5 วิธีแก้กลิ่นอับในรถยนต์ หลังขับลุยนํ้า
เข้าสู่ฤดูฝนทีไรปัญหากวนใจหลายๆ คนคงหนีไม่พ้นเรื่องความอับชื้น และกลิ่นอับอันไม่พึงประสงค์หลังเปียกฝน กลิ่นอับที่ว่าไม่ได้มีแค่มาจากเสื้อผ้าเราหรือในที่อับชื้นเท่านั้น
สำหรับคนใช้รถส่วนตัวเป็นประจำและถ้าจำเป็นที่ต้องขับรถลุยน้ำในช่วงฝนตก ก็จะประสบปัญหากับกลิ่นอับในรถเช่นกัน
แต่อย่าพึ่งกังวลใจมากเกินไป เพราะปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้
สาเหตุที่ทำให้แอร์ในรถมีกลิ่นอับ
- มีความชื้นสะสมอยู่ในคอยล์เย็น ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดเชื้อรา และส่งผลให้เกิดกลิ่นอับที่ไม่พึงประสงค์
- ช่องระบายอากาศเกิดการอุดตัน ส่งผลให้การเกิดการหมักหมม รวมถึงมีความชื้น และทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอับ
- กรองแอร์สกปรก มีสิ่งอุดตัน เมื่อเจอความชื้นจึงทำให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และเชื้อรา
5 วิธีแก้กลิ่นอับในรถยนต์
1. เปลี่ยนไส้กรองแอร์
เพราะสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ เมื่อเจอความชื้นอาจเกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้การเปลี่ยนกรองแอร์ยังช่วยทำให้อากาศภายในรถสะอาดขึ้นอีกด้วย
2. ตรวจสอบสภาพตู้แอร์
อย่างน้อยทุก 3 เดือนว่ามีสิ่งสกปรกหรือฝุ่นอุดตันในช่องมากน้อยแค่ไหนเพื่อเตรียมทำความสะอาด
3. ดูดฝุ่น ทำความสะอาดผ้ายาง
เริ่มจากการดูดฝุ่นตามซอกมุมต่างๆ และพื้นรถ เอาผ้ายางที่รองเท้าออกมา ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และตากแดดให้แห้ง ก่อนที่จะเอามาวางในรถเช่นเดิม
4. เปิดพัดลมแอร์เพื่อปรับอากาศ
แนะนำกดปิดปุุ่ม A/C ในรถ ก่อนดับเครื่องยนต์ ให้เหลือแต่แรงพัดลมเป่า เป็นเวลา 2- 3 นาที เพื่อไล่ความชื้นในแอร์ ที่สะสมมาจากการทำความเย็นตลอดเป็นเวลานาน
5. ใช้น้ำหอมปรับอากาศ
เพราะง่ายและสะดวกมากที่สุด มีหลากหลายกลิ่นให้เลือกใช้ แต่ต้องเลือกให้ดี เพราะกลิ่นของน้ำหอมบางชนิด อาจผสมเข้ากับกลิ่นอับจนทำให้กลิ่นที่รุนแรงยิ่งกว่าเดิม
อ่านเพิ่มเติม: จอดรถทับทางม้าลาย อาจถูกปรับไม่รู้ตัว!
เข้าสู่หน้าฝน ดูแลรถยนต์อย่างไรดี?
เมื่อเข้าสู่หน้าฝน “รถยนต์” ก็มักจะกลายเป็นพาหนะคู่ใจที่ใครหลายคนจำเป็นต้องใช้อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะการขับรถช่วงหน้าฝนทำให้เดินทางได้อย่างปลอดภัย ถึงที่หมายได้แบบไม่เปียก
ไม่ต้องเสี่ยงเป็นหวัด ไม่ต้องลุยน้ำท่วมให้ลำบาก และไม่ต้องไปเบียดกับคนอื่นบนรถสาธารณะ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คนมีรถควรรู้คือ รถยนต์ไม่ได้ถูกกับน้ำฝน และน้ำท่วมสักเท่าไหร่ ถ้าต้องโดนน้ำทุกวัน วันละนานๆ ก็เสี่ยงที่จะเสื่อมสภาพได้ไม่ต่างจากคน
ซึ่งนั่นอาจทำให้รถไม่สวยงามเหมือนเดิม ใช้งานได้ไม่เต็มที่ หรือเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันตามมาได้
อ่านเพิ่มเติม: รถเกิดอุบัติเหตุแต่ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิกพ.ร.บ. ได้ไหม?
วันนี้ SMILE INSURE จึงรวบรวม ทริคดูแลรถหน้าฝนมาฝากทุกคน เพื่อช่วยให้รถคันเก่งของทุกคนยังคงมีสภาพดี และพร้อมใช้งานกับทุกสถานการณ์ รับรองเลยว่าทำตามได้ไม่ยากเลยล่ะ
1. ตรวจเช็กสภาพรถให้พร้อมใช้งาน
หมั่นตรวจสอบรถก่อนนำมาขับใช้งาน ยิ่งช่วงหน้าฝนไม่ควรมองข้ามการตรวจเช็ครถหน้าฝน เพราะถือว่าเป็นการดูแลรถยนต์ด้วยตัวเองที่ทำได้ง่ายที่สุด
2. เช็กยางรถยนต์
เช่น ดอกยากสึก มีร่องรอยฉีกขาด ลมยางอ่อน ฯลฯ ก็จะทำให้รถเบรกไม่อยู่ ลื่นไถล และเสียหลักจนเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น ควรหมั่นเช็คยางรถ เพื่อดูแลรถให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ถ้าเห็นว่าเริ่มมีสภาพไม่ดีแล้ว ให้รีบเปลี่ยนทันที
3. เช็กที่ปัดน้ำฝน
เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ควรเช็กว่ายางของที่ปัดน้ำฝนยังใช้ได้ดีอยู่ไหม? โดยอาจสังเกตจากเสียง ถ้าเริ่มมีเสียงครืดคราด เหมือนแท่งโลหะขูดกับกระจกตรงๆ ให้เปลี่ยนใหม่ได้เลย
4. เช็กระบบเบรก
ควรตรวจสอบผ้าเบรกให้พร้อมใช้งาน ถ้าเบรกเริ่มสึก หรือเหยียบแล้วจมลึกผิดปกติ ควรรีบเข้าอู่เพื่อเปลี่ยนใหม่ทันที
5. เช็กระบบไฟ
เจ้าของรถควรตรวจเช็คให้ดีว่าไฟหน้ารถ ไฟท้าย และไฟเบรกยังทำงานได้ตามปกติไหม? เพราะถ้าไฟเหล่านี้ไม่ทำงาน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนได้
6. เช็กยางขอบประตู
เพราะมีหน้าที่สำคัญในการป้องกันน้ำรั่วซึมเข้าสู่ห้องโดยสาร หากยางมีรอยฉีกขาด หรือเริ่มยึดเกาะกับขอบประตูไม่ได้แล้ว ให้รีบเปลี่ยนทันที
นอกจากนั้น ควรดูแลรักษารถยนต์เช็คส่วนอื่นๆ ของรถ เช่น น้ำมันเครื่อง ระบบแอร์ แบตเตอรี่ ฯลฯ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานด้วยเช่นกัน เพราะถ้ามีส่วนใดส่วนหนึ่งชำรุด
จนทำให้รถเสียกลางทาง โดยเฉพาะในวันที่ฝนตกหนัก ก็คงเป็นเรื่องที่ลำบากมากเลยทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม: เตรียมพร้อมช่วงหน้าฝน กับ 10 เทคนิคดูแลรถยนต์
นอกจากเรื่องกลิ่นอับในรถเมื่อขับลุยน้ำช่วงฝนตก การดูแลรถก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันเพราะหน้าฝนเป็นช่วงอันตรายและเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายถ้าผู้ขับขี่ไม่ดูแลรถและขับรถไม่ระวัง
แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเดินทางไปอีกขั้น คุณสามารถทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเพิ่มเติมได้ เพราะสิ่งนี้จะเป็นผู้ช่วยแบ่งเบาภาระยามเกิดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี
ไม่ว่าจะเป็นรถชนเพราะทัศนวิสัยไม่ดี รถเสียกลางทาง ต้นไม้ล้มทับรถ ฯลฯ ประกันรถก็พร้อมช่วยเหลือคุณ
ขอบคุณข้อมูลจาก
- Autospinn