ต้องรู้! อายุเท่านี้ จําเป็นต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง?
หลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดว่าการฉีดวัคซีนจําเป็นต้องฉีดเฉพาะวัยเด็กเท่านั้น แต่ความสําคัญของวัคซีนที่ใครหลายคนยังมองข้าม คือความจริงแล้วทุกคนในแต่ละช่วงอายุนั้นจำเป็นต้องได้รับวัคซีนบางชนิดเพื่อป้องกันโรคร้ายแรง
และมีความเสี่ยงต่อโรคติดต่อและโรคร้ายแรงบางชนิดแตกต่างกัน ซึ่งมีเหตุผลดังนี้
อ่านเพิ่มเติม: ตรวจสุขภาพประจําปี ต้องตรวจโรคอะไรบ้าง?
ทารกแรกเกิด
ร่างกายยังไม่แข็งแรง ระบบภูมิคุ้มกันยังอ่อนแอ จึงต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
วัคซีนที่ควรได้รับเริ่มตั้งแต่เป็นทารกแรกเกิด ควรต้องได้รับ
- วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน
- วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
เด็กเล็กและวัยเรียน
ต้องฉีดวัคซีนเสริม เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น เนื่องจากวัคซีนบางชนิดฤทธิ์จะค่อยๆ ลดลงหลังจากได้รับในวัยทารก วัคซีนที่ควรได้รับในเด็กเล็กและวัยเรียนก็ต้องได้รับวัคซีนเสริมฤทธิ์ เช่น
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และไอกรนหัด
- วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน
วัยรุ่นและผู้ใหญ่
ซึ่งมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงแล้ว ก็ต้องได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคบางชนิดที่มีความเสี่ยง เช่น ไข้หวัดใหญ่ปอดบวม หรือโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับกลุ่มเสี่ยง วัคซีนที่ควรได้รับในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ควรพิจารณาฉีดวัคซีน
- วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (ฉีดทุกปี)
- วัคซีนป้องกันโรคไวรัสปอดบวม (สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว)
- วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (สำหรับกลุ่มเสี่ยง)
- วัคซีนป้องกันคอตีบและบาดทะยัก
- วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี
- วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
- ช่วยป้องกันเชื้อไวรัส HPV ซึ่งก่อโรคมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มผู้หญิงอายุตั้งแต่ 9 – 26 ปี ถือว่าเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากวัคซีนนี้ โดยกลุ่มที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธุ์จะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์สูงสุด ส่วนผู้หญิงที่มีอายุเกิน 26 ปีก็จะยังได้รับประโยชน์จากวัคซีนนี้ โดยควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ก่อนการรับวัคซีน
- วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (measles mumps rubella vaccine : MMR)
สำหรับวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคหัด ได้แก่ ไม่เคยฉีดวัคซีน และไม่เคยเป็นโรคหัดมาในอดีตหรือตรวจไม่พบภูมิต้านทานต่อโรคหัด หรือในหญิงที่วางแผนจะมีบุตรและตรวจไม่พบภูมิต้านทานโรคหัดเยอรมัน หรือในกรณีผู้ที่เรียน
ระดับอุดมศึกษาสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคหัด หรือในขณะนั้นกำลังมีโรคหัดระบาด รวมทั้งนักเรียนที่ต้องเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ 1 เข็ม และกระตุ้นอีก1 เข็มห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 4 สัปดาห์
ไม่ใช่เฉพาะเด็กเท่านั้น ที่วัคซีนมีความสำคัญ ในวัยรุ่น-วัยผู้สูงอายุก็จำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่เช่นกัน โดยวัคซีนที่จำเป็นต้องฉีดในช่วงอายุตั้งแต่ 19 – 64 ปี และ ควรรับการฉีดกระตุ้นทุก 10 ปีต่อเนื่องจากในวัยเด็ก
เนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายจะมีการลดลงตามอายุที่มากขึ้น
ผู้สูงอายุ
เมื่ออายุมากขึ้นระบบภูมิคุ้มกันจะด้อยประสิทธิภาพลง จึงควรฉีดวัคซีนโรคปอดบวม ไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดความรุนแรงของอาการ รวมถึงวัคซีนอีสุกอีใส เพื่อลดผื่นคันในผู้สูงวัย วัคซีนที่ควรได้รับสำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีด
อ่านเพิ่มเติม: ไขข้อสงสัย ทําไมประกันสุขภาพต้องมีระยะรอคอย?
- วัคซีนป้องกันโรคปอดบวมและโรคไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากอายุมากมีความเสี่ยงสูง
- วัคซีนป้องกันไวรัสอีสุกอีใส เพื่อลดความรุนแรงของอาการผื่นคัน
โดยทั่วไป เมื่ออายุย่างเข้า 65 ปี จะจัดว่าเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งภูมิต้านทานโรคตามธรรมชาติในร่างกายจะเริ่มลดลง
ข้อแนะนำสำหรับวัคซีนที่จำเป็นในวัยนี้ ได้แก่
- ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบและบาดทะยักทุก 10 ปี
- ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เพราะในวัยผู้สูงอายุ ภูมิต้านทานโรคอาจน้อยลง หากเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ขึ้นมาก็มีโอกาสที่จะมีอาการของโรครุนแรงมากขึ้น
อ่านเพิ่มเติม: เคลมประกันสุขภาพแบบไหน? ไม่ต้องสำรองจ่าย!
- อีกชนิดหนึ่งคือ วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส (IPD) ซึ่งเป็นกลุ่มเชื้อแบคทีเรียซึ่งมีจำนวนหลายสายพันธุ์ ที่ก่อโรคปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด ถ้าโรคนี้เกิดขึ้นในผู้สูงอายุแล้วเป็นชนิดที่รุนแรงก็จะทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีข้อแนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป โดยแนะนำให้รับวัคซีน IPD ทั้งชนิด 13 และ 23 สายพันธุ์ เพียงชนิดละ 1 ครั้ง
นอกจากนี้ยังมีวัคซีนอื่นๆ ที่แพทย์อาจแนะนำตามปัจจัยเสี่ยง เช่น วัคซีนไข้เลือดออก ไวรัสตับอักเสบเอ หรือวัคซีนสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นการปรึกษาแพทย์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวัคซีนที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม นอกจากการฉีดวัคซีนแล้วการทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมก็เป็นสิ่งจำเป็นมากเช่นกัน เพราะค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็นค่ายา ค่าห้องพัก ค่าผ่าตัด
หากไม่มีประกันสุขภาพ อาจต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลเอง เพราะฉะนั้นทำประกันสุขภาพเป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายได้