชั้น1
ประกันรถที่มีค่าเบี้ยประกันสูงที่สุด และมีเงื่อนไขความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ
คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย
คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ อุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ แต่ไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้
คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ ที่ถูกไฟไหม้ หรือสูญหาย เพราะถูกลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือเป็นผลมาจากการพยายามกระทำดังกล่าว
ประกันชั้น2+
ประกันที่จ่ายค่าเบี้ยน้อยกว่าประกันชั้น1 แต่คุ้มครองความเสียหายทั้งฝั่งรถคันที่เอาประกัน และฝั่งคู่กรณี ด้วยเงื่อนไขว่า ต้องเป็นกรณีรถชนแบบมีคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ ว่ามีความคุ้มครองดังนี้
คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย
คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีรถชนแบบมีคู่กรณีเท่านั้น แต่ไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้
คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ อุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ ที่ถูกไฟไหม้ หรือเกิดการสูญหายจากการกระทำที่ผิดกฎหมายของผู้อื่น
*วงเงินการคุ้มครองในแต่ละด้านจะขึ้นอยู่กับแพ็คเกจประกัน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่บริษัทประกันหรือโบรกเกอร์
สนใจทําประกันรถยนต์ กรอกข้อมูลได้ที่นี่
สรุปว่า ถึงแม้คุณจะไม่ใช่เจ้าของรถ แต่ในยามเกิดอุบัติเหตุก็ยังสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมาย ได้จากทั้งพ.ร.บ. และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ แต่ควรศึกษารายละเอียดปลีกย่อยให้ครบถ้วนก่อน เพื่อไม่ให้พลาดสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมาย
ทั้งนี้ไม่ว่าคุณจะขับรถของตัวเอง หรือขับรถของคนอื่น แม้จะมีพ.ร.บ. และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระอยู่แล้ว ก็ยังควรขับรถด้วยความระมัดระวัง และเคารพกฎหมายอยู่ตลอดเวลา
ต่อพ.ร.บ. และประกันรถยนต์ ครบจบในที่เดียวที่ SMILE INSURE