จริงไหม? ชาร์จรถไฟฟ้าในบ้าน ไม่อันตรายอย่างที่คิด!
ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้า หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า รถ EV เริ่มเป็นที่นิยมกันมาขึ้นด้วยข้อดีในเรื่องระบบและเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามากับตัวรถรุ่นใหม่และความโดดเด่นในเรื่องการประหยัดน้ำมันเพราะขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากแบตเตอรี่แทนน้ำมัน
ทำให้คนเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น ซึ่งการหาจุดชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าก็ไม่ได้หายากอย่างที่หลายคนมีความกังวล เพราะปัจจุบันเริ่มมีจุดชาร์จแบตในหลายๆ ที่ทั่วประเทศเปิดให้บริการ
แต่สำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งป็นวิธีที่สะดวกแถมประหยัด และความจริงแล้ว การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านนั้นไม่อันตรายอย่างที่คิด
เพียงเลือกอุปกรณ์ชาร์จที่ได้มาตรฐาน ติดตั้งปลั๊กไฟ ทีรองรับใช้งาน สายชาร์จ ที่เหมาะสมและปฏิบัติตาม คำแนะนำ
อ่านเพิ่มเติม: รถ EV ชาร์จไฟแบบ AC หรือ DC แบบไหนดีกว่ากัน
สำหรับผู้ที่มีแพลนอยากติดตั้งเครื่องชาร์จไว้ในบ้าน วันนี้ขอพามารู้จักประเภทเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและวิธีการติดตั้ง เพื่อให้คุณได้ติดตั้งเครื่องชาร์จภายในบ้านอย่างปลอดภัย
เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มี 3 ประเภทดังนี้
1. Normal Charge หรือ AC Charge
เป็นการชาร์จจากเต้ารับในบ้านโดยตรง ใช้เวลาประมาณ 12-16 ชั่วโมง ก่อนติดตั้งควรเช็กปริมาณการใช้ไฟในบ้านร่วมกับเครื่องชาร์จไฟก่อนว่า ระบบไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่รองรับการใช้งานได้หรือไม่
2. Doble Speed Charge
ชาร์จด้วย Wall Box การชาร์จไฟกระแสสลับผ่านตัวแปลงไฟ ใช้เวลาน้อยกว่า อยู่ที่ประมาณ 4-7 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความจุแบตเตอรีและรุ่นของรถด้วยเช่นกัน
3. Quick Charge
การชาร์จด้วยกระแสไฟฟ้าตรง (DC Charging) สามารถชาร์จแบตเตอรีได้ในเวลาอันรวดเร็ว ใช้เวลาเพียง 40-60 นาที เท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นสถานีชาร์จไฟนอกบ้าน เช่น ห้างสรรพสินค้าและจุดแวะพักรถต่างๆ
วิธีติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน
1. ขนาดมิเตอร์ไฟ
ถ้ามิเตอร์ไฟฟ้ามีขนาดเล็กกว่า 30 แอมป์ (30/100) เช่น 5 แอมป์ หรือ 15 แอมป์ ควรแจ้งเปลี่ยนมิเตอร์ไฟให้มีขนาดตั้งแต่ 30 แอมป์ขึ้นไป หรือถ้าเป็นมิเตอร์ 3 เฟส ก็ควรใช้ขนาด 15/45
อ่านเพิ่มเติม: 4 เหตุผลที่ทำให้ค่าเบี้ยประกันรถ EV แพงกว่ารถยนต์ทั่วไป
เพื่อให้มิเตอร์มีขนาดเพียงพอสำหรับรองรับปริมาณการใช้ไฟในบ้านที่มากขึ้น แต่การพิจารณาว่าจะใช้ไฟฟ้า 1 เฟส หรือ 3 เฟส ก็ต้องพิจารณารุ่นของรถยนต์ไฟฟ้า
และคุณสมบัติของเครื่องชาร์จที่จะนำมาติดตั้งควบคู่กันไปด้วย
2. ขนาดสายไฟเมน
หลังจากเช็กมิเตอร์ไฟฟ้าแล้ว ก็ต่อด้วยการเช็กขนาดสายไฟเมน หรือขนาดสายไฟที่เชื่อมมายังตู้ควบคุม หากยังเป็นขนาด 16 มิลลิเมตร ก็ต้องเปลี่ยนมาใช้ขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร (ตร.มม.)
อ่านเพิ่มเติม: ฝนตกหนักแบบนี้ รถ EV ขับลุยน้ำได้ไหม?
ซึ่งเป็นขนาดหน้าของสายหริอขนาดของสายทองแดงนั่นเอง รวมไปถึงเช็กตู้ Main Circuit Breaker (MCB) ควรใช้ตู้ที่สามารถรองรับกระแสไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์ด้วย
3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)
โดยดูว่ามีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker หรือไม่ เพราะการติดตั้งที่ชาร์จรถ EV จะต้องแยกช่องจ่ายไฟออกไปต่างหาก
และช่องว่างนั้นควรมีขนาดตามพิกัดที่สามารถรองรับกระแสไฟของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ด้วย
อ่านเพิ่มเติม: จริงหรือไม่? รถ EV ขับลุยน้ำได้ดีกว่ารถยนต์ทั่วไป
ทั้งนี้ เวลาสร้างบ้านแล้วมีการติดตั้งตู้ประเภทนี้ควรมีช่องเหลือไว้ เช่น หากจำเป็นต้องใช้ 6 ช่อง ก็ควรเลือกตู้แบบ 10 ช่อง ให้มีเหลือไว้อีก 4 ช่อง
เผื่อติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าภายหลัง ก็จะได้สามารถมาติดช่องเพิ่มได้
4. เครื่องตัดไฟรั่ว หรือ RDC
เครื่องตัดไฟรั่ว (Residual Current Device หรือ RDC) ไว้สำหรับตัดวงจรเมื่อมีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออกไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรรวมไปถึงไฟไหม้ได้
เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ดี ควรมีระบบตัดไฟอย่างน้อย RCD Type B หรือเทียบเท่า แต่ในกรณีที่สายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายอัตโนมัติ ก็ไม่จำเป็นจะต้องติดตั้งเครื่องชนิดนี้เพิ่มก็ได้
5. เต้ารับ
เต้ารับที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV จะไม่เหมือนเต้ารับเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในบ้าน การเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรใช้แบบ 3 รู และใช้หลักดินแยกออกจากหลักดินของระบบไฟในบ้าน
โดยสายต่อหลักดินรถ EV ควรเป็นสายหุ้มฉนวน มีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร ส่วนหลักดินควรมีขนาด 16 มิลลิเมตร ยาว 2.4 เมตร ตามมาตรฐาน และการต่อสายดินกับหลักดินควรเชื่อมต่อด้วยความร้อน
สำหรับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบพกพา นอกจากการใช้เต้ารับแบบ 3 รูแล้ว ควรทนกระแสไฟได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16 แอมป์ด้วย และในส่วนของเครื่องชาร์จไฟที่มีอุปกรณ์ IC-CPD (In3Cable Control and Protection Device)
ควรเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 2911 หรือ IEC 62752 ส่วนเครื่องชาร์จแบบติดผนัง (Wall Mounted Charger) ก็ควรได้รับมาตรฐาน มอก. 61851 หรือ IEC 61851 เช่นเดียวกัน
6. เช็คตำแหน่งก่อนติดตั้ง
ก่อนจะติดตั้งเต้ารับแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรเช็กตำแหน่งที่จะติดตั้งด้วยว่า ระยะห่างเหมาะสมกับความยาวของชาร์จหรือไม่ เพราะระยะความยาวของสายชาร์จส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 เมตร
และตำแหน่งที่ติดตั้งควรอยู่ในที่ร่ม สามารถป้องกันแดด-ป้องกันฝนได้ แม้ว่าตัวเต้ารับจะเป็นรุ่นที่ระบุว่าไว้ภายนอกบ้านได้ก็ตาม
ข้อควรระวังการติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน
ก่อนติดตั้งควรพิจารณาปริมาณการใช้ไฟฟ้าเดิมของบ้านและเครื่องชาร์จเสียก่อน หากปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมกันแล้ว เกินกว่าพิกัดของ MCB และมิเตอร์ไฟ ก็ควรเปลี่ยนระบบไฟฟ้าก่อน
โดยขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ผ่านหน่วยงานการไฟฟ้า เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าใช้กระแสไฟฟ้าสูง ไม่ควรนำสายชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบพกพาไปเสียบกับเต้ารับที่มีอยู่เดิมในบ้าน
หากระบบไฟฟ้าเหล่านั้นไม่ได้ถูกออกแบบมารองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรเดินระบบไฟฟ้าของที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแยกออกจากระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และทำโดยช่างไฟฟ้าที่มีความชำนาญ
สำหรับที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า การมีเครื่องชาร์จไว้ในบ้านก็เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเติมพลังงาน แต่สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมเช็กก็คือ 6 จุดสำคัญที่ตามข้อมูลข้างต้น
แต่ไม่ว่าสุดท้ายคุณจะตัดสินใจซื้อเลือกชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน หรือตามสถานที่มีจุดชาร์จต่างๆ ก็อย่ามองข้ามการทำ "ประกันภัยรถยนต์" เด็ดขาด
เพราะสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มความคุ้มครองให้กับคุณและรถได้ และทำให้สามารถใช้รถได้อย่างอุ่นใจมากยิ่งขึ้น