บทความ | สาระน่ารู้อื่นๆ

เอาตัวรอดยังไง? เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้

เอาตัวรอดยังไง? เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้
27/07/2021  สาระน่ารู้อื่นๆ

เอาตัวรอดยังไง? เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้

ไฟไหม้ เพลิงไหม้ หรืออัคคีภัย เป็นภัยใกล้ตัวที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะเมื่อเกิดเหตุไฟสามารถลุกลามได้เร็ว ควบคุมได้ยาก ทำให้เกิดความเสียในวงกว้างได้ง่ายๆ นอกจากนี้ไฟยังสร้างความอันตรายได้เยอะกว่าที่คิด ไฟจะทำให้เกิดควัน พร้อมความร้อนจนสามารถสร้างความเสียหายในทรัพย์สิน และชีวิตเราได้

เอาตัวรอดยังไง? เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ | Smile Insure

เพราะเหตุเพลิงไหม้เป็นภัยใกล้ตัวที่มีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากต้องตกอยู่ในสถานการณ์เพลิงไหม้ ถ้าไม่รู้ถึงแนวทางป้องกัน ทั้งการเอาตัวรอด สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ เมื่อเกิดเหตุ การใช้งานถังดับเพลิงเพื่อระงับเหตุเบื้องต้น อาจทำให้เกิดการสูญเสียที่ร้ายแรงได้อย่างไม่คาดคิด วันนี้ SMILE INSURE จึงข้อมูลวิธีเอาตัวรอด เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้มาฝาก

 เอาตัวรอดยังไง? เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ | Smile Insure

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อเกิดไฟไหม้

  1. ไม่ควรเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดอับของอาคาร เช่น ห้องใต้ดิน เพราะยากต่อการช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่
  2. ห้ามหนีเข้าไปอยู่ในห้องน้ำ เพราะปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการดับไฟ อาจทำให้ถูกไฟคลอกเสียชีวิตได้
  3. ไม่ควรหนีขึ้นไปอยู่ชั้นบนหรือดาดฟ้าของอาคาร เพราะไฟจะลุกลามจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับอันตราย ** ยกเว้นกรณีที่ไม่สามารถอพยพลงสู่ชั้นล่างได้
  4. กรณีไฟลุกลามติดเสื้อผ้า ห้ามวิ่งอย่างเด็ดขาด เพราะไฟจะลุกลามเร็วขึ้นทำให้ดับไฟได้ยาก ควรรีบถอดเสื้อผ้าออก หรือนอนกลิ้งตัวไปมาให้ไฟดับ
  5. ใช้ลิฟต์ เพราะเมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟฟ้าจะดับ ทำให้ติดค้างภายในลิฟต์ได้
  6. ใช้บันไดภายในอาคาร เพราะบันไดมีลักษณะเป็นปล่อง ทำให้ควันไฟและเปลวเพลิงลอยขึ้นมาปกคลุม จึงเสี่ยงต่อการสำลักควันไฟและถูกไฟคลอกเสียชีวิต
  7. ใช้ลิฟต์ เพราะเมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟฟ้าจะดับ ทำให้ติดค้างภายในลิฟต์ได้
  8. กลับเข้าไปในอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ เพราะอาจได้รับอันตรายจากไฟคลอกหรือโครงสร้างอาคารที่อาจพังถล่มลงมาได้

เอาตัวรอดยังไง? เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ | Smile Insure

เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ไฟไหม้ ต้องทำอย่างไร?

  1. ตั้งสติ ควบคุมสติให้ได้
  2. กดสัญญาณแจ้งเตือน หรือหากรับรู้เหตุว่าเกิดเพลิงไหม้ให้รีบออกจากจุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด และโทรศัพท์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่เบอร์ 199
  3. หากเพลิงมีขนาดเล็กพอที่จะดับเองได้ ให้ใช้ถังดับเพลิง และรีบออกจากตัวอาคารทันที รวมถึงปิดประตู-หน้าต่างห้องที่เกิดเพลิงไหม้ให้สนิทที่สุด ให้เกิดภาวะอับอากาศจะช่วยให้เพลิงไหม้ช้าลง แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีใครติดอยู่ข้างในแล้ว
  4. หาผ้าชุบน้ำปิดปาก ปิดจมูก หรือหาผ้าห่มชุบน้ำแล้วห่มตัว เพื่อป้องกันการสูดควันไฟ และเพื่อป้องกันความร้อนจากเปลวไฟ
  5. หลีกเลี่ยงการสูดดมควันไฟ คลานต่ำๆ เพราะอากาศที่พอหายใจได้จะอยู่ด้านล่างเหนือพื้นห้องไม่เกิน 1 ฟุต 
  6. ใช้บันไดหนีไฟในการหนีจะปลอดภัยที่สุด
  7. หากจำเป็นต้องหนี ฝ่าควันไฟออกไป ให้หมอบคลานใกล้พื้น ห้ามวิ่งออกไป เพราะอาจสำลักควันและขาดอากาศหายใจได้และควรหาถุงพลาสติกครอบเอาอากาศบริสุทธิ์ครอบศีรษะและคลานต่ำหรือใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกเพื่อป้องกันสำลักควัน
  8. หากอยู่ในห้อง ให้ใช้หลังมือแตะที่ลูกบิดประตูถ้ามีความร้อนสูงแสดงว่ามีเพลิงไหม้อยู่ใกล้ห้อง แต่หากลูกบิดไม่ร้อนให้ค่อยๆ บิดออกช้าๆ โดยใช้ไหล่คอยหนุนประตูไว้หากทำได้ ควรหาผ้าชุบน้ำปิดจมูกหรือผ้าห่มชุบน้ำชุ่มๆ ไว้ด้วย
  9. หากไม่สามารถออกจากอาคารได้ ให้กลับเข้าไปในห้องปิดประตู นำผ้าเปียกชุบน้ำอุดตามช่องต่างๆ ที่ควันจะสามารถเข้าไปได้ เปิดหน้าต่าง และส่งสัญญาณหรือตะโกนขอความช่วยเหลือ หรือโทรศัพท์แจ้งพนักงานดับเพลิงมาช่วย
  10. อย่าใช้ลิฟต์และบันไดเลื่อนขณะเกิดเพลิงไหม้ให้ใช้บันไดหนีไฟเท่านั้น
  11. ไม่ควรหนีไปอยู่บริเวณที่เป็นจุดอับของอาคาร เช่น ห้องน้ำ ห้องใต้ดิน และไม่ควรหนีไฟขึ้นไปบนดาดฟ้าเพราะไฟจะลุกลามจากด้านล่างขึ้นบนรวมถึงยากต่อการเข้าช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่อีกด้วย

 เอาตัวรอดยังไง? เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ | Smile Insure

วิธีการใช้ถังดับเพลิง

  1. ดึง คือดึงสลักออกจากถังดับเพลิงซึ่งจะมีกระดูกงูล็อกอยู่ ถ้าดึงไม่ออกให้ใช้การบิดเเล้วค่อยดึงสลักก็จะหลุดออกมา
  2. ปลด คือการปลดสายฉีดของถังดับเพลิงออก โดยจับบริเวณปลายสายฉีดแล้วดึงออกมาจะออกง่ายกว่าการจับบริเวณโคนสาย
  3. กด คือการกดคันบีบของถังดับเพลิงเพื่อให้เคมีในถังออกมาสามารถใช้ดับเพลิงได้
  4. ส่าย คือการส่ายปลายสายฉีดไป-มาเพื่อดับเพลิง ควรฉีดไปยังฐานของเพลิงหรือต้นเพลิง ไม่ควรฉีดไปบริเวณเปลวเพลิง

ภัยที่เคยคิดว่าไกลตัว อาจจะใกล้ตัวเพียงนิดเดียว SMILE INSURE หวังว่าข้อมูลด้านบนจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย เพราะเราไม่รู้ว่าภัยร้ายจะเกิดหรือเมื่อไหร่ การทราบถึงแนวทางการป้องกันเมื่อเกิดเหตุจึงสำคัญเช่นกัน 

ให้คุณได้อุ่นใจมากขึ้นด้วยประกันอัคคีภัย หรือประกันสุขภาพ ที่จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าในทุกภัยที่คุณเจอจะไม่โดดเดียว หากสนใจประกันอัคคีภัย หรือประกันสุขภาพ คลิกเลย!


ขอบคุณข้อมูลจาก:

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ