บทความ | สาระน่ารู้อื่นๆ

เลิกเข้าใจผิด !! ป้ายวงกลม ป้ายภาษีรถยนต์ กับ พ.ร.บ. ไม่ใช่อันเดียวกัน

เลิกเข้าใจผิด !! ป้ายวงกลม ป้ายภาษีรถยนต์ กับ พ.ร.บ. ไม่ใช่อันเดียวกัน
02/09/2019  สาระน่ารู้อื่นๆ

พ.ร.บ. รถยนต์ ป้ายวงกลม และ ป้ายภาษีรถยนต์ คำที่คนมีรถคุ้นเคย และรถทุกคันต้องมี เนื่องด้วยกฎหมายกำหนดให้ผู้ใช้รถต้องทำ 

แต่หลายคนก็ยังสับสันระหว่าง พ.ร.บ. รถยนต์ ป้ายวงกลม และ ป้ายภาษีรถยนต์ มีความแตกต่างกันอย่างไร? และทำไปทำไม? วันนี้ SMILE INSURE มีคำตอบ

พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ใช่ ป้ายวงกลม ป้ายภาษีรถยนต์ 

เลิกเข้าใจผิด !! ป้ายวงกลม กับ พ.ร.บ. ไม่ใช่อันเดียวกัน

พ.ร.บ. รถยนต์คือ ?

“พ.ร.บ. รถยนต์” หรือที่เรียกกันว่า “ประกันภัยภาคบังคับ” เป็นประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 บังคับให้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ทำประกันประเภทนี้ หากไม่ทำจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท 
หลังจากทำ พ.ร.บ. รถยนต์ ต้องเก็บรักษา หลักฐาน การมี พ.ร.บ. รถยนต์ไว้ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ เมื่อเจ้าหน้าที่ต้องการ และ พ.ร.บ. ยังเป็นเอกสารสำคัญที่ต้องนำไปต่อภาษีรถยนต์ด้วยนะ


ซึ่งทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้พูดถึงเหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายว่า 
“การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

เพิ่มเพื่อน

  1. เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะเหตุ ประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที กรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่า ปลงศพ กรณีเสียชีวิต
  2. เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
  3. เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว”

ซึ่ง พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยค่าปลงศพกรณีเสียชีวิตเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตามวงเงินที่คุ้มครอง (ดูความคุ้มครองพ.ร.บ. รถยนต์ คลิกที่นี่)

ป้ายวงกลม ป้ายภาษีรถยนต์ คือ?


“ป้ายภาษีรถยนต์” หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “ป้ายวงกลม” เป็นสิ่งที่ต้องต่อกันทุกปีตามกฎหมายกำหนด หากไม่ต่อภาษีรถยนต์ติดต่อกัน 3 ปี รถยนต์ของคุณจะถูกระงับทะเบียน และต้องนำรถไปจดทะเบียนภาษีรถยนต์ใหม่ พร้อมคืนป้ายภาษีเก่า 

และคุณจะถูกเก็บค่าภาษีย้อนหลังด้วยนะ แต่ถ้าใครกลัวลืมก็อย่ากังวลไป เพราะคุณสามารถต่อภาษีรถยนต์ก่อนหมดอายุได้ไม่เกิน 3 เดือนได้

เลิกเข้าใจผิด !! ป้ายวงกลม กับ พ.ร.บ. ไม่ใช่อันเดียวกัน


แต่อย่าลืมนะ! ต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ให้เสร็จก่อนต่อภาษี ซึ่งคุณจะได้ป้ายภาษีสีเหลี่ยมมาติดหน้ากระจกรถ และหากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าคุณไม่มีป้ายภาษีจะมีโทษปรับ 400-1,000 บาท 

ส่วนค่าภาษีที่จ่ายไปทางหน่วยรัฐจะนำไปพัฒนาและปรับปรุงท้องถนนให้ทุกคนได้นั้นเอง 

เเล้วทำไมถึงเรียก ป้ายภาษีรถยนต์ ว่า "ป้ายวงกลม"?

ที่ทุกคนเรียกป้ายวงกลม เพราะสมัยก่อนป้ายภาษีรถยนต์มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลม แต่ภายหลังได้มีการเปลี่ยนเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเลย จึงเป็นคำเรียกติดปากมาถึงปัจจุบันนี้

ต่อภาษีรถยนต์ ต้องจ่ายเท่าไหร่?

กรมการขนส่งทางบกได้คิดอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 ดังนี้

1. จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน โดยมีอัตรา ดังนี้

  •  600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท
  •  601 - 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท
  •  เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท

ทั้งนี้ หากเป็นรถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ ให้จัดเก็บในอัตราสองเท่า นอกจากนี้ หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้

  • ปีที่ 6 ร้อยละ 10
  •  ปีที่ 7 ร้อยละ 20
  •  ปีที่ 8 ร้อยละ 30
  •  ปีที่ 9 ร้อยละ 40
  •  ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50

2. จัดเก็บเป็นรายคัน

2.1 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
2.2 รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
2.3 รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
2.4 รถพ่วงนอกจากข้อ 2.3 คันละ 100 บาท
2.5 รถบดถนน คันละ 200 บาท
2.6 รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท

3. จัดเก็บตามน้ำหนัก

เลิกเข้าใจผิด !! ป้ายวงกลม กับ พ.ร.บ. ไม่ใช่อันเดียวกัน กรมการขนส่งทางบกได้คิดอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522

4. รถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า

4.1 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
4.2 รถอื่นนอกจาก 4.1 ให้เก็บภาษีในอัตรากึ่งหนึ่งของรถตามข้อ 2 และ 3

เอกสารที่ใช้สำหรับต่อภาษีรถยนต์ประจำปี

  1. สำเนาเล่มทะเบียน
  2. หน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ)
  3. ค่าทำเนียมรายปีดูจากประเภทการจดทะเบียน ปี จำนวนซีซี และอายุรถ กรณีอายุรถเกิน 7 ปี ต้องให้แนบหลักฐานการตรวจสภาพรถประกอบการยื่นภาษีด้วย

ป้ายภาษีชำรุดหรือสูญหาย ต้องทำยังไงบ้าง? 

หากป้ายภาษีสูญหาย อย่างแรกที่ควรทำคือแจ้งความครับ เพื่อเป็นการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ ป้องกันการที่มีผู้ไม่หวังดีนำป้ายของคุณไปแอบอ้างแล้วทำสิ่งผิดกฎหมาย หลังจากนั้นก็จะถึงขั้นตอนการขอทำป้ายภาษีตามนี้เลย

ขั้นที่ 1 การเตรียมเอกสาร

  • หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หรือ เล่มทะเบียนรถ (หนังสือเล่มเขียว) ทั้งตัวจริงและสำเนา
  • บัตรประจำตัวประชาชน ทั้งตัวจริงและสำเนา
  • หากเจ้าของรถไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
  • กรณีที่ป้ายภาษีสูญหาย ต้องนำใบแจ้งความมาด้วย
  • กรณีป้ายภาษีชำรุด ต้องนำป้ายที่ชำรุดมาแสดงด้วย

ขั้นที่ 2 นำเอกสารไปยื่นคำขอที่ “กรมการขนส่งทางบก”

  • สามารถทำการขอได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด หากต้องการสอบถามข้อมูล สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 1584 กรมการขนส่งทางบก
  • อัตราชำระค่าธรรมเนียมรวม 25 บาท

ขั้นที่ 3 รอรับเอกสาร

  • การติดต่อขอทำป้ายภาษีใหม่นั้น สามารถรอรับได้ในวันที่ไปทำการยื่นคำขอเลย เพียงแค่ต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงในการรอดำเนินเรื่อง 

แต่สิ่งที่ควรจำไว้ในกรณีที่ป้ายภาษีสูญหายหรือชำรุด คือ ต้องยื่นคำขอรับเอกสารใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันทราบเรื่องนะครับ มิเช่นนั้นคุณจะถูกเปรียบเทียบค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนดไว้

ลืมต่อภาษี ขาดต่อภาษีไปหลายวัน จะเป็นอะไรไหม?

การต่อภาษีล่าช้านั้นจะต้องทำการเสียค่าปรับในอัตราร้อยละ 1 บาทของค่าภาษีรถของคุณ อย่างเช่น ค่าภาษีรถมอเตอร์ไซค์จำนวน 100 บาท และรถของคุณขาดต่อภาษี 1 เดือน คุณจะต้องเสียค่าปรับ 1 บาท 

แต่หากคุณขาดต่อภาษีรถของคุณเกิน 3 ปี ทะเบียนรถของคุณจะถูกระงับ และคุณจะต้องนำป้ายทะเบียนรถของคุณไปคืนกรมการขนส่งทางบก พร้อมชำระค่าปรับที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ครบ


เสียภาษีที่ไหนได้บ้าง?

  • สำนักงานขนส่งทั่วประเทศไทย (ไม่ว่ารถจะจดทะเบียนที่จังหวัดใดก็ตาม)
  • ที่ทำการไปรษณีย์
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ (จัดส่งใบเสร็จและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีทางไปรษณีย์)
  • บริการ Drive Thru for Tax ที่สำนักงานขนส่ง
  • บริการ ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (ให้บริการวันเสาร์และอาทิตย์) ได้แก่ ห้างบิ๊กซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 14 สาขา เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น. ได้แก่ สาขาลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่ และบางนา
    • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขารามอินทรา เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00 - 17.00 น.
    • ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00 - 17.00 น.
    • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 11.00 - 18.00 น.
    • ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน

ดังนั้น รถทุกคันต้องมี พ.ร.บ. รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำทุกปีตามกฎหมายกำหนด โดย พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองและชดเชยค่าเบิกจ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หากไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ ก็ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และอาจมีโทษปรับถึง 10,000 บาท 

สนใจทําประกันรถยนต์ กรอกข้อมูลได้ที่นี่ 

ส่วนภาษีรถยนต์เป็นการเสียภาษีประจำปี เพื่อให้หน่วยรัฐนำไปพัฒนาและปรับปรุงท้องถนน หากไม่ต่อภาษีเกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียนรถ พร้อมถูกเรียกเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลัง และถ้าไม่มีเมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจมีโทษปรับ 400 – 1,000 บาทเลยนะ 

รู้แบบนี้แล้วอย่าละเลยการต่อ พ.ร.บ. และเสียภาษีรถยนต์กันนะ แต่จะง่ายกว่า ถ้ามี SMILE INSURE เป็นที่ปรึกษา เพราะเรื่องรถๆ ไว้ใจเรา ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนก็อุ่นใจแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก:

  • สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
  • sanook.com
  • กรมการขนส่งทางบก

ขอบคุณวีดีโอจาก: 

  • YouTube


ปรึกษาและซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์กับ SMILE INSURE คลิก  https://smileinsure.co.th/insurance
สอบถามข้อมูลประกันทุกประเภท ได้ที่ INBOX:
 m.me/smileinsure  LINE ไอดี @smileinsure หรือคลิก https://lin.ee/LleDwPY  หรือโทร Call Center 02-233-9999

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ