ไขข้อสงสัย รถยนต์ไฟฟ้า ชาร์จไฟตอนฝนตกได้ไหม?
เชื่อว่าเวลานี้คงไม่มีเทรนด์รถยนต์แบบไหน ที่มาแรงไปกว่ารถยนต์ไฟฟ้า (รถEV) เพราะเห็นได้จากยอดจองรถยนต์ไฟฟ้า ในงาน Motor Show 2023 เมื่อ 22 มีนาคม - 2 เมษายน 2023 ที่มีมากถึง 9,234 คันเลยทีเดียว
โดย Top 10 ที่คนใช้รถยนต์ไฟฟ้านิยมจองกันมากที่สุดในต้นปีนี้ ได้แก่ MG, BYD, GWM, NETA, Volvo, Mercedes-EQ, Hyundai, Lexus, Porsche และปิดท้ายด้วย Audi
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตอนนี้จะมีคนหันมาจองรถไฟฟ้ากันมากขึ้น แต่ทั้งคนที่ซื้อรถไปแล้ว และกำลังตัดสินใจซื้อ ก็ยังมีข้อสงสัยอยู่มากมาย เกี่ยวกับแบตเตอรี่รถไฟฟ้า และการชาร์จรถไฟฟ้า เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อนชื้น มีฝนตกบ่อย และหลายคนก็เรียนรู้มาตั้งแต่เด็กๆ ว่า ไม่ควรให้น้ำหรือความเปียกชื้น สัมผัสกับไฟฟ้า
วันนี้เราเลยจะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยกันว่า ความจริงแล้วรถยนต์ไฟฟ้านั้นโดนน้ำได้หรือไหม? และชาร์จไฟตอนฝนตกได้หรือเปล่า?
เหตุผลที่คนยุคนี้เลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้า
จริงๆ รถยนต์ไฟฟ้า เข้ามาสู่บ้านเราหลายปีแล้ว แต่เมื่อก่อนจะนิยมใช้กันในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่มากกว่า แต่เมื่อยุคนี้ที่คนทั่วไปให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ก็ทำให้คนจำนวนมากเริ่มเข้าใจถึงข้อดีของเทคโนโลยีรถไฟฟ้ากันมากขึ้น และหันมาจองรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน
ซึ่งข้อดีของเทคโนโลยีรถไฟฟ้าก็มีอยู่หลายอย่าง ดังนี้
- ประหยัดพลังงาน เพราะลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นหนึ่งในพลังงานสิ้นเปลืองที่ใช้แล้วหมดไป
- ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีการสันดาปน้ำมัน จึงไม่ปล่อยไอเสีย และมลพิษที่เป็นสารตั้งต้นของภาวะโลกร้อนออกสู่ชั้นบรรยากาศ
- ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการชาร์จไฟ ถูกกว่าการเติมน้ำมันรถ จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้น้ำมันประเภทต่างๆ ปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น เบนซิน 95 ราคาลิตรละ 42 บาท แก๊สโซฮอล์ E20 ราคา 32.84 ขณะที่ค่าไฟฟ้าเริ่มต้นที่หน่วยละ 3.2484 บาทเท่านั้น อีกทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาประจำปีด้วย เพราะรถยนต์ไฟฟ้ามีแค่แบตเตอรี่และมอเตอร์เป็นส่วนประกอบหลักของรถ เลยไม่ต้องซ่อมบำรุงชิ้นส่วนยิบย่อย และไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
- สามารถชาร์จไฟแบตเตอรี่ได้เองที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องออกไปต่อแถวที่สถานีบริการด้านนอก
- ไม่มีการเผาไหม้หรือสันดาปน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้เครื่องเงียบ ไม่ส่งเสียงดัง ช่วยลดมลภาวะทางเสียง และทำให้อัตราเร่งดีกว่ารถยนต์ทั่วไป
อ่านเพิ่มเติม: รถ EV ชาร์จไฟแบบ AC หรือ DC แบบไหนดีกว่ากัน
ดังนั้นเมื่อเทียบข้อดีเหล่านี้ของรถยนต์ไฟฟ้า กับรถยนต์สันดาปน้ำมันแบบดั้งเดิมแล้ว ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่น่าซื้อมาใช้ไม่น้อยเลยล่ะ
รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จไฟตอนฝนตกได้ไหม?
มาถึงข้อสงสัยสำคัญเกี่ยวกับแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่าประเทศไทยเป็นเมืองฝน และหลายคนก็ถูกปลูกฝังว่าไฟฟ้าห้ามโดนน้ำ เพราะจะทำให้ไฟช็อตจนแบตพัง และทำให้คน สัตว์เลี้ยง หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ภายในบ้านเป็นอันตรายได้
แล้วแบบนี้รถยนต์ไฟฟ้าจะโดนน้ำได้ไหม? จะชาร์จไฟตอนฝนตกได้หรือเปล่า?
คำตอบก็คือ “ได้” เพราะเทคโนโลยีของรถยนต์ไฟฟ้าได้ถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยสูง คือ มีฉนวนไฟฟ้า มีระบบตรวจจับไฟฟ้ารั่ว และมีระบบสายกราวด์ (Ground Fault Protection) ที่นำไฟฟ้าลงดิน เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้นตัวรถ เครื่องจ่ายไฟ และปลั๊กชาร์จไฟ จึงสามารถโดนน้ำและความชื้นได้โดยตรง
แต่ต้องเป็นเครื่องจ่ายไฟ และปลั๊กชาร์จที่ได้รับรองมาตรฐาน IEC 61851 (มอก.61851) และ IEC 62752 (มาตรฐาน มอก.2911) และอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ชำรุด เสียหาย ถึงจะมั่นใจได้ว่าใช้ชาร์จไฟให้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงไฟช็อต หรือเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝันอื่นๆ ตามมา
รถยนต์ไฟฟ้าลุยน้ำท่วมได้ไหม?
ด้วยความอัจฉริยะต่างๆ ของเทคโนโลยีรถไฟฟ้า นอกจากจะทำให้ชาร์จไฟแบตเตอรี่ขณะฝนตกได้แล้ว ยังช่วยให้ลุยน้ำท่วมขังได้อีกด้วย แต่ความสูงของน้ำที่ลุยได้นั้น ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของรถแต่ละคัน เช่น ความสูงของใต้ท้องรถ มาตรฐานการป้องกันน้ำและฝุ่น (IP) เป็นต้น
เสริมความมั่นใจให้รถยนต์ไฟฟ้าด้วยประกันรถยนต์ไฟฟ้า
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อ่านมาถึงตรงนี้ และรู้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าสามารถชาร์จไฟตอนฝนตกได้ และลุยน้ำท่วมได้ แต่ยังกังวลว่าอาจจะเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันขึ้นในอนาคตได้อีก SMILE INSURE ขอแนะนำให้เจ้าของรถทำประกันรถยนต์ไฟฟ้าเอาไว้ด้วย เพื่อเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
เพราะถึงแม้การใช้รถไฟฟ้าจะช่วยประหยัดได้หลายอย่าง แต่ถ้ารถพังขึ้นมา ก็อาจต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ยกชุด ซึ่งค่าใช้จ่ายสูงถึงหลายแสนบาท
แต่สิ่งสำคัญที่คนใช้รถยนต์ไฟฟ้าควรรู้ก่อนทำประกันรถยนต์ไฟฟ้า คือ ค่าเบี้ยประกันนั้นแพงกว่ารถยนต์ทั่วไปถึง 20-30% ดังนั้น นอกจากจะเตรียมงบในการซื้อรถแล้ว ควรเผื่องบประมาณไว้เผื่อส่วนนี้ด้วย
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ค่าเบี้ยประกันรถไฟฟ้าแพง ก็เป็นเพราะว่า 5 เหตุผลสำคัญ ดังนี้
แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าราคาแพง
แบตเตอรี่ของรถยนต์ประเภทนี้เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนรถ ถ้าเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนกับแบต แม้เพียงเล็กน้อย ช่างจะแนะนำให้เปลี่ยนยกชุด ซึ่งราคาแบต 1 ก้อน สูงถึง 500,000 บาทขึ้นไป ทำให้ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้า ต้องสูงตามไปด้วย เพื่อให้วงเงินคุ้มครองความเสี่ยงได้
สัดส่วนคนใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังมีน้อย
แม้ว่าเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าจะฮิตต่อเนื่อง แต่ต้องยอมรับว่ายังคงเป็นส่วนน้อยอยู่ดี เมื่อเทียบกับรถยนต์สันดาปน้ำมัน ทำให้บริษัทประกันไม่มีกรณีศึกษาในการกำหนดราคาและประเมินความเสี่ยงที่มากพอ จำเป็นต้องตั้งราคาค่าเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าสูงไว้ก่อน
ศูนย์บริการรถยนต์ไฟฟ้ามีน้อย
ศูนย์บริการทั้งของแบรนด์รถยนต์เอง และอู่ภายนอก เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่บริษัทประกันนำมากำหนดราคาประกันรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากทุกวันนี้คนใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังมีจำนวนน้อย ส่งผลให้ศูนย์บริการก็น้อยตามไปด้วย
ขณะเดียวกัน ค่าซ่อมก็แพงกว่ารถยนต์ทั่วไป จะเห็นได้ว่าบางพื้นที่มีศูนย์บริการเพียงไม่กี่สาขา หรือไม่มีเลย จะซ่อมรถทั้งที อาจต้องลากจูงรถข้ามจังหวัด ซึ่งนี่คือความเสี่ยงที่บริษัทประกันต้องแบกรับ เพื่อให้บริการลูกค้าให้ครอบคลุมมากที่สุด
หาอะไหล่ยาก
เมื่อศูนย์บริการมีน้อย ทำให้อะไหล่รถยนต์ไฟฟ้าในสต๊อกอาจมีจำกัด ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงทำให้ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถประเภทนี้แพงกว่ารถยนต์ทั่วไป ดังนั้นถ้าอยากให้ประกันรถยนต์ไฟฟ้า ช่วยแบ่งเบาความเสียหายให้ได้มากที่สุด บริษัทประกันจึงจำเป็นต้องคิดค่าเบี้ยประกันแพงขึ้นนั่นเอง
มีบริษัทที่รับทำประกันรถยนต์ไฟฟ้าเพียงไม่กี่แห่ง
ทุกวันนี้บริษัทประกันที่รับทำประกันให้รถยนต์ไฟฟ้า มีอยู่แค่ไม่กี่เจ้า เลยยังไม่สามารถกำหนดเพดานด้านราคาได้ ราคาค่าเบี้ยประกันรถประเภทนี้เลยค่อนข้างแพงอย่างที่เห็น
อ่านบทความ 5 เหตุผลที่ทำให้ค่าเบี้ยประกันรถ EV แพงกว่ารถยนต์ทั่วไป (เผื่อทำ back link กลับไปที่บทความก่อนหน้า)
อย่าลืมใช้รถรถยนต์ไฟฟ้าอย่างระมัดระวังเหมือนเดิม
แม้จะรู้กันแล้วว่ารถยนต์ไฟฟ้าสามารถชาร์จไฟแบตเตอรี่ในเวลาฝนตกได้ ลุยน้ำท่วมได้ แถมยังทำประกันประกันรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติมได้ แต่เจ้าของรถก็ควรต้องใช้รถอย่างระมัดระวังเหมือนเช่นเคย ตามคำแนะนำด้านล่างนี้ เพื่อให้คุณสามารถใช้รถได้อย่างปลอดภัย สบายใจ และไม่โดนบริษัทประกันปฏิเสธความรับผิดชอบในอนาคต
หมั่นตรวจสอบสภาพของตัวรถ เครื่องจ่ายไฟ และปลั๊กชาร์จไฟฟ้า ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ อย่าฝืนใช้ชาร์จแบตเตอรี่ทั้งๆ ที่มีร่องรอยการชำรุด
เช็ดทำความสะอาดละอองน้ำ ก่อนเก็บอุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่ เพื่อไล่ความชื้น เพราะถ้าความชื้นมีมากกว่าระดับที่รถสามารถรองรับได้ แบตเตอรี่ก็อาจจะพังได้เช่นกัน
หลีกเลี่ยงการลุยน้ำท่วมโดยไม่จำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงที่สิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น ท่อนไม้ เศษขยะ หลุมถนน เนิน ฟุตบาท ฯลฯ จะทำให้ช่องเก็บแบตเตอรี่เกิดความเสียหาย
ใช้ความเร็วที่เหมาะสม ป้องกันการเบรกไม่อยู่ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันขึ้น สุดท้าย คือ เสริมความมั่นใจด้วยการทำประกันรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้คุณสามารถใช้รถได้อย่างปลอดภัย และสบายใจมากที่สุด