เดินข้างถนนแล้วรถชนเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม?
เวลาพูดถึง พ.ร.บ. เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงแค่ความคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับตัวรถยนต์ ผู้ขับขี่ และผู้โดยสารภายในรถยนต์คันที่ประสบเหตุเท่านั้น
แต่อาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า จริงๆ แล้ว พ.ร.บ. นั้นยังให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมไปถึงคนเดินข้างถนน
ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนด้วย หรือพูดง่ายๆ ว่า ถ้าคนเดินริมถนนอยู่ดีๆ แล้วมีรถมาเฉี่ยวชน ก็สามารถเบิกพ.ร.บ. ได้
พ.ร.บ. มีเงื่อนไขความคุ้มครองอย่างไร? ทำไมคนเดินถนนถึงเบิกพ.ร.บ. ได้? และถ้าจะเบิกพ.ร.บ. ต้องทำอะไรบ้าง? เราชวนมาหาคำตอบจากบทความนี้
พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง?
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า “พ.ร.บ.” เป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) ที่กฎหมายกำหนดให้ให้รถยนต์ทุกประเภท ทุกคัน ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำ
และต่ออายุทุกปี จนกว่าจะเลิกใช้รถคันนั้นไป เพื่อเป็นหลักประกันในการมอบความคุ้มครองให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถยนต์
อ่านเพิ่มเติม: ป้ายทะเบียนแต่ละสี ถ้าดูไม่ดี อาจมีปัญหา!
ซึ่งจะคุ้มครองกับทั้งผู้ขับขี่รถยนต์ ผู้โดยสาร และบุคคลอื่นที่ถือว่าเป็นผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุนั้น โดยสามารถแบ่งความคุ้มครองได้ออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น
หมายถึง ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ รวมทั้งค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายจำเป็นอย่างอื่น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในเบื้องต้น ดังนี้
ค่ารักษาพยาบาลสูงสุดรายละไม่เกิน 30,000 บาท
ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร เสียชีวิต รายละไม่เกิน 35,000 บาท
ได้รับบาดเจ็บ ต่อมาเสียชีวิต รายละไม่เกิน 65,000 บาท
2. ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ พ.ร.บ.
ค่ารักษาพยาบาลสูงสุดรายละไม่เกิน 80,000 บาท
ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพถาวร เสียชีวิต 300,000 บาท
สูญเสียอวัยวะ 200,000 – 300,000 บาท *ตามเงื่อนไขกรมธรรม์
ค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท *จ่ายตามจริง ไม่เกิน 20 วัน
อ่านเพิ่มเติม: จอดรถทับทางม้าลาย อาจถูกปรับไม่รู้ตัว!
ค่าเบี้ยพ.ร.บ. จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ เช่น รถยนต์นั่งส่วนนั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ราคา 600 บาท/ปี รถยนต์
โดยสารไม่เกิน 15 ที่นั่ง ราคา 1,100 บาท/ปี รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุุคล เกิน 75 ซี.ซี. แต่ไม่เกิน 125 ซี.ซี. ราคา 300 บาท/ปี
หากรถคันไหนไม่ทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ลืมทำ หรือตั้งใจไม่ต่ออายุ จะต้องโดนโทษปรับ ดังนี้
โทษปรับถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ.
เจ้าของรถคันที่ไม่ทำพ.ร.บ. มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
ผู้ที่นำรถไม่มีพ.ร.บ. มาใช้ มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
ถ้าเจ้าของรถคันที่ไม่ทำพ.ร.บ. นำรถมาใช้ขับขี่บนท้องถนน จะนับว่ามีความผิดรวมกัน 2 กระทง ต้องโดนโทษปรับทางกฎหมายสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท
รถเฉี่ยว ชน พ.ร.บ. คุ้มครองไหม? คนเดินข้างถนนเบิกได้หรือไม่?
อุบัติเหตุเฉี่ยวชน นับว่าเป็นหนึ่งในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถยนต์ ดังนั้นแม้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวเพียงเล็กน้อย ไม่ได้ชนรุนแรงจนถึงขั้นทำให้ใครเสียชีวิต พ.ร.บ. ก็ยังคงให้ความคุ้มครอง
อ่านเพิ่มเติม: รถเกิดอุบัติเหตุแต่ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิกพ.ร.บ. ได้ไหม?
ส่วนใครที่สงสัยว่า ถ้ารถเฉี่ยวชนคนเดินข้างถนน คนเดินข้างถนนที่ถูกรถเฉี่ยวนั้น จะมีสิทธิ์เบิกพ.ร.บ. ได้ไหม? ก็ต้องบอกว่า “เบิกได้” เพราะนับว่าเป็นผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุโดยตรง
ดังนั้น ถ้าคุณเดินข้างถนนอยู่ดีๆ แล้วถูกรถยนต์เฉี่ยวชน แต่ไม่ได้ทำประกันอุบัติเหตุเอาไว้ หรือกลับกัน ถ้าคุณเป็นผู้ขับขี่รถยนต์ไปเฉี่ยวชนผู้อื่น และรถมีพ.ร.บ. อยู่ ก็สามารถเบาใจได้ในระดับหนึ่ง เพราะพ.ร.บ. จะช่วยรับผิดชอบในส่วนนี้เอง
รู้หรือไม่? ขับรถบนทางเท้าผิดกฎหมายแต่เบิก พ.ร.บ.ได้
อย่างไรก็ตาม การเบิกพ.ร.บ. มีความเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายจราจรด้วย บางคนอาจอยากรู้เพิ่มเติมอีกว่า ถ้ารถเฉี่ยวชนตอนที่ทำผิดกฎหมาย เช่น ขับรถบนทางเท้า พ.ร.บ. ยังจะคุ้มครองอยู่ไหม? แล้วจะต้องได้รับโทษหรือเปล่า?
สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี ดังนี้
1. หากผู้ขับขี่รถบนทางเท้าได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต จะสามารถเบิกพ.ร.บ. ได้ แต่เบิกได้แค่บางส่วนเท่านั้น และยังต้องได้รับโทษทางกฎหมายเหมือนเดิม
โดยสิทธิ์ที่ผู้ขับขี่จะเบิกจากพ.ร.บ. ได้ คือ “ค่าเสียหายเบื้องต้น” เพราะเป็นความคุ้มครองที่ให้เบิกได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอการพิสูจน์ความถูก-ผิดทางกฎหมาย
อ่านเพิ่มเติม: จะต่ออายุประกันรถทั้งที ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? มาดูกัน!
แต่ถึงอย่างไร การขับรถบนทางเท้ายังคงเป็นเรื่องผิดกฎหมายหลายข้อ ผู้ขับขี่จึงจำเป็นต้องได้รับโทษอย่างเลี่ยงไม่ได้ อาทิ
พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดให้ “ทางเท้า” เป็นพื้นที่สำหรับคนเดิน ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถบนทางเท้า โดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก ผู้ป่วยหรือผู้พิการ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท
พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ระบุว่าผู้ขับขี่ หรือจอดบนทางเท้า มีโทษปรับ 2,000 - 5,000 บาท
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43(4), 157, และ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390 ระบุว่า ผู้ขับขี่รถบนทางเท้า แล้วชนคนได้รับบาดเจ็บ มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ระบบตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่า ผู้ขับขี่รถบนทางเท้า จะตัดแต้มใบขับขี่ 1 คะแนน
อ่านเพิ่มเติม: จะเกิดอะไรขึ้น? ถ้าต่อประกันรถไม่ทันวันหมดอายุ!
2. หากผู้ขับรถบนทางเท้าไปเฉี่ยวชนคนที่เดินอยู่บนทางเท้า ผู้ถูกเฉี่ยวชนจะสามารถเบิกพ.ร.บ. ได้ตามสิทธิ์ทุกอย่าง
คนเดินข้างถนน/ทางเท้า ถูกรถเฉี่ยวชนจะเบิกพ.ร.บ. ได้อย่างไร?
สำหรับคนเดินข้างถนน หรือเดินบนทางเท้า ที่ถูกรถเฉี่ยวชน (ผู้ประสบภัย) แล้วต้องการเบิกพ.ร.บ. ให้เตรียมเอกสารสำคัญดังนี้
สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัยและเจ้าของรถ
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย
เอกสารการแจ้งความ หรือบันทึกประจำวันจากตำรวจ
สำเนาหนังสือจดทะเบียนรถ
สำเนากรมธรรม์พ.ร.บ.
ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาล
หนังสือรับรองความพิการ (กรณีทุพพลภาพ)
ใบมรณบัตร (กรณีเสียชีวิต)
แล้วนำเอกสารทั้งหมดไปยื่นกับบริษัทที่เป็นผู้ออกพ.ร.บ. ของรถคันนั้น หรือบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยสามารถยื่นเรื่องด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำแทนได้ เช่น ทายาทโดยชอบธรรม โรงพยาบาลที่ทำการรักษา เป็นต้น
โดยค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจะรับได้ภายใน 7 วัน นับจากวันยื่นเอกสาร ส่วนสิทธิ์ความคุ้มครองตามพ.ร.บ. จะได้รับภายใน 180 วัน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ
ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเสริมความมั่นใจ-เพิ่มความคุ้มครอง
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ถ้าพิจารณาความคุ้มครองของพ.ร.บ. เพียงอย่างเดียว จะเห็นว่าตัวพ.ร.บ. เอง แม้จะให้ความคุ้มครองหลายส่วน แต่ไม่ได้ให้วงเงินที่สูงมากนัก
อ่านเพิ่มเติม: ป้ายวงกลม ป้ายภาษีหาย ถ้าอยากทำใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
หากเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนรุนแรง เช่น มีคนบาดเจ็บหนัก เสียชีวิต หรือรถยนต์เสียหายทั้งคัน พ.ร.บ. จึงมักจะคุ้มครองความเสียหายได้ไม่ครอบคลุม และทำให้ผู้ขับขี่จำเป็นต้องจ่ายส่วนต่างเพิ่มเอง
ดังนั้นทางเลือกดีๆ ที่คนมีรถไม่ควรมองข้าม คือการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจควบคู่กับการทำ พ.ร.บ. เพื่อเพิ่มอุ่นใจ และเพิ่มความคุ้มครองให้ครอบคลุมทั้งความเสียหายต่อตัวบุคคล และตัวรถยนต์
ทั้งนี้ ประกันรถยนต์ มีให้เลือกซื้อได้ถึง 5 แผนประกัน ได้แก่ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันรถยนต์ชั้น 2 ประกันรถยนต์ชั้น 2+ ประกันรถยนต์ชั้น 3 และ ประกันรถยนต์ชั้น 3+ เจ้าของรถสามารถเลือกทำให้เหมาะสมกับความต้องการได้
ขอคุณข้อมูลจาก
- safedrivedlt.com
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
- ไทยรัฐออนไลน์