ประกันภัยชั้นไหนที่เหมาะกับคุณ ?
ประกันภัยชั้นไหนที่เหมาะกับคุณ ?
หลายคนคิดว่าประกันชั้น 1 เป็นชั้นที่ดีที่สุด คุ้มครองครบถ้วนทุกอย่าง เมื่อเกิดอุบัติเหตุก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าซ่อมทั้งของเราและผู้เอาประกัน แต่บางท่านอาจจะไม่สะดวกในการจ่ายค่าเบี้ยหรือรู้สึกว่าการทำประกันภัยชั้น 1 เกินความจำเกินไป เพราะขับรถมาก็หลายปีไม่เคยเกิดอุบัติเหตุสักที การเลือกทำประกันชั้นอื่นก็อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งค่ะ
อยากจะ ทำ ซื้อ ผ่อน ประกันรถยนต์ กันทั้งทีต้องไปถึงบริษัทประกันไม่ก็ต้องจ้างคนไปทำ แต่ว่าในปัจจุบันนั้นโลกเราสามารถเข้าถึงกันได้ด้วยโลกของอินเทอร์เน็ตเพราะว่าสามารถทำได้ด้วยตนเองผ่านระบบประกันรถยนต์ออนไลน์ แม้ว่าจะอยู่ที่บ้านก็สามารถเลือกแพคเกจที่ดีต่อใจได้ขอแค่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต รวมถึงการเปรียบเทียบราคาประกันภัยรถยนต์ก็ทำได้เช่นกันไม่จำเป็นต้องหาข้อมูลด้วยการโทรสอบถามหรือใบปลิวอีกต่อไป เพื่อนๆ สามารถทำได้เลยผ่านระบบ
ความสำคัญของการประกันภัยภาคสมัครใจ
ความสำคัญของการประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัย คือ การให้ความคุ้มครองและเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ชีวิตของตนเองและครอบครัว และเป็นหลักประกันความมั่นคงให้แก่ผู้เอาประกันภัย หากเกิดอุบัติภัยและความเสียหายขึ้น ผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ความสำคัญของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
ประกันภัยรถยนต์ ประเภทนี้ผู้ที่มีรถยนต์ทุกคนต้องทำเราเรียกกันในชื่อของ พรบ รถยนต์ เพื่อคุ้มครองผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคันจากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในเรื่องของ ค่ารักษาพยาบาล มีฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2535หากไม่ทำจะมีโทษปรับตามกฏหมายและไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์ได้
พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีหน้าที่คุ้มครองบุคคลที่เกิดอุบัติเหตุจากรถบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลเดินเท้า ที่ได้รับความเสียหายแก่ชีวิตหรือร่างกาย ที่เกิดจากรถบนท้องถนน อ่านข้อมูลเพิ่มเติม >>> คลิก
พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ?
พ.ร.บ. รถยนต์ ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกหรือผิด มีวงเงินที่สามารถเบิกได้ดังนี้
กรณียังไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
- บาดเจ็บได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท ต่อคน
- ทุพพลภาพค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 35,000 บาท ต่อคน
- กรณีบาดเจ็บและต่อมาทุพพลภาพ จะได้รับคนละไม่เกิน 65,000 บาท
- กรณีเสียชีวิตได้รับค่าปลงศพจำนวน 35,000 บาทต่อคน
- กรณีบาดเจ็บรักษาพยาบาลแล้วเสียชีวิตภายหลังจ่ายรวมไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
กรณีพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูก
- ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
- กรณีทุพพลภาพสูญเสียอวัยวะเสียชีวิตจ่ายไม่เกิน 300,000 บาทต่อคน
- เงินชดเชยกรณีผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน ระยะเวลาไม่เกิน 20 วัน รวมทั้งหมดไม่เกิน 4,000 บาท
ในกรณีเกิดเหตุรถชนกัน 2 คันขึ้นไป ให้บริษัทประกันรับผิดชอบค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ภายในรถที่ทำประกันไว้ แต่ถ้าเป็นบุคคลภายนอกให้บริษัทร่วมกันจ่ายในจำนวนเท่ากัน
เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนเบิก พ.ร.บ. รถยนต์
กรณีบาดเจ็บ
- ใบเสร็จจากโรงพยาบาล
- สำเนาบัตรประชาชน
- กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ ให้นำใบรับรองแพทย์หรือหลักฐานของแพทย์ที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งทุพพลภาพ และบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนที่ได้รับแจ้งจากการประสบภัยจากรถ
กรณีเสียชีวิต
- สำเนาใบมรณะ
- สำเนาบันทึกประจำวันจากพนักงานสอบสวน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ประกันภัยรถยนต์ ประเภทนี้เพื่อน ๆ สามารถเลือกทำได้ตามความสมัครใจหรือ จะไม่ทำก็ได้ มีให้เลือกประเภทความคุ้มครองเช่น ประกันชั้น 1, 2, 2+, 3+ หรือ 3
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1
ประกันภัยชั้น 1 เป็นประเภทที่คุ้มครองครอบคลุมที่สุด และเป็นชั้นที่นิยมทำมากที่สุด โดยคุ้มครองต่อความเสียหายต่อตัวรถในกรณี ไฟไหม้ ภัยธรรมชาติ หรือสูญหาย และจะรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และบุคคลในรถ
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2
ประกันภัยชั้น 2 ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากไม่คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย จะรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และบุคคลในรถ ความเสียหายต่อตัวรถในกรณี ไฟไหม้ หรือสูญหาย
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+
ประกันภัยชั้น 2+ หรือที่เรียกว่า 2 พลัส ประกันประเภทนี้จะคล้ายกับประกันชั้น 1 แต่จะแตกต่างจากประเภท 1 ที่ความคุ้มครอง จะคุ้มครองเฉพาะในกรณีที่คู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น จะคุ้มครองในกรณีรถชนรถ ไฟไหม้ และสูญหาย จะรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และบุคคลในรถ
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3
ประกันภัยชั้น 3 ประเภทนี้ไม่จำกัดอายุการใช้งาน จะคุ้มครองเฉพาะในกรณีที่คู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น จะรับผิดชอบชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และบุคคลในรถ
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+
ประกันภัยชั้น 3+ ประกันประเภทนี้จะแตกต่างจากประเภท 1 ที่ความคุ้มครอง เพราะจะคุ้มครองเฉพาะในกรณีที่คู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น และ แตกต่างจากประเภท 2+ ที่ไม่คุ้มครองในกรณีสูญหาย หรือ ไฟไหม้ จะรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และบุคคลภายนอก
โบรกเกอร์ประกันภัย คือ?
โบรกเกอร์ (Broker) หรือ นายหน้า คือ บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นผู้ชี้แนวทางหรือให้คำปรึกษาในการทำประกัน ซึ่งโบรกเกอร์ประกันไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทประกันใด จึงสามารถแนะนำประกันของบริษัทใดก็ได้ ให้กับผู้ที่สนใจ อ่านเพิ่มเติม >>> คลิก
"โบกเกอร์" กับ "บริษัทประกันภัย" ต่างกันอย่างไร?
โบรกเกอร์ เป็นผู้ที่ทำหน้าที่อิสระ ไม่ขึ้นตรงกับบริษัทประกันแห่งใด และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของใครทั้งสิ้น จะมีหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ของประกันภัย ที่เราต้องการทราบให้เราได้พิจารณา มีการแนะนำข้อดีข้อเสีย เหมาะสำหรับผู้เอาประกันที่ยังเป็นมือใหม่
บริษัทประกันภัย จะเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น เป็นผู้ที่ขึ้นตรงกับบริษัทประกันภัยของตนเอง ทำหน้าที่เป็นตัวแทนให้แก่บริษัท ได้รับเงินค่าตอบแทนจากเงินทุนของตัวบริษัทประกันเอง และดำเนินการต่างๆ โดยใช้เงินทุนของบริษัทร่วมด้วยอีกทางหนึ่งโดยหน้าที่ของตัวแทนนั้น จะทำการชักชวนให้ผู้คน หันมาทำประกันกับบริษัทของตนเองตัวแทนเหล่านี้ โดยอาจจะเสนอแค่ บริษัทตนเองเท่านั้น
ไขความลับที่ประกันภัยไม่บอก
เรามาไขข้อข้องใจให้อาแปะกันดีกว่าค่ะ การแต่งรถเพิ่มทางประกันจะเรียกว่าอุปกรณ์เสริมค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ล้อแม็กซ์ ท่อไอเสีย ติดแก๊ส เป็นต้น และทุกครั้งที่ทำประกันหากมีการติดตั้งอุปกรณ์เสริมต้องแจ้งให้ทางบริษัทประกันทราบก่อน จึงจะได้การคุ้มครอง ได้ยินแบบนี้คงรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่า แต่งรถเพิ่มประกันคุ้มครองแน่นอน แต่!! ประกันจะคุ้มครองเฉพาะอุปกรณ์เสริมไม่เกิน 20,000 บาทค่ะ อ่านเพิ่มเติม >>> คลิก
ทำไมถึงต้องทำประกันภัยรถยนต์ ?
ถึงแม้เราจะขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพียงใด แต่ควรคิดเสมอว่าทุกครั้งที่เราขับรถออกจากบ้าน นั่นหมายถึงความเสียงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเวลา เราต้องใช้ถนนร่วมกับผู้ใช้รถรายอื่นอีกมากมาย ดังนั้นการประกันภัยจึงมีความสำคัญอย่างมาก สร้างความเชื่อมั่น และความอุ่นใจในการใช้รถ พร้อมกับรับผิดชอบค่าเสียหาย และค่ารักษาพยาบาล
- ประกันรถยนต์จะให้ความคุ้มครองต่อเนื่องจาก พ.ร.บ. จะคุ้มครองทั้งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และบุคคลในรถ
- เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้รถที่ผู้ประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที
- สร้างความเชื่อมั่น และอุ่นใจในการใช้งานรถ
- เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุ
- กระจายความเสี่ยง และแบ่งเบาภาระของผู้ขับขี่ หรือเจ้าของรถ หากมีความผิดในอุบัติเหตุนั้นๆ
วิธีการจัดทำประกันภัย
- เตรียมสำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ และสำเนาบัตรบัตรประจำตัวประชาชน
- นำเอกสารไปติดต่อบริษัทประกันภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยรถ พร้อมแจ้งความประสงค์ของทำประกันภัย
- รับกรมธรรม์ประกันภัย และใบเสร็จรับเงิน
- รับเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัย พร้อมตรวจสอบข้อมูลบนเครื่องหมายให้ถูกต้อง เช่น ชื่อบริษัทประกันภัย ชื่อรถ หมายเลขทะเบียนรถ หมายเลขตัวถัง ระยะเวลาสิ้นสุด และนำไปติดไว้ที่กระจกรถด้านใน หรือหากเป็นรถ ประเภทอื่นที่ไม่ใช่รถยนต์ต้องติดไว้ในที่ๆ สามารถเห็นไปได้ชัดเจน
รู้แบบนี้แล้วลองพิจารณาดูลักษณะการใช้รถของคุณ ว่าคุณมีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุมากน้อยแค่ไหน พร้อมดูความพร้อมในการจ่ายค่าเบี้ยประกัน หรือปรึกษาเรื่องประกันกับ Smile Insure สิคะ เรามีคำแนะนำและโปรโมชั่นดีให้คุณได้เลือกมากมาย
ขอบคุณข้อมูลจาก:
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)