3 วิธียืดอายุยางรถยนต์ที่คุณรัก
3 วิธียืดอายุยางรถยนต์ที่คุณรัก
ขับรถทุกวัน ใช้รถตลอด เคยสังเกตยางของรถตัวเองกันบ้างหรือป่าว? สึกหรอ หรือยัง? หน้ายางยังมีดอกให้ยึดเกาะถนนหรือป่าว? บางท่านอาจจะไม่เคยได้สังเกตและดูแลรักษา วันนี้จะมาบอกต่อ 3 เคล็ดลับดีๆ กับวิธียืดอายุยางรถยนต์ที่คุณรัก
1. เช็คปริมาณลมยางที่เหมาะสม
รถแต่ละรุ่นก็จะมีสติ๊กเกอร์ทิ่ติดตรงกรอบประตูฝั่งคนขับ จะบอกตัวเลขขนาดยาง จำนวนคนนั่ง ความเร็วที่ใช้ และ อัตราเติมลมยาง ล้อหน้า และ ล้อหลังไว้ด้วย ว่าเราควรเติมลมยางเท่าไหร่ ยางหน้าเท่าไหร่ ยางหลังเท่าไหร่ ซึ่งปริมาณลมยางที่เหมาะสมนอกจากเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถ อัตราการวัดลมยาง อาจจะเคยได้ยินบ่อยๆ ว่า ปอนด์ “ปอนด์” ก็คือ อัตราวัดลมยางที่นิยมใช้กัน คือ psi หรือ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
- รถเก๋งทั่วไปสำหรับการใช้งานปกติ ล้อหน้าและล้อหลังควรมีแรงดันลมยางอยู่ที่ 30-32 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แต่หากต้องบรรทุกผู้โดยสารเต็มอัตรา 5 ที่นั่ง พร้อมสัมภาระท้ายรถ ควรเพิ่มแรงดันล้อหน้าเป็น 33-35 PSI และล้อหลังควรเพิ่มเป็น 37-39 PSI เพื่อรับกับน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มขึ้นมาด้วย
- รถกระบะต้องเติมลมยางมากกว่ารถเก๋งปกติทั่วไป ถ้าไม่ได้บรรทุกควรมีแรงดันอยู่ที่ 36-38 PSI และล้อหลังอยู่ที่ 40-42 PSI หากมีน้ำหนักบรรทุกด้านท้ายควรเพิ่มลมยางล้อหลังขึ้นเป็น 49-51 PSI เพื่อป้องกันรถยางระเบิดหากเราขับด้วยความเร็วสูง และไม่ควรเติมลมยาง ในขณะที่ยางมีอุณหภูมิสูง เนื่องจากความร้อนทำให้อากาศขยายตัว
ถ้าเราเติมลมยางอ่อนเกินไป หรือยางอ่อนสามารถสังเกตรถได้ง่ายๆ ก็คือ รถจะเร่งแล้วจะหนืด อัตราเร่งไม่ดี เพราะยางจะย้วยจึงหมุนยาก แต่รู้สึกว่าเกาะถนนเพราะมีหน้าสัมผัสเต็มที่
แต่ถ้าเราเติมลมยางมากไป ยางจะหมุนง่าย เพราะหน้ายางและแก้มยางมีความตึง แต่จะลดการเกาะถนนลงไป เพราะหน้าสัมผัสมีแรงกดเต็มที่แนวกลางเท่านั้น และกระด้าง เด้งๆ
ถ้าเติมลมยางเหมาะสม นอกจากจะช่วยดูแลยางรถยนต์ของคุณแล้ว ยังช่วยรับน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุก ลดแรงกระแทก และ การสั่นสะเทือนจากพื้นถนน ทำให้ปลอดภัย และ ช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำมัน
2. สังเกตอาการของยาง
ยางเริ่มเส้นแตกๆ ปัญหานี้ต้องเริ่มเช็คจากวันที่ของยาง และการใช้งาน ยางปีไหน มีอายุได้กี่ปี หรือถ้าเพิ่งเปลี่ยนยางยังไม่ถึงอายุการใช้งาน ส่วนใหญ่จะใช้ 2-3 ปี เราต้องมาดูกันที่สาเหตุอื่นๆ เช่น ความร้อนจากการจอดรถตากแดดเป็นระยะเวลานานๆ ทุกวัน หรือบรรทุกน้ำหนักเกินกำหนด ทำให้ขอบยางรับน้ำหนักมากเกินจนถูกบดทับทำให้เกิดรอยแตกได้
- แก้มยางฉีกขาด กรณีนี้ถือว่าร้ายแรงมาก เพราะเป็นส่วนที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ตามมา โดยมากสาเหตุหลักมักเกิดจากการถูกของมีคมเข้าที่แก้มยาง ซึ่งอาจเกิดจากการขับรถไปเบียดกับเหล็กหรือขอบถนน หรือขอบฟุตบาท
- แก้มยางบวม จากการไปเบียดกับฟุตปาดหรือตกกระแทกหลุมอย่างรุนแรง จนทำให้ขอบยางเสียหายบวมปูดจนเห็นได้ชัด ซึ่งหากขับต่อไป จะมีความเสี่ยงต่อการระเบิดของยางได้
- ดอกยางหมดหรือหมดสภาพ ควรคำนวณจากระยะทางและการใช้งานเป็นหลัก หากใช้รถบ่อยๆ หรือวิ่งทางไกลมากๆ แล้วพบว่ายางสึกถือว่าปกติ แต่หากพบว่ายางสึกเร็วกว่าระยะทางที่ควรจะเป็นอาจเกิดจาก ระบบช่วงล่างของรถ เช่น ค่ามุมล้อที่ผิดไป ต้องไปเช็คที่ศูนย์
3. สลับยาง
การสลับยางทุกๆ 10,000 กิโลเมตร หรือทุกครั้งที่เปลี่ยนนํ้ามันเครื่อง จะช่วยให้ดอกยางของล้อแต่ละเส้นสึกเท่าๆ กัน (ส่วนตำแหน่งการสลับนั้นขึ้นอยู่กับรุ่นของยาง และชนิดของรถ) และพยายามไม่บรรทุกของหนักเกินกว่าที่ยางรุ่นนั้นๆ จะสามารถรับนํ้าหนักได้ เพราะการบบรรทุกของหนักบ่อยๆ ยังส่งผลเสียไปถึงการตั้งศูนย์ล้อด้วย ซึ่งก็จะตามไปด้วยระบบบังคับเลี้ยว ระบบช่วงล่างล้อ และยาง ซึ่งทำงานสัมพันธ์กัน ช่วยให้รถวิ่งได้ตรง ไม่ดึงไปทางซ้ายหรือขวา สังเกตได้ง่ายๆ ก็คือ ถ้าขับรถทางตรง เกิดรอยล้อด้านหน้ากับด้านหลังรถไม่ตรงกัน นั่นหมายถึงการทำงานของล้อไม่ปกติ ถ้าฝืนขับต่อไปจะทำให้ยางหมดสภาพเร็วขึ้นและการควบคุมรถก็ยากขึ้นตามไปด้วย