ไม่รู้ไม่ได้แล้ว!! 10 โรคยอดฮิตที่มากับฤดูร้อน
ไม่รู้ไม่ได้แล้ว!! 10 โรคยอดฮิตที่มากับฤดูร้อน
เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน โดยเฉพาะในเดือนเมษายนแบบนี้ อากาศที่ร้อนมาก ๆ ก็มาเยือนประเทศไทย เพราะโลกเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ และประเทศไทยที่อยู่ตรงเส้นศูนย์สูตรนั้นทำมุมตั้งฉากกับดวงอาทิตย์พอดี
ซึ่งนอกจากฤดูร้อนจะพาอากาศร้อนจนแทบไหม้มาแล้ว ยังมาพร้อมกับ 10 โรคยอดฮิตที่เลี่ยงได้ยากด้วย ทำให้คนไทยต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตมากขึ้นอีกเป็นเท่าตัว ว่าแต่จะมีโรคอะไรบ้าง? และต้องป้องกันแบบไหน? ตามมาหาคำตอบพร้อมกันได้ที่นี่
1. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
เมื่อพูดถึงโรคพิษสุนัขบ้า หลายคนอาจนึกว่ามันเป็นโรคที่มีแค่ในสุนัขเท่านั้น แต่จริงแล้ว ๆ มันสามารถติดต่อมาสู่คนได้ ผ่านทางน้ำลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว ค้างคาว กระต่าย ฯลฯ ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนกันพิษสุนัขบ้า หากถูกกัดหรือถูกเลียบริเวณแผลถลอก ให้รีบทำความสะอาดแผลและรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโดยด่วน เพราะหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา จะพบอาการตามระยะความรุนแรงดังนี้
- ระยะเริ่มตัน เช่น ไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน กระวนกระวายนอนไม่หลับ มีอาการเจ็บแปลบคล้ายเข็มทิ่ม หรือคันบริเวณที่ถูกกัด ประมาณ 2-10 วัน
- ระยะที่สอง จะมีอาการสับสน วุ่นวาย กระสับกระส่าย กลืนอาหารลำบาก กลัวน้ำ ชัก และเป็นอัมพาต ประมาณ 2-7 วัน
- ระยะท้าย อาจมีภาวะหายใจล้มเหลว หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้ทันที
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่าโรคนี้ไม่มียารักษา ทำได้แค่ป้องกัน คือพาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หลีกเลี่ยงการเล่นกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในช่วงหน้าร้อน รวมถึงฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคนสำหรับผู้เสี่ยงสูง เช่น อยู่พื้นที่ห่างไกล ทำงานใกล้ชิดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นต้น
2. ลมแดด (Heatstroke)
ลมแดดคือขั้นกว่าของอาการเพลียแดด มักจะเกินขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส แล้วเหงื่อไม่ออก จนทำให้มีอาการซึม อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หน้ามืด ชัก หมดสติ หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้ในที่สุด
แม้ว่าอาการจะดูน่ากลัว แต่ถ้ารักษาได้อย่างรวดเร็ว ก็มีโอกาสหายได้ในเวลาอันสั้น แต่ทางที่ดีควรป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายเย็นลง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สวมใส่เสื้อผ้าเบาบาง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีแดดจัดหรืออบอ้าวโดยไม่จำเป็น
3. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea)
ถ้าคุณเคยกินอาหารเข้าไปไม่นานแล้วเกิดขับถ่ายเป็นน้ำ 3 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง หรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้ง ขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง นั่นคืออาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ จนช็อกและเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้
ซึ่งสาเหตุก็มาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร การได้รับยาหรือสารพิษ รวมทั้งการติดเชื้อนอกระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นจึงป้องกันได้ด้วยการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่สะอาด ล้างมือทุกครั้งก่อนทำอาหาร กินอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
4. อาหารเป็นพิษ (Food poisoning)
เป็นโรคที่เกิดได้บ่อยมาก ๆ หลังจากการกินอาการหรือดื่มน้ำปนเปื้อนเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น V.parahaemolyticus, Clostridium botulinum, Bacillus cereus, Escherichia coli ฯลฯ ทำให้มีอาการท้องเสียเฉียบพลัน ถ่ายเหลว ติดต่อกัน 3 วันในผู้ใหญ่ หรือ 24 ชั่วโมงในเด็ก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมวนท้องรุนแรง มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ
ทั้งนี้เป็นโรคที่ไม่ค่อยรุนแรง สามารถรักษาให้หายด้วยตัวเองได้ โดยนอนหลับให้เพียงพอ ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ หรือจิบน้ำผสมผงเกลือแร่ หรือ ORS ควบคู่กับการรับประทานอาหารตามปกติ จนกว่าจะหยุดอาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นก้อน รวมทั้งกินยาแก้ท้องเสียตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร และกินอาหารย่อยง่าย ไขมันน้อย หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ไขมันสูง และอาหารรสจัด แต่หากอาการไม่ทุเลาลงให้ไปพบแพทย์เพื่อรักษาตามอาการต่อไป
5. โรคบิด (Dysentery)
เกิดจากการกินอาหารปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียชิเกลลา (Shigella) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคบิดชนิดไม่มีตัว หรืออะมีบา (E. histolytica) สาเหตุของโรคบิดชนิดมีตัว โดยทั้งคู่จะมีอาการใกล้เคียงกันคือ ถ่ายอุจจาระบ่อย หรือมีมูกเลือดปน ตลอดจนท้องเสียอย่างรุนแรง มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเกร็งท้องเป็นพักๆ ร่วมกับปวดหน่วงที่ทวารหนัก
เบื้องต้นหากเป็นโรคบิดชนิดไม่มีตัวจะหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา หรือแค่กินยาฆ่าเชื้อตามแพทย์สั่ง แต่ถ้าเป็นโรคบิดชนิดมีตัว ตัวอะมีบาอาจแพร่ไปยังอวัยวะภายในต่าง ๆ ทำให้เนื้อเยื่ออวัยวะถูกทำลาย เกิดการติดเชื้อ หรืออาการอื่น ๆ ที่รุนแรงขึ้น และทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้าไม่แน่ใจว่าเป็นโรคบิดแบบไหนให้รีบพบแพทย์เพื่อประเมินอาการก่อน
และถ้าอยากห่างไกลจากโรคบิด อย่าลืมรักษาความสะอาดของร่างกาย และอาหารหรือเครื่องดื่มก่อนนำเข้าสู่ร่างกายอย่างเคร่งครัด
6. อหิวาตกโรค (Cholera)
หนึ่งในโรคติดต่อร้ายแรงที่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว จากการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระเป็นน้ำสีซาวข้าว ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว รุนแรง หากปล่อยไว้จนร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง อาจทำให้ช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม อหิวาตกโรคป้องกันได้ง่าย ๆ เพียงกินอาหารปรุงสุก ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนกินอาหารหรือหลังเข้าห้องน้ำ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสปฏิกูล
7. ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย (Typhoid & Enteric fever)
ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เกิดจากการกินอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนแบคทีเรียซัลโมเนลลาไทฟิ (Salmonella typhi) เข้าไป สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยจะมีอาการไข้ขึ้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเหลว และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ด้านการรักษา แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะควบคู่กับการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ ส่วนการป้องกันก็ไม่ต่างจากโรคติดต่อจากอาหารปนเปื้อนอื่น ๆ คือ กินอาหารและดื่มน้ำสะอาด มีความสดใหม่ ผ่านการปรุงสุก ไม่มีแมลงวันตอม ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งทั้งก่อนการเตรียมอาหาร ก่อนกินอาหาร หลังกินอาหาร และหลังการเข้าห้องน้ำ รวมทั้งฉัดวัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์ทุก 2-5 ปี
8. โรคไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A virus, HAV)
เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ พบได้บ่อยในหน้าร้อนเพราะเป็นไวรัสที่ทนต่อความร้อนได้มากถึง 60 องศาเซลเซียส นาน 10-12 ชั่วโมง สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งเมื่อกินเข้าไปแล้ว ไวรัสจะกระจายสู่เซลล์เยื่อบุผิวในลำไส้ ก่อนเข้าสู่กระแสเลือดและตับ และหลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์จะเกิดอาการตามมา เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว ปัสสาวะเข้ม ตาเหลือง ตัวเหลือง เป็นต้น
ซึ่งความอันตรายคือโรคนี้สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ดังนั้นถ้าไม่อยากเป็นโรคนี้ ทุกคนควรกินอาหารปรุงสุกที่ผ่านการใช้ความร้อน 100 องศาเซลเชียส นาน 5 นาทีขึ้นไป
9. โรคผิวหนัง (Skin Disease)
เป็นโรคที่เกิดได้ง่ายไม่แพ้โรคจากการกินอาหารปนเปื้อน ซึ่ง “โรคผิวหนัง” เป็นการเรียกรวม ๆ ทุกกลุ่มอาการที่เกิดความผิดปกติขึ้นกับผิวหนัง เช่น ผดผื่น ผิวไหม้แดด เชื้อรา ฝ้า กระ เป็นต้น โดยทั้งหมดเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น แดดที่ร้อนเกินไป การหมักหมมของเหงื่อ การอาบน้ำทำความสะอาดไม่ดี ไม่บ่อย รวมทั้งไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันแสงแดด
ดังนั้นวิธีง่ายๆ ที่จะหลีกเลี่ยงโรคผิวหนังเหล่านี้คือ “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” เช่น ทาครีมกันแดดก่อนออกนอกบ้านทุกครั้ง หมั่นกางร่ม อาบน้ำให้สะอาดและบ่อยครั้ง อาจหาผ้าเย็นซับเหงื่อระหว่างวัน ฯลฯ แต่ถ้าอาการไม่ทะลุเลาลง ควบพบแพทย์เพื่อรักษาตามอาการต่อไป
10. โรคจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน (Upper Respiratory Tract Infection)
การติดเชื้อในลักษณะนี้ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม ฯลฯ เนื่องจากสภาพอากาศที่อบอ้าวนั้นทำให้ร่างกายอ่อนแอได้ง่าย อย่างไรก็ดี ถ้าประเมินด้วยตัวเองเบื้องต้นแล้วว่าไม่เป็นอะไรมาก สามารถกินยา ดื่มน้ำอุ่นมากๆ และพักผ่อนอยู่ที่บ้านได้
แต่ถ้าไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์ ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคที่แน่ชัด ซึ่งแน่นอนว่าหากอาการรุนแรงควรต้องแอดมิทเป็นลำดับต่อไป
จะเห็นได้ว่าทั้ง 10 โรคนั้นล้วนเกิดขึ้นได้แบบไม่ตั้งใจ แม้จะรู้วิธีป้องกันแต่เนิ่น ๆ แล้วก็อาจไม่ได้การันตีว่าจะไม่เกิดขึ้น หรือไม่รุนแรงจนต้องแอดมิทในโรงพยาบาล ดังนั้นเพื่อเพิ่มความมั่นใจไปอีกขั้นว่าเมื่อโรคฤดูร้อนมาเยือน คุณจะสามารถรับมือได้ดีทั้งการรักษาและค่าใช้จ่ายที่เหนือความคาดหมาย ด้วยการทำประกันสุขภาพเตรียมไว้ตั้งแต่วันนี้