เอ๊ะ! รถชนต่อกัน 5 คัน ใครผิด?
เอ๊ะ! รถชนต่อกัน 5 คัน ใครผิด?
เมื่อเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง เราอาจจะมีคู่กรณีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีคู่กรณีแล้วไม่ได้มีแค่คนเดียวละทีนี้จะทำยังไง วันนี้ Smile Insure จะไขข้อข้องใจเมื่อเกิดเหตุรถชนท้ายหลายคันติดกัน คันสุดท้ายจะต้องรับผิดชอบจริงไหม เราไปหาคำตอบพร้อมกันเลยค่ะ
หากอ้างถึง พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา ๔๐ ที่ระบุไว้ว่า ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัยในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถขึ้นสะพานหรือทางลาดชันต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถถอยหลังไปโดนรถคันอื่น
จาก พ.ร.บ. จราจรทางบกข้างต้นจึงสรุปได้ว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น จึงต้องมีการสอบสวนและพิจารณากันก่อนว่าใครเป็นฝ่ายผิด ไม่ว่าจะเป็นพยานในเหตุการณ์ หรือกล้องวงจรปิด หรือแนวการชนเป็นอย่างไร ?
ถ้าเราเป็นคันที่ 1
เราจะมีความผิดก็ต่อเมื่อ หยุดรถกะทันหัน เพราะเผลอหลับ ทะเลาะกับแฟน หรือก้มเก็บของจนทำให้รถคันที่ 2,3,4,5 ขับมาชนซ้อนกัน เราต้องรับผิดชอบค่าเสียหายรถคันที่ 2,3,4,5 แต่ถ้าเราหยุดรถกะทันหัน เพราะมีรถขับตัดหน้า คันที่ต้องรับผิดชอบคือรถที่ขับตัดหน้าเรา เพราะเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุครั้งนี้
ถ้าเราเป็นคันที่ 2
เราไปชนคันที่ 1 จนทำให้คันที่ 3,4,5 ขับมาชน เราต้องชดใช้ รถคันที่ 1,3,4,5 ค่ะ และถ้าเราเป็นคันสุดท้ายจะต้องรับผิดชอบจริงไหม ? ไม่เสมอไปค่ะ ต้องสอบสวนและพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ถ้าเราเป็นคันที่ 4
ถ้าคันที่ 4 ชนรถคันที่ 1,2,3 ที่ขับเรียงกันมา จนทำให้รถคันที่ 5 ขับมาชนซ้อน คันที่ 4 ต้องรับผิดชอบ คันที่ 5 ไม่ต้องรับผิดชอบค่ะ แต่เดี๋ยวก่อน!
ถ้าเราเป็นคันที่ 5
หากรถคันที่ 1,2,3,4 จอดหรือขับเรียงกันอย่างปกติ คันที่ 5 ขับมาชนจนทำให้เกิดการชนซ้อนเป็นทอดๆ แน่นอนค่ะ คันที่ 5 ต้องรับผิดชอบรถทุกคัน
สถิติการเกิดอุบัติเหตุทั่วประเทศ
เผยสถิติการเกิดอุบัติเหตุ ตั้งแต่ปี 2557-2562 ดังนี้
จากภาพดังกล่าวจะเปรียบเทียบกับสถิติ 5 ปี จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตต่อประชากรเป็นจำนวนมาก แต่สามารถแก้ปัญหาได้
โดยการบังคับใช้กฎหมายจราจร การจัดการระบบขนส่งเพื่อช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุอย่างเห็นได้ชัดเจนขึ้น
สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
- เมาแล้วขับ ผู้ที่มีระดับแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัม จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 – 20,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลสามารถสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือ เพิกถอนใบขับขี่ และศาลสามารถยึดรถได้ไม่เกิน 7 วัน
- หลับใน เป็นการหลับในระยะเวลาสั้นๆ เพียงชั่ววูบเดียว เป็นภาวะที่ร่างกายมีการทำงานลดลง หรือช้าลง ควรนอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ 7-9 ชั่วโมง อย่างน้อย 2 คืนก่อนวันเดินทาง ไม่ควรกินยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
- ขับรถด้วยความเร็ว เกินกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
- ไม่ชำนาญเส้นทาง ต้องระมัดระวังให้มากขึ้น เพราะเราไม่รู้ได้เลยว่าถนนด้านหน้าเป็นอย่างไรบ้าง มีหลุมมีบ่อบนถนนมากน้อยเพียงใด ควรขับรถให้ช้าๆ ไม่ต้องเร่งรีบ ถึงแม้ถนนจะโล่งและมีแสงไฟฟ้าตลอดทางก็ตาม ไม่ประมาท ยิ่งถ้าไม่มีไฟระหว่างทางด้วยแล้วจะมีความอันตราย โดยเฉพาะทางโค้งหักศอก ถ้าเราไม่ชำนาญทางเราอาจจะหักโค้งไม่ทันจนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
- ขับรถตัดหน้า การขับรถมาด้วยความเร็วสูงและหยุดกะทันหันเพื่อให้รถคันหลังจอด เพราะกลัวจะมีการชนกัน มีความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 มีความผิดฐานขับรถในลักษณะหวาดเสียวอาจเป็นอันตรายต่อผู้อื่น ตามมาตรา 43 พระราชบัญญัติจราจรทางบก มีบทลงโทษตามมาตรา 157
- ถนนลื่น ขับรถด้วยความเร็วต่ำ เมื่อเวลาฝนตกมักจะมีสิ่งสกปรกต่าง ทิ้งระยะห่าง ควรทิ้งระยะห่างจากคันหน้าให้ห่างพอสมควรไม่ควรขับใกล้ และควรเปิดไฟหน้าเพื่อช่วยเพิ่มการมองเห็นเส้นทาง ห้ามเปิดไฟฉุกเฉินในขณะฝนตกหนัก เพราะจะทำให้รถคันที่ตามมา ไม่สามารถแยกออกได้ว่ารถเกิดอุบัติเหตุหรือเสียข้างทาง
- โรคประจำตัวกำเริบ อาการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลันหรือเกิดอาการกำเริบจากโรคประจำตัวในขณะที่ขับขี่รถยนต์ นับเป็นภัยอันตรายบนท้องถนน เนื่องจากผู้ขับขี่ไม่สามารถควบคุมตัวเองและรถได้เลย
วีธีการขับขี่อย่างปลอดภัย
- ความพร้อมของผู้ขับขี่ ควรจะพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงและหลีกเลี่ยง การใช้ยาที่มีผลทำให้ง่วงนอน เช่นยาแก้แพ้ เป็นต้น
- ความพร้อมของรถ ตรวจสอบสภาพยาง ลมยาง และยางอะไหล่ ยางใบปัดน้ำฝน น้ำฉีดกระจก ผ้าเบรก ระดับน้ำในถังพักน้ำและระดับน้ำมันต่างๆ ตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้า แบตเตอรี่ ไฟหน้า ไฟเลี้ยว ไฟเบรก แตร ควรเพิ่มแรงดันลมยางจากเกณฑ์มาตรฐานเพื่อลดอุณหภูมิของยางขณะวิ่งทางไกล
- สิ่งที่ควรมีติดรถ นอกจากเครื่องมือประจำรถที่มีอยู่แล้ว เช่น สายลากจูง สายพ่วงแบตเตอรี่ ป้ายสะท้อนแสง ไฟฉาย แว่นกันแดด น้ำสะอาดเผื่อทั้งคนทั้งรถ ถังดับเพลิงของรถยนต์ ชุดปฐมพยาบาล อุปกรณ์นำทาง GPS และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อในกรณีฉุกเฉิน
- วางแผนการเดินทาง ศึกษาเส้นทางที่จะไป เลือกเส้นทางที่ปลอดภัย ถนนสายหลักจะมีจุดเสี่ยงน้อยกว่าถนนสายรองและมีเส้นทางสำรองในกรณีที่เส้นทางหลักมีปัญหา - ควรเลือกช่วงเวลาเดินทางในตอนกลางวันเพราะมีความเสี่ยงน้อยกว่าและควรเผื่อเวลาในการเดินทางให้มากพอ
- กำหนดจุดพักรถ แวะจอดพักเข้าห้องน้ำ ทานกาแฟ ผ่อนคลายอิริยาบถ ทุกๆ 200 กิโลเมตรหรือ 2 ชั่วโมง แล้วแต่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน เพื่อป้องกันความเหนื่อยล้าของคนขับและลดอุณหภูมิของยาง พร้อมตรวจสอบสภาพรถไปด้วยโดยการเดินรอบๆ รถ หาสิ่งผิดปกติ ไม่ควรดับเครื่องยนต์ในทันทีแต่ถ้าจำเป็นจะต้องดับเครื่องยนต์ควรปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบาสักพักประมาณ 5 นาที ก่อนดับเครื่องยนต์
- ในช่วงเทศกาลอาจจะมีผู้ขับบางคนที่เมาแล้วขับ เราควรจะสังเกตพฤติกรรมของรถคันอื่นที่ขับแบบผิดปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงการไปมีส่วนร่วมที่จะเกิดอุบัติเหตุ
- เตรียมความพร้อมที่ดี มีการวางแผนที่ดีในการขับรถทางไกลจะทำให้คุณไม่เสียเวลาที่ไม่จำเป็นไปกับการเดินทางและสิ่งสำคัญที่สุดคือ ถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย
จุดอับสายตาขณะขับรถ
ข้อแนะนำขับรถอย่างปลอดภัย
- วางแผนการขับขี่
- ตรวจสอบเส้นทาง
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- เว้นระยะห่างรถให้เหมาะสม
- เปิดไฟเลี้ยวทุกครั้งที่แซง
- ใช้ความเร็วตามป้ายกำหนด
- ไม่ขับขี่ขณะมึนเมา
- คาดเข็มขัดนิรภัย
- เช็คสภาพรถ
- ไม่ใช้โทรศัพท์
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกที่ และคงไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุแบบนี้ขึ้น ควรขับรถอย่างระมัดระวัง ไม่ประมาท และควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าให้พอดีเพื่อความปลอดภัยของคุณและผู้อื่นนะคะ แต่จะดีกว่าไหม ถ้ามีที่ปรึกษาประกันภัยอย่าง Smile Insure เป็นที่ปรึกษาของคุณ หากสนใจประกันดีๆ นึกถึง Smile Insure สิคะ เราพร้อมให้คำปรึกษา พร้อมโปรโมชั่นดีๆ อีกเพียบ...
ขอบคุณข้อมูลจาก:
ขอบคุณวีดีโอจาก: