เรื่อง เคลม เคลม ที่มากับฝน
เรื่อง เคลม เคลม ที่มากับฝน
เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนกันแล้ว ฝนตกหนัก จนมีข่าวน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากในหลายๆ จังหวัด ปัญหาที่เจ้าของรถทั้งหลายกำลังกังวลอยู่ในทุกๆ หน้าฝนก็คงไม่พ้นเรื่อง น้ำท่วม น้ำขัง น้ำเข้ารถ ปัญหาที่ผู้ใช้รถทุกท่านควรระวังเป็นอย่างมาก
บางจังหวัดถึงขั้นมีประกาศให้ระวังภัยพายุเข้ามาติดต่อกันหลายวัน จนเกิดน้ำท่วมขังบนท้องถนน หรือรุนแรงไปจนเกิดน้ำหลากเข้าไปถึงบ้าน จนทำให้ตัวรถเสียหาย แล้วถ้าเจอกับปัญหาแบบนี้ล่ะ จะทำยังไง วันนี้รวบรวมเรื่องเคลมที่มากับฝน มาฝากกันค่ะ
อุบัติเหตุ
หากเกิดอุบัติเหตุในช่วงหน้าฝนนี้ ไม่ว่าเราเป็นฝ่ายผิด หรือเป็นฝ่ายถูก ประกันรถยนต์ ก็จะให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ ไม่จำเป็นเลยว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นในหน้าฝน หรือหน้าร้อน จะเป็นฤดูไหนก็คุ้มครอง เคลมค่าเสียหายต่างๆ ตามวงเงินที่ระบุ ซึ่งอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้หลายกรณี ทั้งอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด และ ความผิดปกติของอะไหล่รถ
อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด หรือเหนือความคาดหมายนี้ เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่อุบัติเหตุที่เกิดจากความผิดปกติจากอะไหล่รถ เราสามารถเช็กและตรวจสอบ จะมีอะไหล่ชนิดไหนที่ต้องตรวจสอบหลักๆ บ้างไปดูกันเลย
1. ลมยางรถยนต์หรือสภาพของยางรถยนต์
ความลึกของดอกยางเหมาะสมจะทำให้การรีดน้ำออกจากถนนได้ดีกว่ายางที่ดอกยางสึก ทำให้ปลอดภัยกว่าในช่วงหน้าฝน ส่วนการเติมลมยางให้พอดีก็จะส่งผลเรื่องการเกาะถนนด้วย เพราะงั้นหน้าฝนต้องหมั่นตรวจสภาพของยางรถยนต์ก่อนการขับขี่ ถ้าเจอปัญหาหนักๆ ลองทำเรื่องเคลมยางก็ได้
2. ปัญหาเบรค
ระบบผ้าเบรกกับหน้าฝนเป็นของคู่กัน ต้องหมั่นเช็คว่าผ้าเบรคสึกเกินไปแล้วหรือยัง? สังเกตง่ายๆ ตอนเหยียบเบรก มันจมลึกกว่าปกติหรือเปล่า สังเกตตอนที่เราเบรกว่ารถมีการดึงที่ล้อหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งหรือไม่ มีเสียงดังหรืออาการแปลกๆ หรือไม่ถ้ามีก็ไปเข้าศูนย์ให้เรียบร้อย
3. ใบปัดน้ำฝน
อุปกรณ์สำคัญที่จำเป็ยต้องพร้อมใช้งานในช่วงหน้าฝน การตรวจสภาพของใบปัดน้ำฝนควรทำขณะกระจกเปียกดูว่าไม่เกิดเสียงดังหรือไม่ เช็คว่าปัดแล้วไม่เกิดคราบน้ำบนกระจก ถ้าเริ่มมีรอยบนกระจก เริ่มมีเสียงดัง น่าจะเกิดจากใบปัดน้ำฝนเสื่อมสภาพ ยางเริ่มแข็งตัว หรือเกิดจากความฝืดของยางใบปัดน้ำฝนกับน้ำยาที่เคลือบกระจกไว้ ส่วนการดูแลใบปัดน้ำฝนก็ง่ายๆ ครับแค่ใช้ผ้านุ่มชุบน้ำบิดให้หมาดแล้วเช็ดไปตามความยาวของใบปัดน้ำฝน ส่วนการยกก้านปัดน้ำฝนขึ้นที่อาจจะเคยเห็นใครหลายๆ คนทำกัน เอาจริงๆ แล้ววิธีนี้ไม่ไช่วยรักษาสภาพยางปัดน้ำฝนเลย แต่ยิ่งทำให้สปริงของก้านปัดน้ำฝนเสื่อมเร็วขึ้นด้วยซ้ำ
อีกปัญหายอดฮิตที่จะต้องเจอก็คือ น้ำเข้ารถ ?
อันดับแรกต้องมาทำความเข้าใจว่า น้ำเข้ารถ เข้าในกรณีไหน สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายกรณี และน้ำไหลทะลักเข้ามาในรถประกันภัยรถยนต์จะให้ความคุ้มครองที่ต่างกัน เช่น
- เกิดน้ำท่วมจากภัยพิบัติธรรมชาติ จอดรถเอาไว้ในบ้านอยู่ดีๆ ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน เกิดน้ำท่วม น้ำหลาก ย้ายรถหนีไม่ทัน รถถูกน้ำเข้าเสียหายเป็นบางส่วน น กรณีนี้ประกันภัยรถยนต์รับเคลม แต่ถ้ารถถูกน้ำเข้าจนเสียหายหนักและทางบริษัทประกันประเมินว่าไม่คุ้มที่จะซ่อมให้กลับมาในสภาพเดิม จะจ่ายเงิน 70-80% ของทุนประกัน
- กรณีขับรถไปเจอน้ำท่วมขังบนถนน เลยตัดสินใจขับรถลุยน้ำ จนน้ำเข้าห้องเครื่อง ทำระบบไฟฟ้าเสียหาย เครื่องยนต์ดับ หรือระดับน้ำสูงจนเข้ามาในห้องโดยสาร เกิดความเสียหาย กรณีแบบนี้ประกันภัยรถยนต์อาจจะไม่รับเคลม หรือประกันภัยรถยนต์ประเภทที่ 1 ช่วยค่าเสียหายบางส่วน (แล้วแต่กรณีไป) เนื่องจากประกันจะให้เหตุผลว่าคุณขับรถโดยประมาท เลือกขับรถไปลุยน้ำเองจนรถพังทำให้ไม่สามารถเคลมได้นั่นเอง
- กรณีรถติดบนถนนขณะที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วม ขับรถออกไปข้างนอก แล้วเกิดรถติดอยู่บนถนนเส้นหนึ่งเป็นเวลานาน ฝนก็ยังคงตกหนักอย่างต่อเนื่อง ไม่มีท่าทีว่าจะหยุด จนเกิดน้ำท่วมสูงขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้รถได้รับความเสียหาย
แล้วถ้าจำเป็นต้องขับรถลุยน้ำท่วมต้องทำยังไง วันนี้เรามีทริคเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกันค่ะ
- หากเจอเส้นทางฝนตก เริ่มมีน้ำขัง แล้วจำเป็นต้องใช้เส้นทางนี้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนลุยน้ำให้ปิดแอร์รถทันที เพื่อป้องกันใบพัดแอร์กระจายน้ำไปทั่วห้องเครื่อง
- ขับช้าๆ ใช้เกียร์ต่ำ เดินคันเร่งสม่ำเสมอ ห้ามเบิ้ลเครื่องยนต์
- เมื่อถึงจุดหมายไม่ควรดับเครื่องยนต์ทันทีเพราะอาจมีน้ำตกค้างที่หม้อพักท่อไอเสีย ติดเครื่องไว้ก่อนให้ไอน้ำระเหยออกให้หมดแล้วจึงค่อยดับเครื่องยนต์
หน้าฝนแบบนี้ นอกจากดูแลรถยนต์เครื่องยนต์และปัญหาต่างๆ แล้ว ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพของตัวเองกันด้วยนะคะ