บทความ | สาระน่ารู้อื่นๆ

เช็กยางรถยนต์ ก่อนลุยถนนเปียก

เช็กยางรถยนต์ ก่อนลุยถนนเปียก
16/11/2020  สาระน่ารู้อื่นๆ

เช็กยางรถยนต์ ก่อนลุยถนนเปียก

เมื่อเข้าสู่หน้าฝน แน่นอนที่สุด อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นต้นเหตุจากการขับขี่ หรือต้นเหตุจากรถเอง สิ่งที่น่าห่วงคือ การขับขี่ด้วยวิสัยทัศน์ในการมองเห็นลดลงและสภาพถนนที่เพิ่มความยากลำบากในการขับขี่ มีแอ่งน้ำและโคลนทำให้ถนนลื่น เมื่อพูดถึงเรื่องความปลอดภัย ยางเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในรถของคุณ!

เช็กยางรถยนต์ ก่อนลุยถนนเปียก | Smile Insure

ยาง เป็นเส้นตรงใช้งานได้ทั้งบนพื้นถนนที่แห้งเเละเปียก มีคุณสมบัติในการเกาะถนน ส่วนยางที่ออกแบบไว้สำหรับรีดน้ำโดยเฉพาะก็จะมีลักษณะของลวดลายร่องยางเป็นแฉกเป็นริ้วบริเวณดอกยาง สามารถรีดน้ำออกจากยางขณะขับขี่บนถนนเปียกที่ 10-15 ลิตร/วินาที 

การเลือกใช้ยางรีดน้ำจึงเป็นอีกทางเลือกที่มีความน่าสนใจของคนที่ใช้รถเป็นประจำ ต้องออกเดินทางบ่อยๆ ควรเลือกยางที่มีขอบความสูงประมาณ 55 – 65% ของหน้ายางเพราะจะทำให้การหยุ่นตัว การทรงตัวของรถดีขึ้น ส่วนใหญ่เเล้วรถยนต์ที่ต้องใช้จะเป็นรถบรรทุกหรือรถปิ๊กอัพที่มักเจอปัญหาในการทรงตัว เนื่องจากเป็นรถที่ใช้เเก้มยางสูงทำให้ประสิทธภาพในการเกาะถนนลดลง


สิ่งที่ต้องเช็กและดูแล เพื่อให้ยางพร้อมลุยถนนเปียก มีอะไรบ้าง?

เช็กยางรถยนต์ ก่อนลุยถนนเปียก | Smile Insure

อายุยางรถยนต์ 

โดยทั่วไปแล้ว จะต้องเปลี่ยนยาง เมื่อถูกใช้งานไปแล้ว 4-5 ปี หรือประมาณ 50,000 - 80,000 กิโลเมตรขึ้นไป แต่ถ้ารถไม่ค่อยได้ใช้งานหรือวิ่งระยะไกล ดอกยางยังแน่นและไม่มีการสึกหรอ ก็สามารถใช้ยางต่อไปได้ แต่ก็ต้องคอยเช็กอยู่บ่อยๆ นะคะ

เช็กยางรถยนต์ ก่อนลุยถนนเปียก | Smile Insure

สภาพของดอกยาง

ควรตรวจเช็กดอกยาง ที่อาจเสื่อมสภาพ วิธีสังเกตได้ง่ายๆ ก็คือ ความลึกของดอกยางเมื่อเทียบกับสะพานยาง ยางจะมีตัวบอกการสึกของหน้ายางซึ่งหล่อเข้ากับพื้นของร่องยางหลัก 

เมื่อพื้นผิวดอกยางสึกหรอไปถึงระดับเดียวกับตัวบอกการสึก แสดงว่ายางอยู่ในระดับต่ำสุดที่กฎหมายกำหนดและควรเปลี่ยนใหม่ ซึ่งหากเหลือความลึกจากสะพานยางเพียง 1.6 มิลลิเมตร นั่นหมายถึงคุณควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่ทันที! เพราะดอกยางจะช่วยยึดเกาะถนนและรีดน้ำออกไปจากหน้ายางได้

เช็กยางรถยนต์ ก่อนลุยถนนเปียก | Smile Insure

ลมยาง 

ควรเช็กเดือนละ 1 ครั้ง และในช่วงหน้าฝนที่ต้องลุยถนนเปียก ควรเติมลมยางเผื่อไว้อีก 1-2 ปอนด์ เพื่อให้ยางแข็งและรีดน้ำได้ดี แต่อย่าลืมเช็กลมขณะที่ยางเย็นเท่านั้น เช็กยางหลักแล้วก็อย่าลืมลตรวจเช็กยางอะไหล่ด้วย ถึงว่าแม้จะไม่ได้ใช้งานก็ตามแต่ถ้าถึงเวลาจำเป็นที่จะต้องใช้งานก็สามารถนำยางอะไหล่มาใช้งานแทนล้อได้ทันทีในยามฉุกเฉิน 

อย่าเติมให้ลมน้อยเกินไปหรือมากเกินไป เพราะทำให้ยางสึกหรอได้เร็วกว่าที่คาดไว้ ทำให้การยึดเกาะถนนลดลง และสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นด้วย ใช้เวลาเช็กเพียงไม่กี่นาทีแต่ทำให้คุณปลอดภัยทุกการเดินทาง หรือถ้าใครไม่สะดวกเช็กเอง ตามปั๊มก็มีบริการขององค์กรต่างๆ เช่น ร้านเปลี่ยนยาง ร้านขายยางต่างๆ ให้ความสะดวกอยู่เยอะมาก นอกจากจะเดินทางปลอดภัยแล้วยังช่วยยืดอายุการใช้งานของยางได้ด้วย 

ที่สำคัญ SMILE INSURE อยากบอกเพื่อนๆ อีกว่า อย่าบรรทุกของหนักเกินความสามารถในการรับน้ำหนักของรถตัวเอง เพราะนอกจากจะเป็นการทำร้ายยางในระยะยาวแล้ว ยางที่รับน้ำหนักเกินน้ำหนักบรรทุกสูงสุดอาจเกิดความร้อนสูงเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้ยางระเบิดหรือเสียหายทันทีได้

เช็กยางรถยนต์ ก่อนลุยถนนเปียก | Smile Insure

สลับยาง

ทุกๆ 1 หมื่นกิโลเมตร ยางรถยนต์ที่ถูกใช้งาน โดยเฉพาะผู้ที่ขับทางไกลและใช้ความเร็วสูงแต่ละข้างจะมีการสึกหรอไม่เท่ากัน เมื่อครบ 10,000 ก.ม. แนะนำให้ยางล้อคู่หน้าสลับกับยางล้อคู่หลัง เพื่อให้ดอกยางของทุกล้อสึกหรอเท่าเทียมกัน  เนื่องจากตำแหน่งของยางบนรถมีผลต่อการสึกหรอ การสลับยางเป็นประจำจะช่วยให้ยางสึกอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งช่วยยืดอายุของยางและเพิ่มสมรรถนะในการควบคุมรถได้ 

ร่องยางที่ตื้น ดอกยางหมด จะทำให้ยางนั้นรีดน้ำได้น้อยลงและลื่นเมื่อเจอสภาพถนนที่เปียกหรือฝนตก เพราะร่องยางนั้นมีไว้เพื่อรีดน้ำ โดยหากมีร่องยางที่ตื้นน้ำที่แทรกอยู่ระหว่างหน้ายางกับพื้นถนน จะทำให้ผิวสัมผัสหน้ายางกับพื้นถนนลดลง เมื่อเราขับผ่านแอ่งน้ำหรือเบรคในที่น้ำขังทำให้มีโอกาสสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ

เช็กยางรถยนต์ ก่อนลุยถนนเปียก | Smile Insure

ยิ่งขับขี่รถด้วยความเร็วสูงเป็นประจำอยู่แล้ว อาจทำให้ยางเสียหายได้จากอันตรายบนพื้นถนนหรือเกิดความร้อนได้มากขึ้น ความเร็วสูงอาจทำให้ลมรั่วออกอย่างรวดเร็วหรือแม้กระทั่งเกิดยางระเบิดอย่างฉับพลัน ซึ่งอาจทำให้สูญเสียการควบคุมรถได้ นี่คือเหตุผลที่ควรเช็กยางทุกครั้งที่ครบกำหนดระยะ หรือจะเดินทางไกลๆ เพราะเบรคจะหยุดล้อ ไม่ได้หยุดรถของคุณ ยางต่างหากที่หยุดรถของคุณ..

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ