เมาแล้วขับ! ถูกจับประกันรถยนต์ไม่จ่าย?
ทุกคนคงรู้กันอยู่แล้วว่า “เมาแล้วขับ” เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย มีโอกาสถูกจับและถูกปรับได้ตลอดเวลา แต่สิ่งที่ใครหลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้ หรือไม่แน่ใจ คือ
ถ้าเกิดอุบัติเหตุตอนเมาแล้วขับ จะเคลมประกันรถยนต์ได้ไหม? ประกันจะจ่ายหรือเปล่า?
สำหรับใครที่ยังไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน วันนี้ SMILE INSURE มีคำตอบ
เมาแล้วขับผิดกฎหมายอะไรบ้าง?
“เมาแล้วขับ” เป็นการกระทำที่ผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ที่ระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดขับขี่รถในขณะเมาสุรา”
โดยนิยามของคำว่าเมาสุรา คือ มีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สำหรับบุคคลทั่วไป หรือมีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สำหรับกลุ่มคนดังต่อไปนี้
ผู้ขับขี่ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
ผู้ขับขี่ที่ถือใบขับขี่ชั่วคราวแบบ 2 ปี
ผู้ขับขี่ที่มีใบขับขี่ประเภทอื่น ใช้แทนกันไม่ได้
ผู้ขับขี่ที่อยู่ระหว่างการพักใช้ หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่
อ่านเพิ่มเติม: วิ่งทางไกล ขับรถอย่างไร? ให้ประหยัดน้ำมัน
หากใครถูกจับด้วยข้อหาเมาแล้วขับ จะได้รับโทษที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับความรุนแรงของเหตุการณ์ ดังนี้
เมาแล้วขับครั้งแรก ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดนจับข้อหาเมาแล้วขับซ้ำภายในเวลา 2 ปี จะเพิ่มอัตราโทษเป็นจำคุกเป็นไม่เกิน 2 ปี และปรับตั้งแต่ 50,000 - 100,000 บาท และถูกพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่
เมาแล้วขับ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ระวางโทษจำคุก 1 - 5 ปี ปรับ 20,000 - 100,000 บาท และถูกพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่
เมาแล้วขับ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 6 ปี ปรับ 40,000 - 120,000 บาท และจะถูกพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบขับขี่
เมาแล้วขับ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ระวางโทษจำคุก 3 - 10 ปี ปรับ 60,000 - 200,000 บาท และถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที
เมาแล้วขับ ถูกจับประกันรถยนต์ไม่จ่ายจริงไหม?
เมาแล้วขับ ได้ชื่อว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งผู้ขับขี่ที่ได้รับใบอนุญาตขับขี่ทุกคนทราบเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว เพราะมีบอกไว้ตั้งแต่อบรมและสอบใบอนุญาตฯ ดังนั้นถ้าใครเมาแล้วขับ ถูกจับ หรือเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ตามมา
ประกันรถยนต์จะไม่จ่าย และไม่ให้ความคุ้มครองกับฝ่ายผู้ขับขี่หรือผู้ทำเอาประกันทุกกรณี เพราะถือว่าผู้ขับขี่ตั้งใจทำให้ตัวเองและผู้อื่นเกิดความอันตราย โดยจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
แต่ถึงแม้ประกันรถยนต์จะไม่จ่ายให้ผู้ขับขี่ แต่ก็จะยังคงรับผิดชอบค่าเสียหายต่างๆ ให้กับคู่กรณี (เงื่อนไขเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละกรมธรรม์) ดังนั้นถ้าอยากลดความเสี่ยงในวันที่พลาดทำผิดกฎหมายให้ได้มากที่สุด
อ่านเพิ่มเติม: เดินข้างถนนแล้วรถชนเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม?
ก็ควรทำประกันภัยรถชั้นสูงๆ อย่าง ประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือประกันรถยนต์ชั้น 2+ เอาไว้ เพราะจะมีทุนประกันในด้านการรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย รวมถึงทรัพย์สินของบุคคลภายนอก สูงกว่าประกันประเภทอื่น
แต่ทางที่ดี ถ้าดื่มแอลกอฮอลล์ แม้จะเพียงเล็กน้อย ก็ไม่ควรขับรถจะดีกว่า เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพราะการเกิดอุบัติเหตุหนึ่งครั้ง นอกจากจะสร้างความสูญเสียแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อด้านสาธารณสุข และเศรษฐกิจของประเทศด้วย เพราะต้องใช้แรง
อ่านเพิ่มเติม: จอดรถทับทางม้าลาย อาจถูกปรับไม่รู้ตัว!
จากทั้งเจ้าหน้าที่กู้ภัย บุคคลากรทางการแพทย์ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ อีกมากมาย เพื่อระงับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
กรณีที่ประกันรถยนต์จะไม่จ่าย
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีแค่กรณีเมาแล้วขับเท่านั้น ที่ประกันรถยนต์จะไม่จ่าย หรือไม่ให้ความคุ้มครองผู้ขับขี่ เพราะยังมีอีกหลายกรณีที่ประกันรถยนต์ก็ไม่จ่ายด้วยเหมือนกัน คือ
การใช้รถทำเรื่องผิดกฎหมายอื่นๆ เช่น รถขนส่งยาเสพติด การนำรถยนต์ไปแข่งขันใดๆ ก็ตาม ที่ตัดสินการแพ้-ชนะด้วยความเร็ว ไม่มีใบขับขี่ เป็นต้น เพราะถือว่าผู้ขับขี่ตั้งใจใช้รถในสถานการณ์ที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ
การเกิดอุบัติเหตุนอกอาณาเขตคุ้มครอง เช่น ทำประกันภัยรถยนต์ในประเทศไทย และกรมธรรม์ระบุว่าให้ความคุ้มครองแค่ภายในประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิดอุบัติเหตุขณะขับรถข้ามไปสปป.ลาว กรณีนี้ประกันภัยรถจะไม่จ่าย เพราะถือว่าไม่ได้อยู่ภายในอาณาเขตที่กำหนด
การใช้รถผิดประเภท เช่น จดทะเบียนไว้เป็นรถยนต์ส่วนบุคคล แต่นำไปใช้ขับเป็นรถรับจ้าง
การนำรถยนต์ไปใช้ลากจูงจนพังเสียหาย (ยกเว้นซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม)
ความเสียหายจากวัตถุปรมาณู
ภาวะสงคราม
การดัดแปลงตัวรถ แล้วไม่แจ้งกับบริษัทประกัน
อ่านเพิ่มเติม: เปรียบเทียบก่อนซื้อ รถไฟฟ้า vs รถน้ำมัน เลือกอะไรดี?
สรุปว่า “เมาแล้วขับ” ถ้าถูกจับ และเกิดอุบัติเหตุใดๆ ก็ตาม ประกันรถยนต์จะไม่จ่ายให้ผู้ขับขี่หรือผู้เอาประกันทุกกรณี ดังนั้นถ้ามีนัดปาร์ตี้เมื่อไหร่ ก็ควรใช้บริการรถสาธารณะ บริการไดรฟ์เวอร์
หรือให้คนในครอบครัวขับมารับจะดีที่สุด เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ และการโดนระวางโทษตามกฎหมาย ที่อาจร้ายแรงถึงขั้นจำคุก และเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ตลอดชีวิต
แต่ทั้งนี้ ประกันรถยนต์จะยังคงรับผิดชอบความเสียหายให้คู่กรณีอยู่ ดังนั้นถ้าผู้ขับขี่ต้องการตัวช่วยลดความเสี่ยงในวันที่อาจพลาดเมาแล้วขับ การทำประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือประกันรถยนต์ชั้น 2+ เอาไว้ล่วงหน้า ก็จะช่วยคุ้มครองได้