บทความ | สาระประกันภัย

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ?

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ?
03/04/2023  สาระประกันภัย

การมีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์หนึ่งคัน มาพร้อมความรับผิดชอบที่ต้องทำหลายอย่าง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “การต่อภาษีรถ” ที่ต้องทำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง และมีความสำคัญไม่แพ้การทำประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และประกันภาคสมัครใจเลย


เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE


อย่างไรก็ตาม การต่อภาษีแค่ปีละ 1 ครั้ง อาจทำให้ใครหลายคนหลงลืมขั้นตอนกันไปแล้ว หรือกับคนเพิ่งเคยมีรถ ก็อาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าต้องทำอะไรบ้าง? วันนี้เราเลยจะพามาทบทวนกันว่า การต่อภาษีรถยนต์และการต่อภาษีรถจักรยานยนต์นั้นมีขั้นตอนอย่างไร? และมีอะไรที่ทุกคนควรรู้ก่อนต่อภาษีปี 66 บ้าง?

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE


ความสำคัญของการต่อภาษี

การต่อภาษีรถยนต์และการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ เป็นสิ่งที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ทุกคนที่มีรถต้องทำทุกปี เพื่อให้รถสามารถใช้งานต่อไปได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเงินค่าภาษีนั้น จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาระบบขนส่งทางถนน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถภายในประเทศ

ทั้งนี้ ถ้าใช้รถไม่ต่อภาษี จะมีโทษปรับ 2,000 บาท (ไม่รวมค่าปรับกรณีต่อภาษีล่าช้า)

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE


ข้อควรรู้ก่อนต่อภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์

ก่อนที่จะไปต่อภาษีปี 66 กัน เจ้าของรถควรรู้ก่อนว่าการต่อภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีข้อกำหนดอย่างไร เพื่อที่จะได้เตรียมตัวได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และไม่พลาดในจุดสำคัญบางอย่าง

1. การต่อภาษีรถยนต์และการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ทำล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือ 90 วันก่อนที่ภาษีเดิมจะหมดอายุ โดยดูได้จากที่ระบุบนป้ายภาษีรถ หรือเช็กที่ https://eservice.dlt.go.th/

2. ถ้าต่อภาษีรถล่าช้าไม่เกิน 3 ปี จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน

3. ถ้าขาดการต่อภาษีรถนานเกิน 3 ปีขึ้นไป ทะเบียนรถจะถูกระงับ หากนำรถไปใช้จะมีความผิดตามกฎหมาย ต้องนำรถมาตรวจสภาพและยื่นขอจดทะเบียนใหม่

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE


4. รถยนต์ส่วนบุคคลอายุ 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์อายุ 5 ปีขึ้นไป ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนต่อภาษีเสมอ เพื่อให้กรมการขนส่งมั่นใจว่ารถของคุณมีสภาพพร้อมใช้งานจริงๆ โดยการนับอายุการใช้งานของรถ ให้นับอายุทางทะเบียน คือ นับตั้งแต่วันแรกที่จดทะเบียน จนถึงวันสิ้นสุดอายุภาษีประจำปีนั้น

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE


5. รถยนต์ติดแก๊ส ต้องมีใบรับรองการติดตั้ง ถึงจะต่อภาษีได้ และต้องต่อภาษีที่สำนักงานขนส่งจังหวัดเท่านั้น

6. ต้องใช้พ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุ ประกอบการต่อภาษีทุกครั้ง เช่น ต่อภาษีล่วงหน้า 3 เดือน พ.ร.บ. รถที่ใช้ยื่นคู่กันก็ควรจะมีระยะสิ้นสุดความคุ้มครองที่มากกว่า 3 เดือนขึ้นไป เป็นต้น ดังนั้นเพื่อความสะดวกสบาย คนส่วนใหญ่จึงนิยมทำพ.ร.บ. ใหม่ก่อนต่อภาษีรถ

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE


7. ต่อภาษีได้ที่สำนักงานขนส่งทางบกทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่จังหวัดตามที่ระบุในทะเบียนรถ หรือต่อผ่านช่องทางอื่นๆ ได้อีกมากมาย ตามความสะดวก

8. เมื่อต่อภาษีแล้ว จะได้รับสติกเกอร์สี่เหลี่ยม หรือที่เรียกกันติดปากว่าป้ายวงกลม มาใช้ติดรถ ซึ่งถ้าไม่ติดป้ายไว้ในจุดที่มองเห็นได้ชัด จะโดนเรียกปรับเป็นเงิน 2,000 บาท

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE สรุปง่ายๆ ว่าการต่อภาษีรถยนต์และการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ สามารถทำล่วงหน้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ภาษีเดิมหมดอายุก่อน และทางที่ดีเจ้าของรถควรทำไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจนทำให้ต้องต่อภาษีเกินกำหนดเวลา แม้เพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็ต้องจ่ายค่าปรับแบบไม่มีข้อยกเว้น

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE


ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ปี 2566

คนที่ลืมไปแล้วว่าการต่อภาษีรถยนต์ต้องทำอะไรบ้าง? หรือคนที่เพิ่งซื้อรถใหม่ แล้วยังไม่มีประสบการณ์การต่อภาษี บอกเลยว่าขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ 2566 ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะมีเพียง 4 ขั้นตอนเท่านั้น

1. เช็ควันหมดอายุของ พ.ร.บ. ถ้าใกล้หมดอายุแล้ว ให้ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ให้เรียบร้อยก่อน

2. นำรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป เข้าตรวจสภาพรถกับตรอ. ก่อนต่อภาษี

3. เตรียมเอกสารให้พร้อม ได้แก่

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ใช้ได้ทั้งตัวจริงและสำเนา
  • พ.ร.บ. รถยนต์
  • หนังสือรับรองการตรวจตรอ. (เฉพาะรถที่เข้าเกณฑ์)

4. เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้ว ให้นำเอกสารทั้งหมดทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์ตามช่องทางต่างๆ ที่สะดวกได้เลย

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE


ขั้นตอนการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ปี 2566

ส่วนขั้นตอนการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 2566 ก็ทำได้ง่ายๆ ใน 4 ขั้นตอนเช่นกัน คือ

1. เช็กวันหมดอายุของพ.ร.บ. ก่อน ถ้าใกล้หมดอายุแล้ว ให้ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ใหม่

2. นำรถจักรยานยนต์อายุ 5 ปีขึ้นไป เข้าตรวจสภาพรถกับ ตรอ. ก่อนต่อภาษี

3. เตรียมเอกสารให้พร้อม ได้แก่

  • ตัวจริงหรือสำเนาสมุดคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์
  • พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์
  • หนังสือรับรองการตรวจ ตรอ. (เฉพาะรถที่เข้าเกณฑ์)

4. นำเอกสารทั้งหมดทำเรื่องต่อภาษีรถจักรยานยนต์ทางช่องทางต่างๆ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE


ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษี

สำหรับค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ (ซีซี) ของรถ ซึ่งมีเกณฑ์ที่ค่อนข้างละเอียด เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ความจุไม่เกิน 600 ซีซี คิดภาษี 0.50 บาทต่อซีซี รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ความจุ 601-1,800 ซีซี คิดภาษี 1.50 บาทต่อซีซี รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล 76-125 ซีซี คิดภาษีปีละ 323.14 บาท เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อความถูกต้องและแม่นยำ สามารถเข้าไปตรวจเช็คค่าภาษีด้วยตัวเองได้ที่ กรมการขนส่งทางบก

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE


แนะนำช่องทางการต่อภาษี

ปัจจุบัน กรมการขนส่งทางบกได้ขยายบริการต่อภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไปในหลายช่องทาง มีทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าของรถ ต่อภาษีได้รวดเร็วมากขึ้น ได้แก่

1. สำนักงานขนส่งทุกสาขาทั่วประเทศ

2. บริการเลื่อนล้อ ต่อภาษี (Drive Thru for Tax)

3. ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)

4. ที่ทำการไปรษณีย์

5. คาน์เตอร์เซอร์วิส (ต่อได้เฉพาะรถยนต์ที่อายุไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่อายุไม่เกิน 5 ปี)

6. ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมโครงการช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)

7. ธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมโครงการกับกรมการขนส่งทางบก

8. เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th

9. แอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax

10. แอปพลิเคชั่น mPay และ True Money Wallet

หมายเหตุ: ค่าบริการในแต่ละช่องทางอาจแตกต่างกัน ควรสอบถามข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกช่องทางการต่อภาษี

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE


“ต่อภาษีออนไลน์” ความสะดวกสบายในยุคนี้

หนึ่งในช่องทางการต่อภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่อยากแนะนำทุกคน โดยเฉพาะกับคนที่ไม่มีเวลา หรือไม่สะดวกเดินทางไปต่อภาษีที่สำนักงานขนส่งด้วยตัวเอง คือ การต่อภาษีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก เพราะจะช่วยให้คุณต่อภาษีรถได้ครบทุกขั้นตอนในที่เดียว เพียงทำตามขั้นตอนเหล่านี้

1. เปิดเว็บไซต์ กรมการขนส่งทางบก             

2. ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (สำหรับสมาชิกใหม่) และ Log-in เข้าสู่ระบบ            

3. คลิก “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”  

4. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เพื่อลงทะเบียน และยื่นชำระภาษี

5. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับพ.ร.บ.

6. เลือกช่องทางการชำระเงินเพียง 1 ช่องทาง คือ

  • ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกับธนาคาร) หรือ
  • ชำระเงินโดยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA หรือ MASTERCARD หรือ
  • ชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ตู้เอทีเอ็ม แอปพลิเคชั่นธนาคาร

เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE


7. รอรับใบเสร็จรับเงินและป้ายภาษีทางไปรษณีย์ ภายใน 5 วันทำการ โดยตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี การจัดส่งเอกสาร และหมายเลข EMS ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” ในเว็บไซต์

8. เจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศในภายหลังได้

หมายเหตุ: รถที่ต่อภาษีทางเว็บไซต์ได้ ต้องไม่ใช่รถที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง และไม่ใช่รถที่ถูกอายัดทะเบียน เพราะขาดการต่อภาษีนานเกิน 3 ปี หรือทำผิดกฎหมายทางใดทางหนึ่ง       

 เปิดขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ปี66 มีอะไรที่ควรรู้ก่อนต่อ? | SMILE INSURE


เห็นแล้วใช่ไหมว่าขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ดังนั้นปี 66 นี้ก็อย่าลืมไปต่อภาษีกันนะ เพื่อให้รถคู่ใจของคุณเป็นรถที่ใช้งานได้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าใครที่จะต่อภาษีแล้วยังไม่มีพ.ร.บ. หรือพ.ร.บ. ใกล้หมดอายุ มาต่อพ.ร.บ. รถกับ SMILE INSURE  ได้เลยวันนี้ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ