บทความ | สาระน่ารู้อื่นๆ

ปวดประจําเดือนแบบไหน? ที่อันตรายต้องรีบพบแพทย์!

ปวดประจําเดือนแบบไหน? ที่อันตรายต้องรีบพบแพทย์!
08/12/2023  สาระน่ารู้อื่นๆ

เมื่อเข้าสู่ช่วงประจำเดือนใกล้มาทีไร สาวๆ หลายคนคงกังวลใจไม่น้อยเพราะเป็นช่วงที่มีภาวะ PMS ทั้งภาวะอารมณ์ที่แปรปรวน และที่สำคัญคือมีอาการปวดท้องประจําเดือนมีหลายระดับ ซึ่งจะปวดในระดับไหน มากหรือน้อยคงแล้วแต่คนไป

แล้วแบบนี้อาการปวดแบบท้องแบบไหนที่ไม่ควรชะล่าใจ และเป็นการปวดท้องที่แสดงถึงภาวะเริ่มอันตรายควรรีบไปพบแพทย์ มาดูข้อมูลเหล่านี้ไปพร้อมกัน

 ปวดประจําเดือนแบบไหน? ที่อันตรายต้องรีบพบแพทย์! | Smile Insure


PMS คืออะไร?

PMS (Premenstrual Syndrome) คือ อาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนราว 1 – 2 สัปดาห์ โดยสาเหตุของอาการนั้นมีปัจจัยสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน 

ซึ่งอาการ PMS นี้ เป็นตัวการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ

 ปวดประจําเดือนแบบไหน? ที่อันตรายต้องรีบพบแพทย์! | Smile Insure


PMS มีอาการอย่างไร? อาการก่อนเป็นประจำเดือน

ก่อนวันนั้นของการมีประจำเดือนมักมีอาการแสดงให้รู้ตัว โดยสามารถแบ่งได้เป็นอาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม และอาการทางด้านร่างกาย ดังนี้

อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ได้แก่

  • มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดหรือโกรธง่าย
  • มีความตึงเครียดและไม่มีสมาธิ
  • มีอารมณ์เศร้า ร้องไห้กับเรื่องเล็ก ๆ วิตกกังวล
  • มีความต้องการหรืออยากอาหารมากกว่าปกติ
  • มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม (Social Withdrawal)
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ (Insomnia)

 อ่านเพิ่มเติม: "อาหารเป็นพิษ" ท้องเสียแบบไหนที่ควรพบแพทย์?

อาการทางด้านร่างกาย ได้แก่

  • เจ็บเต้านม
  • ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดท้อง ท้องอืด
  • ท้องผูกหรือท้องเสีย
  • น้ำหนักตัวเพิ่ม
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • มีสิวขึ้น

 ปวดประจําเดือนแบบไหน? ที่อันตรายต้องรีบพบแพทย์! | Smile Insure


การปวดประจำเดือนมีกี่แบบ?

1.ปวดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea) คือ การปวดประจำเดือนที่ไม่มีโรคหรือพยาธิสภาพใดๆ เป็นการเกิดจากสาร Prostaglandin ที่หลั่งออกมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างการมีประจำเดือน 

อ่านเพิ่มเติม: ตรวจสุขภาพประจําปี ต้องตรวจโรคอะไรบ้าง?

ส่งผลให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว มีเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงมดลูกน้อยลง โดยทั่วไปจะมีอาการดังนี้

  • เริ่มปวดหลังมีประจำเดือนใหม่ๆ ของการมีประจำเดือน 6 เดือนแรกในชีวิต
  • มีอาการปวดใน 48-72 ชั่วโมงของการมีประจำเดือนครั้งนั้นๆ
  • ปวดบีบหรือปวดคล้ายอาการเจ็บครรภ์คลอด
  • เริ่มปวดจากอุ้งเชิงกราน อาจมีร้าวไปหลังหรือต้นขา
  • อาจมีอาการคลื่นไส้ ถ่ายเหลว อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าร่วมด้วย
  • เมื่อตรวจภายในแล้วไม่พบความผิดปกติ

 ปวดประจําเดือนแบบไหน? ที่อันตรายต้องรีบพบแพทย์! | Smile Insure


2.ปวดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary dysmenorrhea) คือ อาการปวดประจำเดือนที่มีพยาธิสภาพ หรือโรคใดๆ ทำให้ปวด เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกมดลูก 

เกิดจากการใส่ห่วงอนามัย หรือมีพังผืดในช่องท้อง โดยอาการปวดจะรุนแรงและมักจะเรื้อรัง ดังนี้

  • อาการปวดเริ่มในช่วงอายุ 20-30 ปี โดยไม่มีอาการปวดประจำเดือนมาก่อนหรือเคยปวดน้อยๆ ไม่เคยปวดมากมาก่อน
  • ปวดรุนแรงขึ้น มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในบางรายอาจปวดมากจนต้องฉีดยาแก้ปวด
  • ประจำเดือนมามาก หรือมาผิดปกติร่วมด้วย
  • มีความผิดปกติในอุ้งเชิงกราน หรือตรวจร่างกายพบความผิดปกติ
  • ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือ ยาเม็ดคุมกำเนิด
  • มีภาวะมีบุตรยาก
  • ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีตกขาวผิดปกติ

 ปวดประจําเดือนแบบไหน? ที่อันตรายต้องรีบพบแพทย์! | Smile Insure


ปวดประจำเดือนมากจะเป็นช็อกโกแลตซีสต์หรือไม่

ช็อกโกแลตซีสต์ คือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ส่วนใหญ่จะมีขนาด 2-5 ซม. แต่พบว่าใหญ่ได้ถึง 20 ซม. ที่เรียกว่าช็อกโกแลตซีสต์ก็เพราะมีการไหลย้อนกลับของประจำเดือนไปสะสมกลายเป็นถุงน้ำ 

อ่านเพิ่มเติม: ดูแลสุขภาพอย่างไรให้ปลอดภัย? เมื่อต้องเจอฝุ่น PM 2.5 

โดยเลือดข้างในจะมีสีแดงคล้ำคล้ายกับช็อกโกแลต การปวดประจำเดือนมากและเรื้อรังอาจเป็นช็อกโกแลตซีสต์หรือไม่ก็ได้ หากกังวลหรือสงสัยควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย เพราะหากเป็นช็อกโกแลตซีสต์แล้วปล่อยทิ้งไว้จนแตกจะมีอันตรายเป็นอย่างมาก

 ปวดประจําเดือนแบบไหน? ที่อันตรายต้องรีบพบแพทย์! | Smile Insure


อาการปวดท้องประจำเดือนปกติ

จะปวดประจำเดือนไม่มากแค่พอรำคาญ แต่ไม่ปวดจนรู้สึกว่าทรมานหรือทนไม่ไหว อาการจะเริ่มเป็นวันที่ 1-2 ของการมีประจำเดือน   ไม่ถึงกับต้องรับประทานยาแก้ปวดอาการจะหายไปเอง ภายใน 1-2 วัน  ในกรณีมีเพศสัมพันธ์แล้ว จะไม่มีอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์

 ปวดประจําเดือนแบบไหน? ที่อันตรายต้องรีบพบแพทย์! | Smile Insure


อาการปวดประจำเดือนที่ผิดปกติ และควรไปพบแพทย์

1. มีอาการปวดประจำเดือนมาก โดยช่วงที่ปวดประจำเดือนแรกๆอาจพอทนไหว แต่ต่อมาอาจเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นทุกเดือน และมักจะรู้สึกปวดรุนแรงในช่วง 1-2 วันแรกของการมีประจำเดือน

2. ปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรงจนต้องทานยาแก้ปวด มากกว่าวันล่ะ 1 ครั้ง หรือเคยต้องฉีดยาแก้ปวดมากกว่า 1 ครั้ง

3. ขณะมีประจำเดือนมีอาการปวดท้องอยากถ่ายอุจจาระ ปวดมวนื้องหรือไปถ่ายอุจจาระแต่ไม่มีอุจจาระอออกมา

4. ปวดและกดเจ็บตรงบริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง และมักมีอาการปวดร้าวลงมาที่ช่องคลอดข้างเดียวกัน หรือปวดร้าวไปที่ขา

5. ปวดประจำเดือนมากร่วมกับการมีเลือดออกกระปริบกระปรอย หรือประจำเดือนมามากกว่าปกติ ในบางราย อาจมามากกว่า 1 ครั้งใน 1 เดือน

6. มีอาการปวดท้องขณะมีเพศสัมพันธ์

ปวดประจำเดือนที่ผิดปกติ เป็นโรคอะไรได้บ้าง?

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • เนื้องอกมดลูก
  • ซ๊อกโกแลตซีสต์
  • เลือดออกในอุ้งเชิงกราน
  • ผังผืดในอุ้งเชิงกราน
  • เนื้องอกของรังไข่
  • ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
  • ปีกมดลูกอักเสบ
  • นิ่วในท่อไต
  • ใส้ติ่งอักเสบ
  • มะเร็งลำใส้ใหญ่

 เพิ่มเพื่อน

สอบถามเพิ่มเติม ทักแชทมาได้เลยนะคะ

สําหรับใครที่รู้ว่าตนเองมีอาการปวดท้องบ่อยๆ ตามข้อดังกล่าวก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด แต่สิ่งสําคัญที่ไม่ควรมองข้ามและมีไว้ดีที่สุดเลยคือการทําประกันสุขภาพไว้แต่เนิ่นๆ เพราะเป็นตัวช่วยสําคัญที่จะช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย

ขอบคุณข้อมูลจาก 

สอบถามข้อมูลประกันทุกประเภท ได้ที่ INBOX: m.me/smileinsure LINE ไอดี @smileinsure หรือคลิก https://lin.ee/QePEnIL หรือโทร Call Center 02-233-9999

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ